สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ธปท.ยันกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ 1-3% เหมาะสม แม้ระยะสั้นผันผวนจากปัจจัยเหนือควบคุม
  27/06/2022
นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Analyst Meeting ว่า จากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในทั่วโลก ที่ทำให้เกิดภาวะ New Normal ในด้านต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากผลของความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อของทั่วโลกเร่งตัวสูงขึ้นอย่างที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ และนำมาสู่การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักที่ต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
ทั้งนี้ กนง.ไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไปจากระดับ 1-3% ซึ่งเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อระยะปานกลางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่ยอมรับว่า เงินเฟ้อในระยะสั้นอาจจะมีความผันผวนและหลุดกรอบเป้าหมายไปบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม แต่เชื่อว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อระยะปานกลางที่ 1-3% นี้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยแล้ว

พร้อมมองว่า การใช้นโยบายการเงินไม่ได้เป็นส่วนหลักที่ดึงให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย แค่ช่วยคลี่คลายเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง แต่การใช้นโยบายการเงิน ก็เพื่อช่วยเป็นกันชนให้แน่ใจว่าพัฒนาการของเศรษฐกิจ จะไม่ไปเสริมให้เงินเฟ้อระยะปานกลางสูงขึ้น ซึ่งไม่อยากให้มองว่าดอกเบี้ยจะมาเป็นพระเอกที่ทำให้เงินเฟ้อลดลง

โดยแต่ละประเทศที่เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า-เร็วไม่เท่ากัน ก็จะใช้สปีดในการปรับนโยบายการเงินที่แตกต่างกันไป ดังจะเห็นได้จากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวเร็วและแรง จึงทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินอย่างรวดเร็ว ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสะกัดเงินเฟ้อที่สูง ในขณะที่ประเทศไทย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะช้ากว่า เพราะต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก

"ดังนั้น โจทย์ที่เศรษฐกิจไทยเผชิญ คือ การ take off แบบราบรื่น ความท้าทายของนโยบายการเงินของไทย คือ การถอนคันเร่งที่พอเหมาะ และถูกจังหวะ เพื่อให้เศรษฐกิจได้เคลื่อนไปได้เอง ไม่ร้อนแรงจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลซ้ำเติมเงินเฟ้อ" นายปิติกล่าว
พร้อมระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มมีภาพที่ชัดเจน โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 66 จะขยายตัวได้ที่ 4.2% ซึ่งการที่ GDP ขยายตัวในระดับดังกล่าวถือว่าใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ ดังนั้น เมื่อมองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะฟื้นตัวได้ชัดเจน หากไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ก็จะเกิดความเสี่ยงที่สร้างแรงกดดันด้านอุปสงค์รวมกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
"กนง. จึงพยายามจะไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป ไม่ให้แรงกดดันด้านอุปสงค์ของเงินเฟ้อเกิดขึ้น?เรื่องการถอนคันเร่ง เราได้มีการคุยกันภายใน ไม่ใช่แค่พูดกันใน กนง.รอบที่แล้ว แต่กรรมการเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องสื่อสารให้ชัดเจน" ผู้ช่วยผู้ว่าการฯ สายนโยบายการเงิน ธปท. ระบุ

ส่วนที่มีการมองว่าการประชุมกนง.ในรอบถัดไป คือ เดือน ส.ค. เป็นการเว้นระยะห่างเกินไป ท่ามกลางปัจจัยที่ผันผวนในปัจจุบันนั้น นายปิติ ชี้แจงว่า การประชุม กนง.ที่จัดห่างกัน 6-8 สัปดาห์ เนื่องจากเพื่อให้ กนง.ได้ข้อมูลที่มีนัยสำคัญเพียงพอต่อการพิจารณาดำเนินนโยบายการเงินในแต่ละครั้ง และต้องการจะสื่อสารให้ชัดเจนกับผู้ร่วมตลาด ไม่อยากจะมีเซอร์ไพร์สตลาด แต่คงไม่สามารถบอกได้ชัดว่าแต่ละครั้งจะทำมาก-น้อยเพียงใด โดยเห็นว่าการประชุม กนง.ที่เหลืออีก 3 ครั้งของปีนี้ ถือว่ามีความเหมาะสมแล้ว

"กนง.ไม่มีแผนที่จะประชุมนัดพิเศษ เพราะถ้ามีนัดพิเศษ จะต้องมีเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น จนจำเป็นต้องเรียกประชุม ถ้าเราดูจาก flow ข้อมูลตอนนี้ ก็ถือว่าการประชุมตามที่กำหนดไว้มีความเหมาะสม" นายปิติ กล่าว

นายปิติ ยังกล่าวถึงสถานการณ์เงินบาทว่า การที่เงินบาทอ่อนค่า ย่อมส่งผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ หรือสินค้าต่างๆ ต้นทุนพลังงาน ซึ่งล้วนแต่เป็นภาระที่เพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจ ดังนั้นเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งที่ กนง.ยังจับตาใกล้ชิด แต่จากที่ได้พิจารณาดูแล้ว ในปีนี้เงินบาทที่อ่อนค่ายังสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค และการที่เงินบาทอ่อนค่ามีปัจจัยหลักมาจากการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสำคัญ และมีโอกาสที่บาทจะกลับมาแข็งค่าได้ในช่วงปลายปี

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. มองว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว และอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งในส่วนของนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเห็นทิศทางที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับแนวโน้มการผ่อนคลายเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบ

โดยในไตรมาส 2/65 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 2 หมื่นคน/วัน และคาดว่าในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่น จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นไปที่ราว 3 หมื่นคน/วัน ซึ่งทำให้ ธปท. คาดการณ์ว่าทั้งปีจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยราว 6 ล้านคน ส่วนปี 66 ที่ 19 ล้านคน นอกจากนี้ ตลาดแรงงานเริ่มทยอยฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา โดยจำนวนผู้ว่างงาน และเสมือนว่างงานลดลงต่อเนื่อง

ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้น การประชุม กนง.ล่าสุด ได้ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 65 ขึ้นมาอยู่ที่ 6.2% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.9% โดยเหตุผลหลักมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดการส่งผ่านไปยังต้นทุนสินค้าต่างๆ และการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น ซึ่ง กนง.ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะขึ้นไปสูงสุดในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ จากนั้นจะค่อยทยอยลดลงในช่วงไตรมาส 4 และ ไตรมาส 1/66 ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่กรอบเป้าหมายระยะปานกลางที่ 1-3% ได้ในช่วงกลางปี 66 นายสักกะภพ กล่าวด้วยว่า ในปัจจุบันจะเห็นดอกเบี้ยเริ่มมีการปรับตัวบ้างแล้วในส่วนของตลาดพันธบัตร แต่ในฝั่งของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ขยับมาก เพราะในภาพรวมเศรษฐกิจแม้จะเริ่มฟื้นตัวชัดขึ้น แต่ก็ยังเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และบางภาคส่วนยังเปราะบาง ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจในระยะถัดไปจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นมาตรการช่วยเหลือเฉพาะจุดมากขึ้น "แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ก็เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป บางภาคส่วนยังเปราะบาง ดังนั้นจะต้องปรับมาตรการจากที่เป็นแบบเหวี่ยง มาดูแลเฉพาะกลุ่มมากขึ้น จะมีมาตรการแพ็คเกจออกมาเฉพาะจุด ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ทำอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่ม implementation" นายสักกะภพ กล่าว

นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการที่กระจายไปในหลายหมวดสินค้ามากขึ้นสั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น ภายหลังจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ด้านเครื่องชี้แนวโน้มเงินเฟ้อหลายตัวมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้น และยังมีความเสี่ยงขาสูง หากเศรษฐกิจฟื้นตัวจนเกิดแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์

โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 2% ในเดือนมี.ค.-เม.ย.65 และมากกว่า 2% ในเดือนพ.ค. 65 ทั้งนี้ หากทัศนคติเกี่ยวกับเงินเฟ้อเปลี่ยนไปจากเดิม อาจนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เช่น การพยายามตั้งราคาสินค้า หรือต่อรองค่าจ้างตามอัตราเงินเฟ้อสูง

นายสุรัช ระบุว่า นโยบายการเงินจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างทันการณ์ และให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไป โดยไม่ให้สาธารณชนคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เหมาะสมจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน ซึ่งจะทำให้สามารถยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อระยะปานกลางให้อยู่ในกรอบเป้าหมายได้

อย่างไรก็ดี ยังเชื่อว่า อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลาง จะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่วางไว้ที่ 1-3% แม้อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะสั้นจะปรับเพิ่มขึ้นบ้าง

ที่มาของข่าว: RYT9
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.