สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2%
  02/04/2024
วันที่ 1 เมษายน 2567 นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ จัดงานประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 29 พร้อมกับงานครบรอบ 30 ปี พร้อมจัดเสวนาแลกเปลี่ยนประเด็นการส่งออกของไทยยังเป็นเครื่องยนต์หลักของประเทศอยู่หรือไม่
ภายใต้หัวข้อ “Reshaping Export: How to Thrive in Economic Turmoil?” และหัวข้อ “Shaping Thailand’s Sustainable Future: Thai to Global Value Creation” โดยทิศทางการส่งออกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบและไม่สามารถควบคุมได้จึงต้องเกิดการร่วมมือและผลักดันเพื่อให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม จากการเสวนายังมองว่าการส่งออกของประเทศไทยยังคงเติบโตในอนาคตแต่ต้องมีการปรับตัวให้เร็ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกและการแข่งขันมาก ดังนั้น สรท. คงคาดการณ์เป้าหมายการทำงานด้านการส่งออกรวมทั้งปี 2567 เติบโตที่ 1-2%

จับตาปัจจัยกระทบส่งออก
การส่งออกของไทยในระยะต่อไปมีข้อควรระวัง ตลอดจนปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบ อาทิ

1) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) จากการแบ่งขั้วอำนาจและการรวมกลุ่มพันธมิตรซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลกรวมถึงผลกระทบต่อการส่งออกไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีโอกาสที่จะทวีความรุนแรงแผ่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นในแต่ละภูมิภาคของโลก เป็นปัจจัยภายนอกไม่สามารถควบคุมและคาดการณ์ได้


2) ปัญหาโลกเดือด (Global Boiling) จะส่งผลให้ต้นทุนของอุปทานการผลิตสินค้าสูงขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยการผลิตภาคการเกษตรสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งจะทำให้หลายประเทศให้ความสำคัญมากขึ้นกับความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และกำหนดมาตรการที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นตามมา

3) มาตรการกีดกันทางการค้าและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measure and Non-Tariff Barrier) โดยเฉพาะการอ้างเหตุผลเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นต้องควบคุม จำกัด และร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ อาทิ นโยบาย European Green Deal ที่นำมาสู่มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) รวมถึงกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EUDR) และ Packaging and Packaging Waste Directive ของสหภาพยุโรป ซึ่งส่งผลให้ประเทศอื่นเริ่มดำเนินมาตรการรูปแบบเดียวกัน

4) บทบาทของประเทศผู้ผลิตเพื่อการส่งออกรายใหญ่ ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ต่ำและกดดันราคาในตลาดโลกให้แข่งขันได้ยากมากขึ้น รวมถึงทิศทางการย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้า และการสร้างพันธมิตรในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความมั่นคงและแต้มต่อในห่วงโซ่การผลิต ทำให้แต่ละประเทศต้องเร่งปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อรักษาแรงดึงดูดการลงทุนใหม่ที่เน้นเทคโนโลยีเข้าสู่ประเทศและเติมเต็มห่วงโซ่อุปทาน โดยเน้นตอบสนองความต้องการเป็นรายบริษัทหรือรายอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะดันส่งออก
ทั้งนี้ ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการส่งออกของไทยในอนาคต เพื่อรับมือกับปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ประกอบด้วย

1) ปรับรูปแบบการค้าให้เน้นย้ำถึงหลัก QCD+S (Quality, Cost, Delivery, Sustainability) ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและบริการ การควบคุมต้นทุนการผลิตเพื่อสร้างแต้มต่อ การจัดส่งสินค้าที่ตรงตามเวลา และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลตอบแทนหรือกำไรทางธุรกิจ แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ

2) Green Industry and Human Rights กระบวนการผลิตต้องเน้นย้ำในเรื่องของ 2.1) การใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทน 2.2) พัฒนาระบบ Lean and Green ที่ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดเพื่อให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ โดยต้องดำเนินการตลอดซัพพลายเชนของการส่งออก สามารถตรวจสอบได้ (Traceability) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงานอย่างยั่งยืน

3) มาตรการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion) ได้แก่ 3.1) เร่งปรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อาทิ ระบบสาธารณูปโภค (ด้านน้ำประปา บำบัดน้ำเสีย ไฟฟ้า กำจัดขยะ) ระบบขนส่ง (ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ทางท่อ) และระบบการสื่อสาร (เครือข่ายโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต) รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ที่ตรงจุด

เพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศและผลักดันการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น 3.2) ส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษเดิม อาทิ EEC พร้อมปรับปรุงสร้างสิทธิประโยชน์ด้าน Innovation และ Sustainability เพื่อตอบโจทย์ตามทิศทางการค้าโลกที่เปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน

4) ผลักการเจรจาการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยมุ่งเน้นประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Market) ที่มีศักยภาพ และเจาะตลาดกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ให้มากขึ้น

5) สร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีทักษะสอดคล้องกับอุตสาหกรรมใหม่ และมีไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการค้า เพื่อส่งเสริมการส่งออกที่มีคุณภาพ ดึงดูดการลงทุน และก่อเกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

6) ยกระดับสร้างขีดความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสำหรับส่งออก เนื่องจากดัชนี Global Value Chain Participation Rate ของประเทศไทยเท่ากับ 52% ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย 68% และเกาหลีใต้ 63% รวมถึงต้องเร่งยกระดับให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการระดับ SMEs ไปพร้อมกัน

7) ยกระดับการทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนจากการแข่งขันด้วย Economy of Scale เป็น Economy of Speed ตามทิศทางในปัจจุบันที่ต้องเน้นการทำงานที่รวดเร็ว โดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เร่งพัฒนาบุคลากรภาครัฐรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และทำงานเชิงลึกร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจการส่งออกมีจุดยืนที่โดดเด่นบนเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน

ที่มาของข่าว: RYT9
ทรัมป์ประกาศภาษีศุลกากร 14 ประเทศ มีผล 1 ส.ค. ไทยโดน 36%
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศในวันจันทร์ (7 ก.ค.) ว่า ประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 14 ...
  08/07/2025

เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
    เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
  07/07/2025

คาดเศรษฐกิจจีนโตเฉลี่ย 5% ใน Q2 ยังไม่หลุดเป้า แม้ภาษีสหรัฐฯกดดัน
    เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังคงแข็งแกร่ง แม้ชะลอลงจากไตรมาสแรก ...
  04/07/2025

“กอบศักดิ์”หั่น GDP ปี 68 โต 2% แถม Downside เปิดมุมมองทางรอดท่องเที่ยว-ส่งออก-ลงทุน
    นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทย (GDP) ปี ...
  02/07/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม - 01/07/2025
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า - 28/06/2025
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า
เช็ค 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงสุด 5 เดือนปี 68 - 26/06/2025
ตรวจสอบ 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงที่สุด 5 เดือนปี 68 ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ให้แล้วที่นี่
ผลกระทบภาษีทรัมป์ สะเทือนศก.ไทยครึ่งปีหลัง เสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค - 12/06/2025
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายด้านภาษีนำเข้า ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลกระทบต่อภาคการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจทั่วโลก โดยล่าสุด องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 68 ลงมาอยู่ที่ 2.9% และปรับประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงเหลือ 1.6% ซึ่งความไม่แน่นอนของนโยบายของสหรัฐฯ ทั้งด้านการค้า การเงิน การคลัง การศึกษา และการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อค่าเงิน เสถียรภาพ และศักยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จีนส่งออกไปสหรัฐฯ ลดฮวบ 34.5% ในเดือนพ.ค. หนักสุดในรอบกว่า 5 ปี - 10/06/2025
ยอดส่งออกสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐฯ ทรุดตัวลง 34.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2563 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดส่งออกโดยรวมของจีนขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค. ขณะที่ยอดนำเข้าจากสหรัฐฯ ลดลงกว่า 18% ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลดลง 41.55% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์
รัฐบาล มอบนโยบายทูตไทยทั่วโลก ดันการทูตเชิงรุก-เร่งดึงลงทุน-เจาะตลาดใหม่ ขับเคลื่อนศก.ไทย - 10/06/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกถึงแนวทางการยกระดับศักยภาพของประเทศผ่านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดยได้เน้นย้ำถึงการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และพลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมฐานข้อมูล การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจและการค้า และการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
จับตาส่งออกไทย Q3/68 สัญญาณชะลอตัว ท่ามกลางสงครามการค้ายังไม่แน่นอนสูง - 06/06/2025
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่า แม้ล่าสุดสงครามการค้าจะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนมีการเจรจาพักรบกันชั่วคราว โดยต่างฝ่ายต่างปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าลงฝ่ายละ 115% เป็นเวลา 90 วัน (สหรัฐฯ เก็บภาษีจีนเหลือ 30% และจีนเก็บภาษีสหรัฐฯ เหลือ 10%)
สงครามการค้ากระทบเศรษฐกิจเอเชีย ยอดส่งออก-การผลิตชะลอตัวในพ.ค. - 03/06/2025
กิจกรรมการผลิตในหลายประเทศเอเชียชะลอตัวในเดือนพ.ค. 2568 ท่ามกลางผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า ส่งผลให้ความต้องการสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศลดลงอย่างชัดเจน
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน - 30/05/2025
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง - 30/05/2025
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง
ททท. ลุยแคมเปญ “สวัสดี หนีห่าว” ตอกย้ำสัมพันธ์ไทย-จีน กระตุ้นเชื่อมั่นเที่ยวไทยปลอดภัย - 30/05/2025
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดแคมเปญเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ไทย-จีน “สวัสดี หนีห่าว” (Sawasdee Nihao) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ค.-1 มิ.ย. 68 ย้ำชัดไทยพร้อมเดินหน้ากระตุ้นนักท่องเที่ยวจีน และส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตร ตอกย้ำความเป็น “Quality Destination”
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง - 29/05/2025
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
แบงก์ชาติ แนะรัฐบาลใช้งบ 1.57 แสนลบ. บรรเทาผลกระทบภาคธุรกิจ รับมือสงครามการค้า - 28/05/2025
ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ค.68 มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในการโยกงบประมาณที่จะใช้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 มาใช้เพื่อดำเนินโครงการอื่นแทน
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ - 14/05/2025
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ
ส่องทิศทางธุรกิจเชื้อเพลิงขยะปี 69 คาดมูลค่าตลาด 1.45 หมื่นลบ. ดีมานด์โตต่อเนื่อง - 03/05/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดเชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel (RDF) ในปี 2569 จะสูงขึ้นราว 15.1% แตะ 1.45 หมื่นล้านบาท จากการสนับสนุนของภาครัฐในด้านการจัดการกับปัญหาขยะ และการเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทน ซึ่งหนุนการขยายตัวของตลาดธุรกิจเชื้อเพลิงขยะ RDF
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่ - 02/05/2025
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร - 02/05/2025
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี - 30/04/2025
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี
นายกฯ สั่งรวบรวมมาตรการจุดแข็ง ผนึกอาเซียนเจรจาต่อรองภาษีสหรัฐ - 30/04/2025
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดนครพนม ในเรื่องการเจรจากับสหรัฐอเมริกาสำหรับกรอบความร่วมมือในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียนนั้น จะมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค. - 30/04/2025
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค.
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 133 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2651 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.