สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

สศอ. เผย MPI เม.ย. 2567 พลิกขยายตัวร้อยละ 3.43 หลังหดตัวต่อเนื่อง 18 เดือนติด
  05/06/2024
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 90.34 ขยายตัวร้อยละ 3.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังหดตัวต่อเนื่อง 18 เดือน จากการส่งออกที่ขยายตัว ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และฐานต่ำในปีก่อน พร้อมปรับประมาณการดัชนี MPI ปี 2567 คาดขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0 ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม ปี 2567 คาดขยายตัวร้อยละ 0.5 ? 1.5

นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 90.34 ขยายตัวร้อยละ 3.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังหดตัวต่อเนื่อง 18 เดือน อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ ร้อยละ 55.26 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการส่งออกกลับมาขยายตัว โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และฐานต่ำในปีก่อน อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 4 เดือนแรกของปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 98.28 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.06 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.13 เนื่องจากการผลิตยานยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน จากการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศ และปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยที่กดดันให้ MPI หดตัว ทั้งนี้ สศอ. ปรับประมาณการดัชนี MPI ปี 2567 อยู่ที่ขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0 ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม ปี 2567 คาดขยายตัวร้อยละ 0.5 ? 1.5

สำหรับระบบการเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมของไทยเดือนพฤษภาคม 2567 ?ส่งสัญญาณฟื้นตัวระยะสั้น? โดยปัจจัยภายในประเทศฟื้นตัวตามความเชื่อมั่นทางธุรกิจ การนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ส่งสัญญาณฟื้นตัวระยะสั้น จากการฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกา และผลผลิตในสหภาพยุโรป รวมทั้งภาคการผลิตของญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากการจ้างงาน ที่เพิ่มขึ้น

?สศอ. ปรับประมาณการดัชนี MPI ปี 2567 อยู่ที่ขยายตัวร้อยละ 0.0 - 1.0 จากประมาณการเดิมขยายตัวร้อยละ 2.0 - 3.0 ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรม ปี 2567 คาดขยายตัว ร้อยละ 0.5 ? 1.5 จากประมาณการครั้งก่อนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 - 3.0 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานทางเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยมีสาเหตุหลักจากปัญหาหนี้สินครัวเรือนในประเทศและอัตราดอกเบี้ย มีระดับสูง ต้นทุนพลังงานและค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น สภาพภูมิอากาศแปรปรวนกระทบอุตสาหกรรมที่พึ่งพาผลผลิตทางการเกษตร ปัญหาสินค้านำเข้าราคาถูกล้นตลาดประเทศไทย รวมถึงปัจจัยต่างประเทศ อาทิ

เศรษฐกิจคู่ค้าหลักบางประเทศอาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด การเลือกตั้งผู้นำในหลายประเทศ ปัญหาเชิง ภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน? นางศิริเพ็ญ กล่าว

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตเดือนเมษายน 2567 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

เครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.19 จากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด รวมถึงผู้ผลิตสามารถพัฒนาสินค้าได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เช่น เพิ่มความสามารถในการกรอง PM 2.5 โดยขยายตัวทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออกไปสหรัฐฯ ยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.78 จากผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องบิน และแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นหลัก ตามภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ปีนี้คึกคักกว่าปีก่อน ส่งผลให้มีการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น

อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.11 จากผลิตภัณฑ์ อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารไก่ และอาหารสุกร เป็นหลัก ตามกระแสการดูแลสัตว์เลี้ยงเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะการส่งออกขยายตัวจากตลาดยุโรป รวมถึงการรับจ้างผลิตให้ลูกค้าต่างประเทศ สำหรับอาหารสำเร็จรูปในกลุ่มปศุสัตว์ขยายตัวตามความต้องการของตลาด

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนเมษายน 2567 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.16 จากผลิตภัณฑ์ Integrated circuits (IC) และ PCBA เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลก และผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีมูลค่าต่อหน่วยสูง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง

ยานยนต์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.82 จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เป็นหลัก ตามการหดตัวของตลาดในประเทศที่ลดลงร้อยละ 27.97 จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง และสถาบันการเงินยังคงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับการส่งออกลดลงร้อยละ 6.81 ตามความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าลดลง

คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.39 จากผลิตภัณฑ์พื้นสำเร็จรูป และเสาเข็มคอนกรีต เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ลูกค้ากลุ่มโมเดิร์นเทรดและตัวแทนจำหน่ายชะลอคำสั่งซื้อเนื่องจากมีสินค้าในสต๊อกจำนวนมาก

ที่มาของข่าว: RYT9
ศุลกากรจีนโต้ผลผลิตล้น ดันส่งออกทะลัก
    หวัง หลิงจวิน รองหัวหน้าสำนักงานศุลกากรจีน กล่าวในการแถลงข่าววันนี้ (13 ม.ค.) ว่า คำกล่าวอ้างที่ว่า ...
  15/01/2025

KTB คาด GDP ปี 68 โต 2.7% จับตา 5 ประเด็นสำคัญ จุดพลิกผันเศรษฐกิจไทย
    นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Cheif Economist ธนาคารกรุงไทย [KTB] กล่าวว่า ...
  15/01/2025

FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนเข้าเกณฑ์ “ซบเซา” กังวลความขัดแย้งระหว่างประเทศ-นำเข้าส่งออก
    นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO ...
  15/01/2025

บาซูก้าไม่เห็นผล! เศรษฐกิจจีนจม 'เงินฝืด' ดัชนี CPI วูบหนักใกล้แตะ 0%
    จีนเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นแค่ 0.1% ชะลอตัวลง 4 ...
  14/01/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% พร้อมรับมือโลกผันผวนในยุค 'ทรัมป์' - 14/01/2025
รมว.คลัง ‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% รับอานิสงส์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ พร้อมรับมือเศรษฐกิจโลกผันผวนท่ามกลางสงครามการค้าในยุค ‘ทรัมป์’
ยุทธศาสตร์สามเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย: เครื่องยนต์ตัวใหญ่ ตัวใหม่ และตัวเล็ก - 13/01/2025
เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตช้าลงจากราว 8% ต่อปี ในช่วงปี 2523-2532 มาอยู่ราว 4% หลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 จนถดถอยมาอยู่ที่ต่ำกว่า 3% ในช่วงสิบปีให้หลังนี้ การเติบโตที่ต่ำมากนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอัดฉีดเงินการคลังเพิ่มได้มากนัก เพราะไทยขาดดุลการคลังต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 18 ปีแล้ว ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสูงขึ้นจนอยู่ที่มากกว่า 60% ของจีดีพี มากไปกว่านั้น หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของจีดีพีสะท้อนถึงขีดจำกัดที่จะสร้างการเติบโตด้วยการกระตุ้นบริโภคเช่นกัน
ส่งออกไทยป่วน จ่อสูญ 1.3 แสนล้าน “ทรัมป์” ขึ้นภาษี ร่วม BRICS เสี่ยงถูกตอบโต้ - 13/01/2025
ส่งออกไทยปี 68 ส่อหืดจับ ลุ้นระทึกเป้าโต 3% เอกชน-นักวิชาการเป่าปากปัจจัยเสี่ยงอื้อ ทั้ง “ทรัมป์ 2.0” สินค้าไทย-สินค้าโลกจ่อถูกสหรัฐขึ้นภาษี ชี้เก็บเพิ่ม 10% สูญ 1.3 แสนล้าน ขณะสินค้าจีนถูกบีบ ทะลักขายแข่งแย่งตลาดทั่วโลก ไทยร่วมกลุ่ม BRICS เสี่ยงส่งออกไปสหรัฐได้ลดลง
จับตาศก.ไทยปี 68 โตชะลอ แรงหนุนส่งออก-ท่องเที่ยวแผ่ว สงครามการค้าเริ่มส่งผล - 13/01/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 จะเติบโตช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อย ตามแรงหนุนท่องเที่ยว ส่งออกที่ลดลง ท่ามกลางความเสี่ยงสงครามการค้า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน และภาคการผลิตไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยแรงส่งจากภาคท่องเที่ยวต่อ GDP เริ่มลดลง หลังจำนวนเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต - 09/01/2025
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย. - 09/01/2025
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย.
เศรษฐกิจไทยครึ่งหลัง ‘เสี่ยงสูง’ แบงก์ชาติห่วงลดดอกเบี้ยก่อนเสี่ยงเสียกระสุน มองคงไว้ ‘ดีกว่า’ - 07/01/2025
เศรษฐกิจไทยครึ่งหลัง ‘เสี่ยงสูง’ แบงก์ชาติห่วงลดดอกเบี้ยก่อนเสี่ยงเสียกระสุน มองคงไว้ ‘ดีกว่า’
สื่อตีข่าว "ทรัมป์" เปลี่ยนใจ ยอมผ่อนนโยบายตั้งกำแพงภาษีนำเข้า - 07/01/2025
สื่อตีข่าว "ทรัมป์" เปลี่ยนใจ ยอมผ่อนนโยบายตั้งกำแพงภาษีนำเข้า
คาดความต้องการชิปทั่วโลกโต 11.2% สู่ระดับ 6.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 68 - 06/01/2025
คาดความต้องการชิปทั่วโลกโต 11.2% สู่ระดับ 6.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 68
ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเยอรมนีหดตัวแรงในธ.ค. - 03/01/2025
ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเยอรมนีหดตัวแรงในธ.ค.
เกาหลีใต้ส่งออกทะยานทำสถิติใหม่ในปี 2567 รับดีมานด์เซมิคอนดักเตอร์ - 02/01/2025
เกาหลีใต้ส่งออกทะยานทำสถิติใหม่ในปี 2567 รับดีมานด์เซมิคอนดักเตอร์
เช็ก 13 ตลาดส่งออกสำคัญของไทย สหรัฐฯ - จีน- ยุโรป โตแรง - 26/12/2024
สนค. เผย 13 ตลาดส่งออกสำคัญของไทยสหรัฐฯ - จีน- ยุโรป ขยายตัวต่อเนื่อง ชี้ส่งออกปี 68 เผชิญความท้าทายจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวคาดว่าจะขยายตัว 2-3%
จีนสู้ศึกภาษีทรัมป์ 2.0 เตรียมออกพันธบัตรพิเศษ 4.11 แสนล้านดอลลาร์ปีหน้า - 25/12/2024
จีนเตรียมออกพันธบัตรพิเศษมูลค่า 4.11 แสนล้านดอลลาร์ปีหน้า หวังฟื้นเศรษฐกิจสู้ภัยศึกภาษีจากสหรัฐของทรัมป์ 2.0
ส่งออกไทยแรงดีไม่มีตก พ.ย. 67 โต 8.2% ทั้งปีมั่นใจแตะ 5.2% - 25/12/2024
สนค.เผยการส่งออกไทยเดือน พ.ย. 2567 โต 8.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 รับแรงหนุนจากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีเติบโต มั่นใจทั้งปี 2567 ส่งออกจะได้ 5.2% ทำนิวไฮการส่งออกครั้งที่ 2
ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ - 15/08/2024
ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ
PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% รับอานิสงส์ยอดขายเพิ่ม-ต้นทุนลด - 15/08/2024
PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% รับอานิสงส์ยอดขายเพิ่ม-ต้นทุนลด
อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ตามหลักเกณฑ์การประเมิน ของ รสก. ประจำปี 67 - 15/08/2024
อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ตามหลักเกณฑ์การประเมิน ของ รสก. ประจำปี 67
บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง - 15/08/2024
บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ - 15/08/2024
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย - 15/08/2024
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 131 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2606 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.