สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

กนง.-กนส.จับตาปัญหาผิดนัดชำระหนี้ครัวเรือน-ตราสารหนี้
  25/07/2023
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
ระบบการเงินไทยปัจจุบันยังมีเสถียรภาพ แต่ยังเผชิญกับความเสี่ยงที่อาจสูงขึ้นในระยะต่อไปจาก (1) ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและ SMEs ในภาคการผลิตและการค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และ (2) ความสามารถในการระดมทุนของภาคธุรกิจผ่านตลาดตราสารหนี้ จากความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ระดมทุนบางรายที่อาจสูงขึ้น

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ส่งผลให้รายได้และฐานะการเงินโดยรวมของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมีแนวโน้มปรับดีขึ้น อย่างไรก็ดี ครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางจากรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงยังต้องติดตามฐานะการเงินของ SMEs ในกลุ่มที่ฟื้นตัวช้าจากช่วงสถานการณ์โควิด 19 และกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอลงตามเศรษฐกิจโลก โดยที่ประชุมประเมินว่า แม้ความเปราะบางของภาคครัวเรือนและ SMEs ดังกล่าว อาจส่งผลให้คุณภาพสินเชื่อบางกลุ่มมีแนวโน้มด้อยลงบ้าง แต่สถาบันการเงินสามารถบริหารจัดการหรือดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ได้ และจะไม่นำไปสู่หนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด (NPL cliff)

ตลาดตราสารหนี้มีความเสี่ยงสูงขึ้น จากการผิดนัดชำระหนี้ที่มีมูลค่าสูงกว่าปีก่อน และการเพิ่มขึ้นของจำนวนบริษัทที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือและแนวโน้มอันดับเครดิต (credit rating and outlook) ในระยะหลัง จากปัจจัยเสี่ยงเฉพาะราย ขณะที่ตลาดทุนมีความผันผวนเพิ่มขึ้น จากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ และปัญหาธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน ส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน

โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า แม้ผลกระทบต่อระบบการเงินยังอยู่ในวงจำกัด และตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนโดยรวมยังมีเสถียรภาพ แต่ในระยะข้างหน้า ยังต้องติดตามพัฒนาการของตลาดการเงิน และความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสาร รวมถึงให้ความสำคัญกับการร่วมมือระหว่างองค์กรกำกับดูแลในการประเมินผลกระทบ การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ และการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างรวดเร็วและทันการณ์ หากเกิดสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งสถาบันการเงิน ตลาดการเงิน บริษัทประกันภัย และระบบการเงินในเวลาเดียวกัน อาทิ ปัญหาจากการดำเนินงานของธุรกิจขนาดใหญ่

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงมาตรการยกระดับการกำกับดูแลและธรรมาภิบาลของผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น อาทิ บริษัทมหาชน และ/หรือ บริษัทจำกัดที่ออกหลักทรัพย์ในตลาดทุน บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัทจัดอันดับเครดิต เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน

ที่ประชุมเห็นว่า แม้สถาบันการเงิน ตลาดการเงิน และบริษัทประกันภัย โดยรวมมีสภาพคล่องและฐานะการเงินที่เข้มแข็งเพียงพอรองรับสถานการณ์ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าคาดมากภายใต้การทดสอบภาวะวิกฤต (macro stress test) ประจำปี 2566 ที่ ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้จัดทำร่วมกัน แต่ในระยะต่อไป การเตรียมการรับมือของผู้กำกับดูแล ควรครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจมีรูปแบบแตกต่างจากที่เคยเกิดขึ้น เช่น กรณีวิกฤตสภาพคล่องจากการไหลออกของเงินฝากอย่างรุนแรง และรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นในอดีต หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ระบบการเงินได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แม้โอกาสที่จะเกิดขึ้นในไทยอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน จะร่วมกันติดตามและประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และพร้อมใช้นโยบายที่เหมาะสม และทันการณ์ ในการดูแลระบบการเงินไทยให้มีเสถียรภาพ สามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน

ที่มาของข่าว: RYT9
ทรัมป์ประกาศภาษีศุลกากร 14 ประเทศ มีผล 1 ส.ค. ไทยโดน 36%
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศในวันจันทร์ (7 ก.ค.) ว่า ประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 14 ...
  08/07/2025

เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
    เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
  07/07/2025

คาดเศรษฐกิจจีนโตเฉลี่ย 5% ใน Q2 ยังไม่หลุดเป้า แม้ภาษีสหรัฐฯกดดัน
    เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังคงแข็งแกร่ง แม้ชะลอลงจากไตรมาสแรก ...
  04/07/2025

“กอบศักดิ์”หั่น GDP ปี 68 โต 2% แถม Downside เปิดมุมมองทางรอดท่องเที่ยว-ส่งออก-ลงทุน
    นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทย (GDP) ปี ...
  02/07/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม - 01/07/2025
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า - 28/06/2025
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า
เช็ค 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงสุด 5 เดือนปี 68 - 26/06/2025
ตรวจสอบ 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงที่สุด 5 เดือนปี 68 ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ให้แล้วที่นี่
ผลกระทบภาษีทรัมป์ สะเทือนศก.ไทยครึ่งปีหลัง เสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค - 12/06/2025
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายด้านภาษีนำเข้า ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลกระทบต่อภาคการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจทั่วโลก โดยล่าสุด องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 68 ลงมาอยู่ที่ 2.9% และปรับประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงเหลือ 1.6% ซึ่งความไม่แน่นอนของนโยบายของสหรัฐฯ ทั้งด้านการค้า การเงิน การคลัง การศึกษา และการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อค่าเงิน เสถียรภาพ และศักยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จีนส่งออกไปสหรัฐฯ ลดฮวบ 34.5% ในเดือนพ.ค. หนักสุดในรอบกว่า 5 ปี - 10/06/2025
ยอดส่งออกสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐฯ ทรุดตัวลง 34.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2563 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดส่งออกโดยรวมของจีนขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค. ขณะที่ยอดนำเข้าจากสหรัฐฯ ลดลงกว่า 18% ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลดลง 41.55% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์
รัฐบาล มอบนโยบายทูตไทยทั่วโลก ดันการทูตเชิงรุก-เร่งดึงลงทุน-เจาะตลาดใหม่ ขับเคลื่อนศก.ไทย - 10/06/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกถึงแนวทางการยกระดับศักยภาพของประเทศผ่านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดยได้เน้นย้ำถึงการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และพลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมฐานข้อมูล การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจและการค้า และการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
จับตาส่งออกไทย Q3/68 สัญญาณชะลอตัว ท่ามกลางสงครามการค้ายังไม่แน่นอนสูง - 06/06/2025
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่า แม้ล่าสุดสงครามการค้าจะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนมีการเจรจาพักรบกันชั่วคราว โดยต่างฝ่ายต่างปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าลงฝ่ายละ 115% เป็นเวลา 90 วัน (สหรัฐฯ เก็บภาษีจีนเหลือ 30% และจีนเก็บภาษีสหรัฐฯ เหลือ 10%)
สงครามการค้ากระทบเศรษฐกิจเอเชีย ยอดส่งออก-การผลิตชะลอตัวในพ.ค. - 03/06/2025
กิจกรรมการผลิตในหลายประเทศเอเชียชะลอตัวในเดือนพ.ค. 2568 ท่ามกลางผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า ส่งผลให้ความต้องการสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศลดลงอย่างชัดเจน
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน - 30/05/2025
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง - 30/05/2025
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง
ททท. ลุยแคมเปญ “สวัสดี หนีห่าว” ตอกย้ำสัมพันธ์ไทย-จีน กระตุ้นเชื่อมั่นเที่ยวไทยปลอดภัย - 30/05/2025
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดแคมเปญเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ไทย-จีน “สวัสดี หนีห่าว” (Sawasdee Nihao) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ค.-1 มิ.ย. 68 ย้ำชัดไทยพร้อมเดินหน้ากระตุ้นนักท่องเที่ยวจีน และส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตร ตอกย้ำความเป็น “Quality Destination”
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง - 29/05/2025
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
แบงก์ชาติ แนะรัฐบาลใช้งบ 1.57 แสนลบ. บรรเทาผลกระทบภาคธุรกิจ รับมือสงครามการค้า - 28/05/2025
ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ค.68 มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในการโยกงบประมาณที่จะใช้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 มาใช้เพื่อดำเนินโครงการอื่นแทน
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ - 14/05/2025
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ
ส่องทิศทางธุรกิจเชื้อเพลิงขยะปี 69 คาดมูลค่าตลาด 1.45 หมื่นลบ. ดีมานด์โตต่อเนื่อง - 03/05/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดเชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel (RDF) ในปี 2569 จะสูงขึ้นราว 15.1% แตะ 1.45 หมื่นล้านบาท จากการสนับสนุนของภาครัฐในด้านการจัดการกับปัญหาขยะ และการเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทน ซึ่งหนุนการขยายตัวของตลาดธุรกิจเชื้อเพลิงขยะ RDF
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่ - 02/05/2025
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร - 02/05/2025
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี - 30/04/2025
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี
นายกฯ สั่งรวบรวมมาตรการจุดแข็ง ผนึกอาเซียนเจรจาต่อรองภาษีสหรัฐ - 30/04/2025
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดนครพนม ในเรื่องการเจรจากับสหรัฐอเมริกาสำหรับกรอบความร่วมมือในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียนนั้น จะมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค. - 30/04/2025
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค.
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 133 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2651 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.