สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
  18/04/2024
ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผย รายงานเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (East Asia and the Pacific Economic) ฉบับอัปเดตเดือนเมษายน รวมทั้ง รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และ ความยากจนของประเทศไทย (Macro and Poverty Outlook - MPO) เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา มีเนื้อหาน่าสนใจ โดยเฉพาะแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ที่เวิลด์แบงก์ปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของจีดีพีในปีนี้ มาอยู่ที่ 2.8% จากเดิมประเมินไว้ที่ 3.2% นอกจากนี้ ยังชี้ถึง “จุดอ่อน” ของประเทศไทยที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวช้าที่สุดเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆในอาเซียน

รายงานอัปเดตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกฉบับเดือนเมษายน 2567 หรือ East Asia and the Pacific Economic Update April 2024 จัดทำขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจทั้งระดับภูมิภาคและรายประเทศ นอกจากนี้ ยังคาดการณ์และให้คำอธิบายว่าอะไรคือปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในระยะยาว

ส่วนรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคและความยากจน (Macro and Poverty Outlook - MPO) ของประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนั้น ยังตามหลังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยเติบโตในอัตราที่น่าผิดหวัง 1.9% ในปีที่ผ่านมา (2566) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่อ่อนแอ และการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า

“การฟื้นตัวของประเทศไทยแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีความท้าทายจากภายนอกและภายใน อุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอส่งผลกระทบต่อการผลิต ในขณะที่งบประมาณที่ล่าช้ามีผลให้การลงทุนภาครัฐชะลอตัว” ส่วนหนึ่งของรายงานระบุ และชี้ให้เห็นจุดอ่อนของไทย

อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในปี 2567 นี้ โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคของภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงสูงต่ออุปสงค์ภายในประเทศหากโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ Digital Wallet (ที่เป็นโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท หรือ 286 ดอลลาร์สหรัฐให้คนไทยจำนวน 50 ล้านคน) เปิดตัว มาตรการนี้มีศักยภาพในการกระตุ้นการเติบโตของไทยราว 1% ในระยะสั้น แต่จะส่งผลให้ไทยมีภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

รายงานของเวิลด์แบงก์ระบุว่า แม้เศรษฐกิจไทยปีนี้ (2567) จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า (ในรายงานฉบับเดือนธ.ค.2566) เนื่องจากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนภาครัฐลดลง ทำให้เวิลด์แบงก์ปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของจีดีพีไทยในปีนี้ ลงมาจากเดิมคาดไว้ว่าจะโต 3.2% เหลือเพียง 2.8% เท่านั้น

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยยังคงติดลบเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและถือว่าลดลงเร็วสุดในอาเซียน อันเนื่องมาจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่ลดลง รวมถึงมาตรการอุดหนุนด้านพลังงาน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว คาดว่าจะเป็นสองหัวจักรสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า (2568) ที่คาดว่าจะโต 3.0%

 

ส่วนหนึ่งของรายงานระบุว่า การใช้มาตรการทางการคลังเพื่อจัดการกับราคาพลังงานที่สูง แม้จะเป็นตัวแปรที่สนับสนุนการฟื้นตัว แต่ก็ทำให้การปรับภาวะการคลังให้เข้าสู่สมดุล หรือ (fiscal consolidation) ช้าลงเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจึงยังอยู่ในระดับต่ำสุดในอาเซียน เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอุดหนุนพลังงานอย่างต่อเนื่องและราคาพลังงานโลกที่ลดลง

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะกลาง ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ คือ

การรับมือกับสังคมประชากรสูงวัย

การบริหารจัดการความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

และความจำเป็นในการสร้าง “กันชน” นโยบายใหม่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือผลกระทบจากภายนอก(shock) ในอนาคต

ศักยภาพที่สำคัญของไทยอยู่ที่การดำเนินการปฏิรูปโครงสร้าง และการระดมเงินทุนภาคเอกชนเพื่อการเติบโตของสังคมคาร์บอนต่ำ ผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการลดความยากจนของสังคมไทย

เปรียบเทียบศักยภาพของไทยกับประเทศอื่นๆในอาเซียน

การฟื้นตัวของไทย ช้ากว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากการผลิตและการลงทุนภาครัฐยังคงอ่อนแอ แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนจะแข็งแกร่งก็ตามที ภาพรวมในปี 2566 เศรษฐกิจของไทยขยายตัวเพียง 1.9% ลดลงจาก 2.5% ในปีก่อนหน้า (2565) ถือว่าไทยเติบโต “น้อยที่สุด” ในอาเซียน เทียบการเติบโตของ GDP ปี 2566 ระหว่างไทยกับบางประเทศในอาเซียนได้ ดังนี้

ไทย 1.9 %

อินโดนีเซีย 5.0 %

มาเลเซีย 3.7 %

ฟิลิปปินส์ 5.6 %

เวียดนาม 5.0 %

กัมพูชา 5.4 %

ลาว 3.7 %

เมียนมา 4.0 %

ส่วนคาดการณ์ปี 2567 แม้เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น แต่ก็ยังตามหลังประเทศอื่นๆอยู่ดี (ยกเว้นเมียนมา)  ดังนี้

ไทย 2.8 %

อินโดนีเซีย 4.9 %

มาเลเซีย 4.3 %

ฟิลิปปินส์ 5.8 %

เวียดนาม 5.5 %

กัมพูชา 5.8 %

ลาว 4.0 %

เมียนมา 1.3 %

ค่าเงินบาทของไทยยังคงทรงตัวเนื่องจากบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล แม้เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ในเดือนธันวาคม บัญชีเดินสะพัดของไทยกลับมาเป็นบวก โดยแตะ 5% ของ GDP โดยไตรมาส 4 มีการเกินดุล 1.2% ของ GDP

การที่สถานะของดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้น เป็นผลมาจากการเกินดุลในการค้าสินค้า อันเป็นผลมาจากการนำเข้าที่ลดลง นอกจากนี้ ยังได้ปัจจัยหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มีเงินไหลออกสุทธิจากพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 37,000 ล้านบาท ถือเป็นการไหลออกที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 4 เดือน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการไหลออกจากตลาดตราสารทุน

อีกตัวเลขที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องเฝ้าระวังคือ หนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 90.6% ของ GDP ซึ่งสูงที่สุดในอาเซียน ในไตรมาสที่ 1/2566

การบริโภคต่อหัวของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น 8.1% ระหว่างปี 2564 ถึง 2565 โดยในกลุ่ม 40% ล่างสุดมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วยิ่งขึ้น อัตราความยากจนของประเทศไทยลดลงจาก 6.3% เป็น 5.3%

อย่างไรก็ตาม การลดลงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราความยากจนลดลงมากที่สุด 2.4% ในขณะที่กรุงเทพฯ ประสบปัญหาความยากจนเพิ่มขึ้น

ที่มาของข่าว: ฐานเศรษฐกิจ
ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ
    ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ
  15/08/2024

PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% รับอานิสงส์ยอดขายเพิ่ม-ต้นทุนลด
    PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% ...
  15/08/2024

อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ตามหลักเกณฑ์การประเมิน ของ รสก. ประจำปี 67
    อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ...
  15/08/2024

บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง
    บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง
  15/08/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ - 15/08/2024
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย - 15/08/2024
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย
ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม” ชู INDUSTRIAL TECH ผลักดันสมาร์ทนิคม เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย - 15/08/2024
ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม” ชู INDUSTRIAL TECH ผลักดันสมาร์ทนิคม เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย
บีโอไอแจงส่งเสริม EV ดันไทยฐานผลิตยานยนต์โลก ชู 5 มาตรการช่วยอุตฯ ยานยนต์และชิ้นส่วนเปลี่ยนผ่าน - 14/08/2024
บีโอไอแจงเหตุผลในการส่งเสริมอุตสาหกรรม EV เพื่อรักษาการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก ชี้เงื่อนไขสำคัญ ต้องเข้ามาลงทุนผลิตชดเชยการนำเข้า 1 - 3 เท่า และใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตในประเทศ หากไม่ส่งเสริม อาจเสียโอกาสให้คู่แข่ง และไทยกลายเป็นเพียงผู้นำเข้า ย้ำพร้อมช่วยอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนด้วย 5 มาตรการสำคัญ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่
นายกฯ ขีดเส้น "ภูมิธรรม" เร่งหามาตรการปราบปรามสินค้าตปท.ผิดกม.ภายในเดือนนี้ - 14/08/2024
นายกฯ ขีดเส้น "ภูมิธรรม" เร่งหามาตรการปราบปรามสินค้าตปท.ผิดกม.ภายในเดือนนี้
FTI เซ็น MOU ศึกษาแผนร่วมทุน “ANGEL” บิ๊กระบบกรองน้ำไฮเอนด์จากจีนเสริมศักยภาพค้าปลีก - 09/08/2024
FTI เซ็น MOU ศึกษาแผนร่วมทุน “ANGEL” บิ๊กระบบกรองน้ำไฮเอนด์จากจีนเสริมศักยภาพค้าปลีก
โจทย์ใหญ่!! สินค้าจีนทะลัก 8 หน่วยงานผนึกกำลังแก้ปัญหา ปูพรมตรวจออฟไลน์-ออนไลน์ - 09/08/2024
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการแก้ปัญหาการนำเข้าสินค้าราคาถูกเข้ามาในไทย ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ ว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทุกกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์, กรมศุลกากร กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ), กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มาหารือเพื่อหาทางแก้ปัญหาเร่งด่วน โดยจะพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค โดยเฉพาะมาตรฐานสินค้าที่นำเข้า เช่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งผลกระทบกับการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในไทยด้วย
3 หน่วยงาน "อุตฯ-คลัง-พาณิชย์" เตรียมถกแนวทางรับมือสินค้าจีนทะลัก - 09/08/2024
3 หน่วยงาน "อุตฯ-คลัง-พาณิชย์" เตรียมถกแนวทางรับมือสินค้าจีนทะลัก
ส.อ.ท. ส่องอุตสาหกรรมไทยครึ่งปีหลัง 2567 - 08/08/2024
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่องเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมไทยครึ่งปีหลัง 2567 เหล่า CEO กว่า 32.2% ชี้เศรษฐกิจแย่ลง เชื่อปัจจัยเสี่ยงทั้งค่าจ้างขั้นต่ำ ต้นทุนจากค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง กำลังซื้อยังชะลอตัว
สกัด 'สินค้าจีน' ทะลักไม่ง่าย 'อาเซียน' เจองานยากรักษาสมดุลเศรษฐกิจ - 05/08/2024
สื่อญี่ปุ่นชี้ อาเซียนกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับปัญหาสินค้าจีนราคาถูกทะลัก 'อินโดฯ - มาเลย์-ไทย' เริ่มออกมาตรการตั้งรับ แต่ก็ต้องระวังการรักษาสมดุลเศรษฐกิจในฐานะที่จีนเป็น "นักลงทุน - คู่ค้ารายใหญ่"
ส.อ.ท. จี้รัฐเข้มสกัดสินค้าจีนนำเข้า เพิ่มเครื่องมือสุ่มตรวจสำแดงเท็จ - 05/08/2024
ส.อ.ท.กระทุ้งรัฐอีกรอบ เข้มสกัดสินค้าจีนนำเข้า เข้มสุ่มตรวจสินค้าสำแดงเท็จด่านศุลกากร เพิ่มเครื่องมือสแกนอย่างต่ำ 70% สมอ.คุมเข้มแต่ได้เฉพาะสินค้าด้อยคุณภาพที่ต้องมี มอก.
รับมือสินค้าจีนทะลักต้องปกป้องผู้ผลิตในประเทศ - 05/08/2024
นาทีนี้เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการรับมือต้องเป็นเรื่อง “สินค้าจีน”ราคาถูกทะลักเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่เครื่องนุ่งห่ม รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ที่ราคาขายต่ำกว่าสินค้าไทย 20-30%
รัฐบาลจัดให้! รมต.พิมพ์ภัทรา หนุนเอสเอ็มอีเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว มอบ SME D Bank ปล่อยสินเชื่อ "SME Green Productivity" 15,000 ลบ. ดีเดย์ ส.ค.นี้ - 01/08/2024
รัฐบาลจัดให้! รมต.พิมพ์ภัทรา หนุนเอสเอ็มอีเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว มอบ SME D Bank ปล่อยสินเชื่อ "SME Green Productivity" 15,000 ลบ. ดีเดย์ ส.ค.นี้
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลด 3.6% ในเดือนมิ.ย. เหตุหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราว - 01/08/2024
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลด 3.6% ในเดือนมิ.ย. เหตุหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราว
กระทรวงอุตฯ คิกออฟ "รางวัลอุตสาหกรรม" ประจำปี 2567 ชวนผู้ประกอบการชิงรางวัลแห่งเกียรติยศภาคอุตสาหกรรมไทย เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ - 01/08/2024
กระทรวงอุตฯ คิกออฟ "รางวัลอุตสาหกรรม" ประจำปี 2567 ชวนผู้ประกอบการชิงรางวัลแห่งเกียรติยศภาคอุตสาหกรรมไทย เปิดรับสมัครแล้ววันนี้
ปรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วน เริ่มต้นช้าดีกว่าไม่ได้ทำ - 24/07/2024
ไตรมาสแรกของปี 2024 มีโรงงานปิดตัวลงไปแล้วกว่า 1,700 แห่ง กระทบการจ้างงานกว่า 42,000 ตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก เราจำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ เพราะถือเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย
"พิมพ์ภัทรา" นำทีมบุกญี่ปุ่น 21-27 ก.ค. ศึกษาโมเดล "นิคมอุตสาหกรรม Circular" - 23/07/2024
"พิมพ์ภัทรา" นำทีมบุกญี่ปุ่น 21-27 ก.ค. ศึกษาโมเดล "นิคมอุตสาหกรรม Circular"
22 อุตสาหกรรมรอด ช่วย 'คนตัวเล็ก' พ้นวิกฤติ - 19/07/2024
สินค้าจีนตีตลาดไทยเพิ่มขึ้น สร้างความกังวลต่อผู้ประกอบการ SMEs ไทย เพราะไม่สามารถแข่งขันต้นทุนได้เป็นอย่างยิ่ง โดยพบสินค้าจีนเพิ่มขึ้น จำนวน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แต่หวังว่าคณะกรรมการฯ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม จะมีวิธีรับมือ
บีโอไอลุยจับมือหน่วยงานพันธมิตร จัดงาน THECA 2024 ดันไทยเป็นฐานผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก มุ่งสร้างงานสูงถึง 80,000 ตำแหน่ง พร้อมเร่งจัดตั้งศูนย์แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไทย - 18/07/2024
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกับสมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไทยและสมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ฮ่องกง ย้ำจัดงานแสดงสินค้าและบริการวงจรอิเล็กทรอนิกส์แห่งเอเชีย หรือ เทกก้า (Thailand Electronics Circuit Asia: THECA) เพื่อประกาศศักยภาพและความก้าวหน้าในการเป็นฐานการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนและของโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่มุ่งมั่นพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้มาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ระหว่างวันที่ 24 - 26 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
"แอร์บัส" คาดจีน-อินเดียช่วยหนุนดีมานด์เครื่องบินทั่วโลกเพิ่มขึ้นใน 20 ปีข้างหน้า - 16/07/2024
"แอร์บัส" คาดจีน-อินเดียช่วยหนุนดีมานด์เครื่องบินทั่วโลกเพิ่มขึ้นใน 20 ปีข้างหน้า
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 130 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2588 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.