สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

วช. หนุนทีมวิจัย สจล. พัฒนาเครื่องผลิตรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ขนาดกึ่งอุตสาหกรรม รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
  23/04/2023
วช. หนุนทีมวิจัย สจล. พัฒนาเครื่องผลิตรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ขนาดกึ่งอุตสาหกรรม รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต พร้อมประยุกต์ใช้อลูมินา-รีดิวซ์กราฟีนออกไซด์เมมเบรน สำหรับแยกก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์ในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงจากชีวมวล สร้างแหล่งพลังงานทดแทนเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้ง รวมถึงใช้กำจัดก๊าซพิษไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) จากโรงงานอุตสาหกรรม ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วัสดุรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ (Reduced Graphene oxide, RGO) เป็นวัสดุที่มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมต่างๆ ในอนาคต เช่น วัสดุผลิตหมึกนำไฟฟ้าสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ วัสดุโปร่งแสงนำไฟฟ้า วัสดุผสมเสริมความเข็งแรงในโพลิเมอร์ ซีเมนต์ ยางพารา วัสดุทางการแพทย์ การนำส่งยา ต้านแบคทีเรีย เสริมแรงไหมเย็บแผล วัสดุผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์ ตัวกักเก็บพลังงาน ทำขั้วแบตเตอรี่ ตัวเก็บประจุยิ่งยวด เสริมความแข็งแรงเสื้อเกราะกันกระสุน และตัวตรวจวัดต่าง ๆ แต่วัสดุรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ยังมีราคาที่สูง เนื่องจากมีกระบวนการสังเคราะห์ที่ซับซ้อนและสามารถเตรียมได้ในปริมาณที่น้อย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาวัสดุรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ ซึ่งเป็นวัสดุแห่งอนาคตที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ หรือ New S-Curve ให้กับประเทศไทย จึงให้ทุนสนับสนุนการวิจัยประจำปี 2563 แก่โครงการ "การพัฒนาเครื่องผลิตรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์และการประยุกต์ใช้รีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ผลิตอลูมินา-รีดิวซ์กราฟีนออกไซด์เมมเบรน แยกก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์ และกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์" ซึ่งมี "รองศาสตราจารย์ ดร.เชรษฐา รัตนพันธ์" จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นหัวหน้าโครงการฯ เพื่อให้สามารถเตรียมวัสดุรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ได้เองภายในประเทศไทย และเพียงพอต่อความต้องการในระดับอุตสาหกรรมในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร.เชรษฐา รัตนพันธ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุอัจฉริยะ ภาควิชาฟิสิกส์คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ทีมวิจัยได้มีการพัฒนาต้นแบบเครื่องผลิตรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ขนาดกึ่งอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ด้วยวิธีการออกซิเดชัน-รีดักชันทางเคมี โดยขยายขนาดกำลังผลิต จากเดิม 2 ลิตร (40 กรัมผง) ไปเป็นขนาดกำลังผลิต 5 ลิตร (80 กรัมผง) ต่อรอบการผลิต ซึ่งมีการวางแปลนการสร้างเครื่องต้นแบบผลิตรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ระดับกึ่งอุตสาหกรรม ที่สามารถผลิตได้ทั้งวัสดุกราฟีนออกไซด์และรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ในขั้นตอนเดียว เครื่องต้นแบบดังกล่าวจะมีการติดตั้งภายในห้องหน่วยวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุอัจฉริยะ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นอกจากนี้ยังมีการวิจัยในส่วนที่ขนานกับการสร้างต้นแบบเครื่องผลิตรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ โดยเป็นการพัฒนาวัสดุคอมโพสิตอลูมินา-กราฟีน สำหรับใช้ผลิตก๊าซไฮโดรเจนที่มีความบริสุทธิ์สูง และกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ โดยอลูมินา-กราฟีนที่ผลิตขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นเมมเบรนสำหรับแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากก๊าซผลิตภัณฑ์จากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันของชีวมวลหรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในประเทศไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้ง และใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน ขณะเดียวกันอลูมินา-กราฟีน ยังสามารถนำไปใช้เป็นเมมเบรนเพื่อกำจัดก๊าซพิษไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) จากโรงงานอุตสาหกรรมที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการเติมกราฟีนในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเลือกผ่านไฮโดรเจน และกำจัด H2S ได้ดีขึ้น ที่ผ่านมากราฟีนออกไซด์ยังต้องนำเข้าและมีราคาแพง หากทำการผลิตได้เองเป็นจำนวนมากก็จะสามารถนำกราฟีนมาประยุกต์ใช้กับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่เมมเบรนในต้นทุนที่ถูกลงได้

โครงการวิจัยจึงมุ่งเน้นทำการศึกษาการผลิตเมมเบรนชนิดใหม่ที่ทำจากเซรามิกชนิดอลูมินาซึ่งมีสมบัติทางกลที่ดีและราคาไม่แพง และทำการเติมกราฟีนเข้าไปเพื่อปรับปรุงสมบัติในการเลือกผ่านและไหลผ่านของก๊าซไฮโดรเจน โดยจะทำการศึกษาอิทธิพลของปริมาณกราฟีนที่เติมเข้าไปต่อความสามารถในการขึ้นรูปโดยวิธีเผาผนึกเป็นเซรามิกเมมเบรนแบบรูพรุน และทำการปริมาณการเติมกราฟีนที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เซรามิกเมมเบรนที่มีประสิทธิภาพ เทียบเท่าหรือดีกว่าพลาเดียมเมมเบรน รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการนำอลูมินา-กราฟีนเมมเบรนมาใช้การกำจัดก๊าซพิษ H2S

รองศาสตราจารย์ ดร.เชรษฐา กล่าวว่า ในงานวิจัยนี้ได้มีการนำเอากราฟีนออกไซด์ที่ได้ผลิตขึ้นมาไปทดลองประยุกต์ใช้ในการผลิตเมมเบรนสำหรับใช้แยกก๊าซไฮโดรเจน โดยกระบวนการผลิตคอมพอสิตเมมเบรนชนิดอลูมินา-กราฟีนออกไซด์ ซึ่งการวิจัยนี้สามารถทำได้โดยกระบวนการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีการนำสารตั้งต้นคืออลูมินา ผสมกับกราฟีนออกไซด์ในอัตราส่วน 0.5-5.0 wt% แล้วทำการเผาผนึกที่อุณหภูมิ 1,600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากผลการทดสอบทางกายภาพ ทางกล และสมบัติการเลือกผ่านของก๊าซ พบว่าอลูมินา-กราฟีนออกไซด์คอมพอสิตที่มีส่วนผสมของกราฟีนออกไซด์ในปริมาณ 5 wt% มีแนวโน้มเหมาะกับการนำไปใช้งานได้ดี โดยค่าการซึมผ่านของก๊าซไฮโดรเจนอยู่ที่ 2.85 x 10-4 mol m-2 s-1 Pa-1 และมีค่าการเลือกผ่านเป็น 5.1 เมื่อทดสอบที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ประสิทธิภาพการซึมผ่านของก๊าซไฮโดรเจนของเมมเบรนที่ผลิตขึ้นนี้มีค่าใกล้เคียงกับของ พลาเดียมเมมเบรนที่มีขายเชิงพาณิชย์ โดยมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าถึงประมาณ 3 เท่า แต่การเลือกผ่านนั้นยังต้องมีการปรับปรุง

ในส่วนการศึกษาความสามารถในการดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์นั้นคอมพอสิตที่เติม กราฟีนในปริมาณ 3 wt% เผาที่อุณหภูมิ 1500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีค่า Breakthrough time คือ 31 นาที และ H2S breakthrough capacity คือ 0.43 mg/g จากผลการทดลองเบื้องต้น เมมเบรนอลูมินา-กราฟีนออกไซด์คอมพอสิตที่ผลิตขึ้นจากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ในการแยกก๊าซไฮโดรเจนจากกระบวนการเผาชีวมวลโดยกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น และกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้

ที่มาของข่าว: RYT9
Cat เพิ่มความปลอดภัยให้กับรถตักล้อยางขนาดกลางด้วยระบบเตือนและเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว
    การปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ ระบบเตือนการชน ระบบตรวจจับวัตถุด้านหลัง และระบบการมองเห็น 360 องศา
  09/05/2025

RMT จะจัดจำหน่ายตัวกรองอากาศอัจฉริยะ BMair ในแคนาดา
    ...
  09/05/2025

Bobcat ขยายสายผลิตภัณฑ์รถแทรกเตอร์ขนาดกะทัดรัดด้วยรุ่นใหม่ทั้งหมดสองรุ่น
    รถแทรกเตอร์ขนาดกะทัดรัด CT4545 และ CT4558 มอบความสะดวกสบายในทุกสภาพอากาศและความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้น
  08/05/2025

PIMO-ไพโม่ ร่วมงาน "China Refrigeration 2025 CRH 2025"
    PIMO-ไพโม่ ร่วมงาน "China Refrigeration 2025 CRH 2025"
  07/05/2025


ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอื่นๆ
ประโยชน์ของรถยกแบบไฟฟ้าขนาดกะทัดรัด - 07/05/2025
ข้อมูลเชิงลึกทางการตลาดและนวัตกรรมจาก JLG
ประสิทธิภาพสูงในแพ็คเกจขนาดเล็ก - 07/05/2025
รถแทรกเตอร์ TYM T4058 ใหม่ทรงพลังสำหรับงานฟาร์มที่ท้าทาย
Summers Manufacturing เปิดตัวสายการผลิตอุปกรณ์ไถแบบแถบใหม่ - 06/05/2025
Summers Manufacturing เปิดตัวสายการผลิตอุปกรณ์ไถแบบแถบใหม่
PTx Trimble แนะนำตัวควบคุมการนำทางรุ่นใหม่ - 06/05/2025
PTx Trimble แนะนำตัวควบคุมการนำทางรุ่นใหม่
รีโมตคอนโทรลอัจฉริยะของ Komatsu จะเป็นมาตรฐานในระบบควบคุมการนำทางและเครื่องจักรทั้งหมด - 06/05/2025
ด้วยการควบคุมระบบในสถานที่จากระยะไกล ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญและแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้น
อัปเดตเทคโนโลยีเครื่องกลึงซีเอ็นซีและเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ จากเวที CIMT 2025 เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย กับกรุ๊ป วิศวภัณฑ์ - 03/05/2025
อัปเดตเทคโนโลยีเครื่องกลึงซีเอ็นซีและเครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ จากเวที CIMT 2025 เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย กับกรุ๊ป วิศวภัณฑ์
JCB ได้รับการอนุมัติจากสหราชอาณาจักรให้ใช้เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนบนถนนสาธารณะได้ - 02/05/2025
JCB ได้รับการอนุมัติจากสหราชอาณาจักรให้ใช้เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนบนถนนสาธารณะได้
รถแทรกเตอร์ Massey Ferguson 5M Series คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ Red Dot Award: การออกแบบผลิตภัณฑ์ 2025 - 29/04/2025
รถแทรกเตอร์ Massey Ferguson 5M Series คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ Red Dot Award: การออกแบบผลิตภัณฑ์ 2025
Kubota เปิดตัวรถขุดขนาดเล็กซีรีส์ U17 - 29/04/2025
Kubota เปิดตัว U17-5 ใหม่ล่าสุด ซึ่งเป็นรถขุดขนาดเล็กรุ่นล่าสุดในซีรีส์ U17 ซึ่งให้นิยามใหม่ของความเป็นเลิศในช่วงสวิงแบบ Zero Tail ที่มีน้ำหนัก 1.5 ตัน
ยันม่าร์ฯ คืนกำไรให้กับเกษตรไทย แจกส่วนลดซื้อผลิตภัณฑ์ มูลค่ารวมกว่า 117 ล้านบาท - 29/04/2025
ยันม่าร์ฯ คืนกำไรให้กับเกษตรไทย แจกส่วนลดซื้อผลิตภัณฑ์ มูลค่ารวมกว่า 117 ล้านบาท
การพัฒนาเครื่องปลูกช่วยเพิ่มความสำเร็จของเมล็ดพันธุ์ - 28/04/2025
การพัฒนาเครื่องปลูกช่วยเพิ่มความสำเร็จของเมล็ดพันธุ์
คัมมินส์เปิดตัวระบบคาดการณ์สำหรับเครื่องยนต์ - 28/04/2025
Cummins ได้ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม PrevenTech เวอร์ชันอัปเดตทั่วโลกที่งาน Bauma 2025 Cummins PrevenTech เป็นโซลูชันด้านความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของเครื่องยนต์แบบบูรณาการสำหรับคนงานเหมือง เทคโนโลยีนี้ผสมผสานการตรวจสอบระยะไกลแบบเรียลไทม์ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ขั้นสูง และการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญของ Cummins ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องยนต์ของ Cummins ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด
MHIEC ได้รับคำสั่งจากสำนักงานระบายน้ำของรัฐบาลกรุงโตเกียวสำหรับการสร้างโรงงานเผาขยะตะกอนน้ำเสียใหม่ - การนำระบบเผาขยะแบบ "Energy-Supply" (คาร์บอนเนกาทีฟ) มาใช้เป็นครั้งแรก - 18/04/2025
- ความร้อนเสียจากการเผาจะถูกนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานจากระบบไบนารีประสิทธิภาพสูง โดยปริมาณการผลิตพลังงานจะเกินกว่าการใช้พลังงานของเตาเผา - การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงจะลดลง และพลังงานโดยรวมจะถูกประหยัดโดยการจ่ายพลังงานส่วนเกินให้กับระบบบำบัดน้ำเสีย
KIOTI พัฒนาประสิทธิภาพอุปกรณ์ก่อสร้างขนาดกะทัดรัดด้วยระบบไฮดรอลิกใหม่ - 17/04/2025
ระบบไฮดรอลิก Flow+ บนรถตักรุ่น TL750 และ SL750 ช่วยเพิ่มพลังให้กับอุปกรณ์ติดตั้งงานขนาดกลาง
ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะของ Wirtgen Group ในการสร้างถนนทำให้กระบวนการปรับปรุงและปูยางมะตอยทั้งหมดเป็นระบบดิจิทัล - 09/04/2025
ระบบนี้รวม John Deere Work Planner เข้ากับ Wirtgen Smart LEVEL PRO และ Smart Pave
เครื่องจักรขนาดเล็กสร้างผลกระทบอย่างมากต่อการก่อสร้างถนน - 04/04/2025
อุปกรณ์ติดตั้งขนาดกะทัดรัดที่ใช้งานได้หลากหลายสำหรับการสร้างถนน
Niftylift เปิดตัวบูมลิฟต์ไฟฟ้าไฮโดรเจนรุ่นใหม่ - 02/04/2025
Niftylift จัดแสดงแพลตฟอร์มไฮโดรเจนและขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ในงาน bauma 2025
อนาคตของการซื้อเครื่องจักรกลหนักจะเป็นอย่างไร? - 02/04/2025
Terex ร่วมมือกับ Machinery Partner เพื่อขยายการเข้าถึงของ EvoQuip ผ่านการจัดจำหน่ายแบบดิจิทัล
Caterpillar เตรียมเปิดตัวรถขุดขนาดใหญ่แบบตักหน้า Cat 395 รุ่นใหม่ที่งาน Bauma - 31/03/2025
Caterpillar เตรียมเปิดตัวรถขุดขนาดใหญ่แบบตักหน้า Cat 395 รุ่นใหม่ที่งาน Bauma
Tadano บุกตลาดบูมลิฟท์ในอเมริกาเหนือ - 29/03/2025
กลุ่มผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์มการทำงานยกเคลื่อนที่ประกอบด้วยโครงแบบมีล้อและโครงแบบคลาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 107 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2125 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.