สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรม : ต้นตอฝุ่นพิษที่ถูกลืม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
  19/01/2024
โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรม : ต้นตอฝุ่นพิษที่ถูกลืม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคประชาสังคมเสนอรัฐบาลจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ และผ่านกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและ เคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)
ภาคประชาสังคมนำโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) Thai Climate Justice for All (TCJA) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) เปิดเวทีสาธารณะที่ SEA Junction หอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอข้อมูลและบทเรียนจากเมืองใหญ่ในไทยและต่างประเทศ ผลสำรวจแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่จากอุตสาหกรรมที่ถูกละเลย และข้อเสนอทางออกจากวิกฤต

วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) กล่าวว่า "เมื่อเกิดวิกฤตฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เรามักจะพุ่งเป้าไปที่รถยนต์เป็นหลัก แต่แหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษ PM2.5 ไม่ใช่แค่นั้น พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดฝุ่นและคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ คือโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังผลิตสูงมาก ซึ่งปล่อยฝุ่นมากกว่ารถยนต์หลายเท่า การต่อกรกับวิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 ได้จริงจะต้องจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ดังกล่าว"

วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ยกกรณีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่คือ โรงกลั่นน้ำมันบางจากซึ่งเป็นโรงกลั่นแบบ Complex Refinery กำลังการผลิตสูงสุด 120,000 บาร์เรลต่อวันและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 900,000 ตัน และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ซึ่งปัจจุบันมีกำลังผลิตรวม 1,930 เมกะวัตต์ และมีแผนจะขยายเพิ่มรวมทั้งสิ้นเป็น 4,519.4 เมกะวัตต์ในปี 2569-2570 ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศวันละกว่า 4.6 ตัน และปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) มากกว่า 6.4 ตันต่อวัน

การปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ในบรรยากาศนำไปสู่การก่อตัวของ PM2.5 และโอโซน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนทั่วโลก โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจและความเสียหายต่อปอดหากรับเข้าไปแบบเฉียบพลัน และเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเรื้อรังหากรับเข้าไปในระยะยาว (Long-term exposure) ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เกิดขึ้นทั่วโลกในสหภาพยุโรป การรับเอา NO2 เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 75,000 คนต่อปีในจีน มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นโดยระบุว่า ผลจากการสัมผัส NO2 นำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจ

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า "ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ที่ปล่อยจากแหล่งกำเนิดอย่างโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลนั้นมีศักยภาพสูงในการก่อตัวของมลพิษขั้นทุติยภูมิ(secondary pollutants) รวมถึงฝุ่นพิษ PM2.5 ในบรรยากาศของกรุงเทพฯ และปริมณฑล การติดตามตรวจสอบและลดการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์จึงมีความสำคัญ นอกเหนือจากการที่สาธารณชนต้องเข้าถึงรายงานการวัดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่ปลายปล่องแล้ว มีความจำเป็นเร่งด่วนในการทำให้มาตรฐานการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์เข้มงวดมากขึ้น"


เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการ มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า "การศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศในจังหวัดสมุทรสาครเมื่อปี 2564 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นพิษ PM2.5 เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดจากภาคการจราจรและขนส่ง การเผาขยะมูลฝอย และการเผาในที่โล่ง โดยพื้นที่วิกฤตที่มีการปลดปล่อยสูงสุดคือ อ.เมืองสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนาแน่นและเป็นหนึ่งในปริมณฑลสำคัญของกรุงเทพฯ มูลนิธิฯ ยังได้มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล โดยอ้างอิงข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อปี 2560 พบว่า มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 13,272 แห่งที่เป็นแหล่งก่อมลพิษทางอากาศ"

การศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศยังได้เจาะลึกถึงสารโลหะหนัก (Heavy metal) และสารมลพิษตกค้างยาวนาน (สาร POPs) ในองค์ประกอบของฝุ่น PM2.5 พบว่า การปนเปื้อนของสารมลพิษอันตรายทั้งโลหะหนักและสารมลพิษตกค้างยาวนานนั้นเกินค่าที่ปลอดภัยที่ต่างประเทศกำหนดไว้ถึงกว่า 20 เท่า อีกทั้งยังสูงกว่าผลการวิเคราะห์ปริมาณสารไดออกซินในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2555มากกว่า 4-5 เท่า ซึ่งสารทั้งสองกลุ่มนี้มีอันตรายต่อสุขภาพสูง


มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) Thai Climate Justice for All(TCJA) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม(EnLaw) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) มีข้อเสนอต่อหน่วยงานรัฐดังต่อไปนี้

มาตรการเฉพาะสำหรับโรงกลั่นน้ำมันและโรงไฟฟ้าในเขต กทม.

วางแผนการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงประจำปี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพอากาศ เช่น การหยุดซ่อมบำรุงประจำปี 45 วัน เป็นช่วงเดียวกับฤดูที่มีวิกฤติฝุ่น
ติดตั้งเทคโนโลยี WGS (wet gas scrubber) ที่ FCCU กรณีโรงกลั่นบางจาก
ติดตั้งเทคโนโลยีระบบควบแน่นและระบบกรองที่ระบบไอเสียก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ กรณีโรงไฟฟ้า
มาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษให้สำเร็จ

รัฐสภาและรัฐบาลสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ?. (PRTR) ซึ่งเป็นกฎหมายโดยตรงสำหรับการตรวจสอบและลดการปล่อยมลพิษจากทุกประเภทแหล่งกำเนิดที่ประเทศพัฒนาทุกแห่งมีการบังคับใช้
ตรวจสอบระบบการบำบัดอากาศเสียและปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงงานในเขต กทม. และปริมณฑลที่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 และโรงงานที่มีกฎหมายควบคุมการปล่อยอากาศเสียเป็นการเฉพาะ ได้แก่ กิจการโรงโม่ บดหรือย่อยหิน โรงผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็ก/เหล็กกล้า โรงไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงคัดแยก/ฝังกลบ และโรงงานรีไซเคิล
สำหรับโรงกลั่นน้ำมัน / โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยฝุ่นมากควรมีมาตรการกำกับให้ลดหรืองดการเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศปิด และมี PM2.5 อยู่ในระดับวิกฤต
ระบบการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของภาครัฐต้องพร้อมสุ่มตรวจตลอดเวลา ที่ควรมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจวัดปกติสำหรับโรงงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการในรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากข้อกำหนดของ EIA กำหนดการตรวจวัดไว้เพียงปีละสองครั้งที่ปลายปล่องระบายอากาศเสีย ซึ่งไม่ตรงกับช่วงเกิดวิกฤตการณ์ (การสุ่มตรวจวัดนี้เป็นคนละส่วนกับจุดตรวจวัดและการแสดงคุณภาพอากาศ ณ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า)
ชะลอและทบทวนโครงการการก่อสร้างส่วนต่อขยาย การเพิ่มกำลังผลิต หรือการทดแทนกำลังผลิตเดิมที่หมดอายุในบริเวณเดิม (หรือในเขต กทม.และปริมณฑล) อนึ่ง การทำรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA และ EHIA) ในปัจจุบันของโครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ไม่ได้คำนึงถึงช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 แต่อย่างใด
มาตรการระยะยาว

ย้ายแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการนำหลักการผังเมืองมาบังคับใช้ให้เข้มข้น
ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ในภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตคุณภาพอากาศ (โดยใช้ค่ามาตรฐาน PM และ AQI ที่เป็นสากล) เพื่อเป็นแม่บทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต
ปรับปรุงและออกกฎหมายโดยใช้มาตรการและมาตรฐานที่เป็นสากลและได้ผล โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมภายใต้กติกาและวัฒนธรรมประชาธิปไตย

ที่มาของข่าว: RYT9

ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอื่นๆ
อุปกรณ์เสริม Ignite ใหม่สำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดกะทัดรัด - 05/03/2025
อุปกรณ์เสริม Ignite ใหม่สำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดกะทัดรัด
นวัตกรรมที่ยั่งยืนและระบบอัตโนมัติเป็นจุดสนใจที่บูธของ Case CE ในงาน Bauma - 04/03/2025
นวัตกรรมที่ยั่งยืนและระบบอัตโนมัติเป็นจุดสนใจที่บูธของ Case CE ในงาน Bauma
รถขุดขนาดเล็กไฟฟ้ารุ่นแรกของ Hyundai เตรียมเปิดตัวที่งาน Bauma - 03/03/2025
รถขุดขนาดเล็กไฟฟ้ารุ่นแรกของ Hyundai เตรียมเปิดตัวที่งาน Bauma
JLG ขอแนะนำลิฟต์กรรไกรไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อการบินโดยเฉพาะ - 01/03/2025
JLG ขอแนะนำลิฟต์กรรไกรไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อการบินโดยเฉพาะ
Unicontrol ของ Spectra เปิดตัวโซลูชันการควบคุมเครื่องจักร 2 มิติใหม่ - 01/03/2025
Unicontrol เปิดตัวโซลูชันการควบคุมเครื่องจักร 2 มิติใหม่ Unicontrol2D ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับบริษัทก่อสร้างขนาดเล็กถึงขนาดกลาง พร้อมฮาร์ดแวร์ระดับพรีเมียมสำหรับการขุดที่แม่นยำ
การให้ ‘ความชัดเจน’ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายผลิตภัณฑ์แบบเม็ด - 01/03/2025
ระบบ Precision Planting ช่วยให้คุณมองเห็นภายในเครื่องหว่านเมล็ดด้วยลม เครื่องใส่ปุ๋ยแห้ง และแถบไถพรวน
Volvo นำเทคโนโลยีไฮบริดมาสู่รถขุดรุ่นใหม่ 5 รุ่น - 28/02/2025
Volvo นำเทคโนโลยีไฮบริดมาสู่รถขุดรุ่นใหม่ 5 รุ่น
John Deere เปิดตัวชุดอัพเกรดเครื่องปลูกรุ่นใหม่สำหรับปี 2026 - 28/02/2025
John Deere เปิดตัวชุดอัพเกรดเครื่องปลูกรุ่นใหม่สำหรับปี 2026
เก็บเกี่ยวอย่างชาญฉลาด ไม่ใช่ยากขึ้น: การเรียนรู้ของเครื่องจักรผสานกับการปลูกมะเขือเทศ - 28/02/2025
เก็บเกี่ยวอย่างชาญฉลาด ไม่ใช่ยากขึ้น: การเรียนรู้ของเครื่องจักรผสานกับการปลูกมะเขือเทศ
เครื่องยนต์ไฮโดรเจน JBC ได้รับการรับรองในยุโรปส่วนใหญ่แล้ว - 26/02/2025
JCB ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานออกใบอนุญาต 11 แห่งทั่วทั้งยุโรปสำหรับการใช้เครื่องยนต์ไฮโดรเจนในเชิงพาณิชย์ในเครื่องจักร โดยหน่วยงานในประเทศอื่นๆ เตรียมดำเนินการตามเพื่อให้ได้รับการรับรองในปี 2568
Xwatch อัปเดตระบบความปลอดภัยพร้อมเทเลเมติกส์สำหรับไซต์ก่อสร้างที่เชื่อมต่อกัน - 26/02/2025
Xwatch อัปเดตระบบความปลอดภัยพร้อมเทเลเมติกส์สำหรับไซต์ก่อสร้างที่เชื่อมต่อกัน
ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานที่ไซต์งานโดยเชื่อมต่อผู้คนและอุปกรณ์ผ่านข้อมูล - 26/02/2025
ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานที่ไซต์งานโดยเชื่อมต่อผู้คนและอุปกรณ์ผ่านข้อมูล
เหตุใดเกษตรกรรมแม่นยำจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืนของภาคเกษตรกรรม - 25/02/2025
เหตุใดเกษตรกรรมแม่นยำจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืนของภาคเกษตรกรรม
โคมัตสุทดสอบรถบรรทุกเหมืองแร่ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนคันแรกของโลก - 25/02/2025
โคมัตสุทดสอบรถบรรทุกเหมืองแร่ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนคันแรกของโลก
Wirtgen มุ่งเน้นโซลูชันและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนที่งาน Intermat - 25/02/2025
Wirtgen มุ่งเน้นโซลูชันและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนที่งาน Intermat
ประสิทธิภาพของไซต์งานได้รับการอัปเกรดด้วยฟีเจอร์ใหม่ในศูนย์ปฏิบัติการ John Deere - 25/02/2025
John Deere กำลังปรับปรุงฟีเจอร์ต่างๆ ในศูนย์ปฏิบัติการ John Deere ดิจิทัลเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้รับเหมา การอัปเดตเหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลไซต์งานและข้อมูลสภาพเครื่องจักรอย่างครอบคลุม John Deere มุ่งมั่นที่จะลงทุนในประสบการณ์ดิจิทัล โดยสร้างเครื่องมือที่มีอยู่ เช่น ศูนย์ปฏิบัติการและอุปกรณ์เคลื่อนที่พร้อมคุณสมบัติใหม่
John Deere ร่วมมือกับ Drive TLV - 22/02/2025
ศูนย์กลางนวัตกรรมช่วยให้ลูกค้าของ Deere เข้าถึงเทคโนโลยีและโซลูชันขั้นสูงได้มากขึ้น
ตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรและก่อสร้างคาดหวังโมเมนตัมที่จำเป็นอย่างยิ่งในปี 2568 - 22/02/2025
ตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรและก่อสร้างคาดหวังโมเมนตัมที่จำเป็นอย่างยิ่งในปี 2568
ยอดขายเครื่องจักรกลหนักในอิตาลีลดลง 11% - 21/02/2025
ยอดขายเครื่องจักรกลหนักในอิตาลีลดลง 11%
Metso เฉลิมฉลองการผลิต Lokotrack ครบรอบ 40 ปี - 21/02/2025
เครื่องบดแบบติดตั้งบนรางเคลื่อนที่ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปีพ.ศ. 2530 มียอดจำหน่ายมากกว่า 11,000 เครื่องทั่วโลก
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 105 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2090 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.