สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

กลยุทธ์ ‘โดดเดี่ยวจีน’ เห็นผล FDI โตต่ำสุดรอบ 30 ปี
  23/02/2024
กระแสการลดความเสี่ยงจากจีน และการแยกตัวออกจากจีนของสหรัฐ และพันธมิตร เริ่มเห็นผล เมื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ของจีนขยายตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี บ่งชี้ บริษัทต่างชาติกำลังดึงเงินออกจากจีน ย้ายการลงทุนไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
หนึ่งในกระแสเศรษฐกิจโลกที่มาแรง และชัดเจนที่สุดในช่วง 1-2 ปีมานี้ก็คือ กระแสการลดความเสี่ยงจากจีน (De-risk) และการแยกตัวออกจากจีน (Decoupling) ที่เริ่มมาจากฝั่งสหรัฐ และขยายไปถึงประเทศพันธมิตรของสหรัฐด้วย

แนวคิดเรื่อง Decoupling เคยถูกตั้งคำถามในช่วงแรกๆ ว่าจะเป็นไปได้จริงหรือไม่ในเมื่อยังไม่มีประเทศใดที่มีความพร้อมเรื่องห่วงโซ่อุปทานอย่างเต็มรูปแบบเหมือนกับจีน แต่ในระยะหลังโลกก็เริ่มเห็นตัวเลือกใหม่ๆ ที่มีศักยภาพมากขึ้น เช่น เวียดนาม ที่ค่อยๆ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนก้อนใหญ่จากต่างชาติ สวนทางกับจีนที่ค่อยๆ เห็นตัวเลขการลงทุนที่เบาบางลง

ล่าสุดตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา บ่งชี้ชัดเจนแล้วว่า กลยุทธ์การร่วมกันโดดเดี่ยวจีนกำลังเห็นผล เมื่อเม็ดเงินลงทุนเอฟดีไอในจีนขยายตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งเป็นยุคที่จีนกำลังมุ่งสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจในยุคของเจียง เจ๋อหมิน

ที่สำคัญหากเทียบกับตัวเลขการลงทุนตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่า จีนมีปริมาณเอฟดีไอในหลัก 1 แสนล้านดอลลาร์ ขึ้นไปมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา จนขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 3.44 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่การลงทุนพุ่งทะยานหลังจากอั้นมาในยุคโควิด-19

แต่ในปีที่แล้ว เม็ดเงินการลงทุนจากข้อมูลของสำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) กลับซบเซาลงหนักเหลือเพียง 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าปีก่อนหน้าถึง 82% และยังเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปี ที่เม็ดเงินลงทุนตรงของต่างชาติในจีนไม่ถึงหลักแสนล้าน

ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์แล้ว ข้อมูลดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์ของกำไรบริษัทต่างชาติ และการเปลี่ยนแปลงขนาดการดำเนินงานในจีนได้อีกด้วย ซึ่งตัวเลขเอฟดีไอที่ตกต่ำในจีนยังสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนว่า กำไรของบริษัทต่างชาติในกลุ่มอุตสาหกรรมเมื่อปีที่แล้ว ปรับตัวลงถึง 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน

บลูมเบิร์ก ระบุว่าความพยายามของรัฐบาลปักกิ่งที่จะดึงดูดบริษัทต่างชาติให้กลับเข้ามาอีกครั้งหลังโควิดคลี่คลายนั้นยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีพอ ตัวเลขเอฟดีไอที่อ่อนแอตอกย้ำถึงการที่บริษัทต่างชาติกำลังดึงเงินออกจากจีน เนื่องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และไปตามอัตราดอกเบี้ยในประเทศอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า

ไม่ใช่แค่ตะวันตก เพื่อนบ้านแห่ลดลงทุนในจีน

สำหรับบรรษัทข้ามชาติแล้วการถือเงินสดในต่างประเทศน่าดึงดูดมากกว่าในจีน เพราะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเริ่มมีการขึ้นดอกเบี้ยกันไปบ้างแล้วสวนทางกับจีนที่ยังต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตั้งแต่หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์เมื่อราว 2 ปีก่อน

ผลสำรวจความเห็นบริษัท “ญี่ปุ่น” ในจีนเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ต่างลดการลงทุนในจีนหรือคงระดับการลงทุนเท่าเดิม และบริษัทส่วนใหญ่ก็ไม่คิดว่าแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2567 นี้

บริษัทญี่ปุ่นยังเพิ่มเม็ดเงินลงทุนใหม่ในจีนเมื่อปีที่แล้วต่ำสุดในรอบ 10 ปีเป็นอย่างน้อย โดยอยู่ที่เพียง 2.2% เท่านั้น และที่สำคัญคือ ยังเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าเม็ดเงินลงทุนใหม่ที่ญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนใน “เวียดนาม” และ “อินเดีย”

ขณะที่ “ไต้หวัน” เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชะลอการลงทุนใหม่ในจีนเมื่อปีที่แล้ว จนฉุดเอฟดีไอจากไต้หวันลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2001 ทั้งที่จีนเป็นแหล่งการลงทุนรายใหญ่ของไต้หวันมาโดยตลอด แม้ว่าจะมีการกระทบกระทั่งทางการเมืองกันมาประปรายก็ตาม

ด้าน “เกาหลีใต้” เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีสัดส่วนการลงทุนใหม่ในจีนลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปีที่แล้ว โดยเฉพาะในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มูลค่าการลงทุนใหม่ของเกาหลีใต้นั้นปรับตัวลดลงมากถึง 91% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 และกลายเป็นตัวเลขที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา

สัมพันธ์เศรษฐกิจ ‘เยอรมนี’ ยังแนบแน่น

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่จะโดดเดี่ยวจีน อย่างน้อยก็ในเชิง “เศรษฐกิจ และการค้า” เพราะข้อมูลจากธนาคารบุนเดสแบงก์พบว่า ตัวเลขการลงทุนตรงของ “เยอรมนี” กลับพุ่งสูงสุดทุบสถิติใหม่เกือบ 1.2 หมื่นล้านยูโร (ราว 4.68 หมื่นล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.3% ขณะที่สัดส่วนของจีนเมื่อเทียบกับเอฟดีไอรวมทั้งหมดของเยอรมนียังเพิ่มเป็น 10.3% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 อีกด้วย

ข้อมูลนี้สะท้อน และตอกย้ำความกังวลของบริษัทสัญชาติเยอรมัน ที่ไปคนละทิศคนละทางกับรัฐบาลของตนเอง ที่พยายามขอให้ภาคเอกชนเยอรมนีลดความเสี่ยงออกจากจีนทั้งในแง่ของการลงทุนเดิม และเม็ดเงินลงทุนใหม่

ที่มาของข่าว: กรุงเทพธุรกิจ
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.