สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

สกัด 'สินค้าจีน' ทะลักไม่ง่าย 'อาเซียน' เจองานยากรักษาสมดุลเศรษฐกิจ
  05/08/2024
สื่อญี่ปุ่นชี้ อาเซียนกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับปัญหาสินค้าจีนราคาถูกทะลัก 'อินโดฯ - มาเลย์-ไทย' เริ่มออกมาตรการตั้งรับ แต่ก็ต้องระวังการรักษาสมดุลเศรษฐกิจในฐานะที่จีนเป็น "นักลงทุน - คู่ค้ารายใหญ่"
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่กำลังเผชิญการล้นทะลักของสินค้าราคาถูกจาก “จีน” ตั้งแต่เครื่องนุ่งห่ม รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน และกำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจท้องถิ่น ทว่าสิ่งที่ทำให้อาเซียนต่างไปจากสหรัฐ และยุโรปที่กำลังใช้มาตรการกำแพงภาษีก็คือ สำหรับอาเซียนแล้ว จีนยังมีฐานะเป็น “นักลงทุนรายใหญ่” ที่อาเซียนต้องรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างระมัดระวังอีกด้วย

สำนักข่าวนิกเคอิ เอเชียรายงานว่าหลายประเทศในอาเซียนกำลังเจอภาวะที่ยากลำบากในการรักษาสมดุลนี้

เคอร์เนียดี เอกา มุลยานา เป็นหนุ่มอินโดนีเซียวัย 26 ปีที่เพิ่งถูก “เลิกจ้าง” เป็นครั้งที่สอง จากโรงงานสิ่งทอในเมืองบันดุง จ.ชวาตะวันตก เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากทำงานได้ 2 ปี โดยก่อนหน้านั้นเจ้าตัวเคยถูกเลย์ออฟจากโรงงานสิ่งทอที่อื่นมาก่อน

ผู้จัดการโรงงานดังกล่าวให้เหตุผลว่า ยอดขาย และรายได้ของโรงงานลดลงมากนับตั้งแต่แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซชื่อดัง TikTok Shop เข้ามาเปิดตัวในอินโดนีเซียเมื่อปี 2564 และขายสินค้าราคาถูกที่ผลิตจากจีนผ่านทางแพลตฟอร์มวิดีโอนี้

นับตั้งแต่ต้นปี 2567 มีโรงงานสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าในอินโดนีเซียเลิกจ้างพนักงานรวมกันแล้วราว 49,000 คน ท่ามกลางโรงงานหลายแห่งที่ปิดตัวลงในจังหวัดบันเต็น ชวาตะวันตก และชวากลาง

สถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การส่งสัญญาณของรัฐบาล เมื่อเดือนมิ.ย. โดยซัลคิฟลี ฮาซัน รัฐมนตรีพาณิชย์อินโดนีเซียเปิดเผยว่า รัฐบาลมีแผนปรับขึ้นภาษีโดยเฉลี่ยมากกว่า 100% ไปจนถึงระดับสูงสุดที่ 200% ในสินค้านำเข้ากลุ่มสิ่งทอ และอาจพิจารณาขยายให้ครอบคลุมไปถึงสินค้ากลุ่มอื่น เช่น เซรามิก เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง และเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ถูกตีตลาดอย่างหนักจนทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นหลายรายต้องปิดกิจการลง

ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนก็มีการขยับตัวเพื่อรับมือกับการทะลักของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศโดยเฉพาะที่มาจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดย “มาเลเซีย” ประกาศขึ้นภาษีขาย 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศทางออนไลน์ที่มีราคาไม่ถึง 500 ริงกิต (ราว 3,900 บาท) ซึ่งแต่เดิมเคยได้รับการยกเว้น ส่วน “ประเทศไทย” ขยายภาษีแวต 7% ให้ครอบคลุมสินค้านำเข้าที่ราคาไม่ถึง 1,500 บาท

นิกเคอิ เอเชีย ระบุว่าสำหรับรัฐบาลหลายประเทศในอาเซียนแล้ว การทะลักเข้ามาของสินค้าราคาถูกจากจีนเป็นเสมือนกับภาวะที่ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก”

ในขณะที่ผู้ค้าปลีก และผู้ผลิตในประเทศต่างขอความช่วยเหลือจากผลกระทบที่พวกเขามองว่าเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม แต่รัฐบาลเองก็ต้องดึงดูดบริษัทจีนให้เข้ามาลงทุนภาคการผลิตในประเทศด้วย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมไฮเทค

การรักษาสมดุลของลำดับความสำคัญกลายเป็นเรื่องยากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในจีนทำให้การส่งออกของอาเซียนลดลง สวนทางกับบริษัทจีนที่ต้องระบายสินค้าคงคลังส่วนเกินออกไปในราคาถูก ส่งผลให้ความไม่สมดุลทางการค้าระหว่างอาเซียนกับจีนขยายวงกว้างขึ้น และยิ่งกระตุ้นให้รัฐบาลต้องดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องการนำเข้า

จากการคำนวณของทีมนักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ พบว่า ในปี 2566 อาเซียน และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่นำเข้าสินค้าจากจีนมากถึงราว 1 ใน 3 จากการส่งออกทั้งหมดของจีน แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันแค่ 1 ใน 10 ของจีดีพีโลกก็ตาม

สำหรับไทยแล้ว จีนเป็นประเทศที่ไทยส่งออกสินค้าไปมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐ และเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้ามากที่สุดเป็นเบอร์ 1 โดยมีสัดส่วนเกือบ 25% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด และในปี 2566 ไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเป็น 3.66 หมื่นล้านดอลลาร์ จาก 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2563

ด้านมาเลเซียขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเช่นกันในช่วงดังกล่าว จาก 3.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มเป็น 1.42 หมื่นล้านดอลลาร์ ในขณะที่อินโดนีเซียยังสามารถรักษาสถานะเกินดุลการค้ากับจีนได้ที่ 2 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว จากการส่งออกสินค้าในกลุ่มโลหะ แต่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 อินโดนีเซียขาดดุลการค้ากับจีนไป 5 พันล้านดอลลาร์ จากการค้าที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซ

ชาลส์ ออสติน จอร์แดน นักวิเคราะห์อาวุโสด้านนโยบายสหรัฐจากบริษัทโรเดียม กรุ๊ป กล่าวว่า การค้าไม่สมดุลที่ขยายวงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริษัทจีน และคู่ค้าต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิต และประกอบจากจีนไปยังอาเซียน เพื่อลดความตึงเครียดทางการค้ากับประเทศในตะวันตกรวมถึงปัจจัยอื่นๆ โดยจีนมองการลงทุนเหล่านี้ว่าเป็นกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง

การย้ายซัพพลายเชนออกไปนี่เองที่ส่งผลให้ความต้องการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลางจากอาเซียนลดลง และกลายเป็นปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นแทน ส่งผลให้ในไตรมาสแรกของปี 2567 สหรัฐได้แซงจีนขึ้นเป็นตลาดที่กลุ่มอาเซียนส่งออกสินค้าไปมากที่สุดด้วยมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์

ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร HSBC การปรับเปลี่ยนนี้มีประโยชน์อย่างมากในแง่การปรับสมดุลการค้าโลก ผลจากการค้ากับจีนทำให้อิทธิพลของอาเซียนในการค้าโลกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แม้ว่าอาเซียนจะขาดดุลกับจีนเพิ่มขึ้นจาก 8 หมื่นล้านดอลลาร์ก่อนช่วงโควิด ไปเป็นเกือบ 1.15 แสนล้านดอลลาร์ในปัจจุบันก็ตาม

ที่มาของข่าว: กรุงเทพธุรกิจ
ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ
    ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ
  15/08/2024

PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% รับอานิสงส์ยอดขายเพิ่ม-ต้นทุนลด
    PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% ...
  15/08/2024

อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ตามหลักเกณฑ์การประเมิน ของ รสก. ประจำปี 67
    อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ...
  15/08/2024

บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง
    บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง
  15/08/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ - 15/08/2024
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย - 15/08/2024
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย
ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม” ชู INDUSTRIAL TECH ผลักดันสมาร์ทนิคม เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย - 15/08/2024
ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม” ชู INDUSTRIAL TECH ผลักดันสมาร์ทนิคม เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย
บีโอไอแจงส่งเสริม EV ดันไทยฐานผลิตยานยนต์โลก ชู 5 มาตรการช่วยอุตฯ ยานยนต์และชิ้นส่วนเปลี่ยนผ่าน - 14/08/2024
บีโอไอแจงเหตุผลในการส่งเสริมอุตสาหกรรม EV เพื่อรักษาการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก ชี้เงื่อนไขสำคัญ ต้องเข้ามาลงทุนผลิตชดเชยการนำเข้า 1 - 3 เท่า และใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตในประเทศ หากไม่ส่งเสริม อาจเสียโอกาสให้คู่แข่ง และไทยกลายเป็นเพียงผู้นำเข้า ย้ำพร้อมช่วยอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนด้วย 5 มาตรการสำคัญ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่
นายกฯ ขีดเส้น "ภูมิธรรม" เร่งหามาตรการปราบปรามสินค้าตปท.ผิดกม.ภายในเดือนนี้ - 14/08/2024
นายกฯ ขีดเส้น "ภูมิธรรม" เร่งหามาตรการปราบปรามสินค้าตปท.ผิดกม.ภายในเดือนนี้
FTI เซ็น MOU ศึกษาแผนร่วมทุน “ANGEL” บิ๊กระบบกรองน้ำไฮเอนด์จากจีนเสริมศักยภาพค้าปลีก - 09/08/2024
FTI เซ็น MOU ศึกษาแผนร่วมทุน “ANGEL” บิ๊กระบบกรองน้ำไฮเอนด์จากจีนเสริมศักยภาพค้าปลีก
โจทย์ใหญ่!! สินค้าจีนทะลัก 8 หน่วยงานผนึกกำลังแก้ปัญหา ปูพรมตรวจออฟไลน์-ออนไลน์ - 09/08/2024
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการแก้ปัญหาการนำเข้าสินค้าราคาถูกเข้ามาในไทย ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ ว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทุกกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์, กรมศุลกากร กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ), กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มาหารือเพื่อหาทางแก้ปัญหาเร่งด่วน โดยจะพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค โดยเฉพาะมาตรฐานสินค้าที่นำเข้า เช่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งผลกระทบกับการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในไทยด้วย
3 หน่วยงาน "อุตฯ-คลัง-พาณิชย์" เตรียมถกแนวทางรับมือสินค้าจีนทะลัก - 09/08/2024
3 หน่วยงาน "อุตฯ-คลัง-พาณิชย์" เตรียมถกแนวทางรับมือสินค้าจีนทะลัก
ส.อ.ท. ส่องอุตสาหกรรมไทยครึ่งปีหลัง 2567 - 08/08/2024
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่องเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมไทยครึ่งปีหลัง 2567 เหล่า CEO กว่า 32.2% ชี้เศรษฐกิจแย่ลง เชื่อปัจจัยเสี่ยงทั้งค่าจ้างขั้นต่ำ ต้นทุนจากค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง กำลังซื้อยังชะลอตัว
ส.อ.ท. จี้รัฐเข้มสกัดสินค้าจีนนำเข้า เพิ่มเครื่องมือสุ่มตรวจสำแดงเท็จ - 05/08/2024
ส.อ.ท.กระทุ้งรัฐอีกรอบ เข้มสกัดสินค้าจีนนำเข้า เข้มสุ่มตรวจสินค้าสำแดงเท็จด่านศุลกากร เพิ่มเครื่องมือสแกนอย่างต่ำ 70% สมอ.คุมเข้มแต่ได้เฉพาะสินค้าด้อยคุณภาพที่ต้องมี มอก.
รับมือสินค้าจีนทะลักต้องปกป้องผู้ผลิตในประเทศ - 05/08/2024
นาทีนี้เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการรับมือต้องเป็นเรื่อง “สินค้าจีน”ราคาถูกทะลักเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่เครื่องนุ่งห่ม รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ที่ราคาขายต่ำกว่าสินค้าไทย 20-30%
รัฐบาลจัดให้! รมต.พิมพ์ภัทรา หนุนเอสเอ็มอีเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว มอบ SME D Bank ปล่อยสินเชื่อ "SME Green Productivity" 15,000 ลบ. ดีเดย์ ส.ค.นี้ - 01/08/2024
รัฐบาลจัดให้! รมต.พิมพ์ภัทรา หนุนเอสเอ็มอีเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว มอบ SME D Bank ปล่อยสินเชื่อ "SME Green Productivity" 15,000 ลบ. ดีเดย์ ส.ค.นี้
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลด 3.6% ในเดือนมิ.ย. เหตุหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราว - 01/08/2024
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลด 3.6% ในเดือนมิ.ย. เหตุหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราว
กระทรวงอุตฯ คิกออฟ "รางวัลอุตสาหกรรม" ประจำปี 2567 ชวนผู้ประกอบการชิงรางวัลแห่งเกียรติยศภาคอุตสาหกรรมไทย เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ - 01/08/2024
กระทรวงอุตฯ คิกออฟ "รางวัลอุตสาหกรรม" ประจำปี 2567 ชวนผู้ประกอบการชิงรางวัลแห่งเกียรติยศภาคอุตสาหกรรมไทย เปิดรับสมัครแล้ววันนี้
ปรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วน เริ่มต้นช้าดีกว่าไม่ได้ทำ - 24/07/2024
ไตรมาสแรกของปี 2024 มีโรงงานปิดตัวลงไปแล้วกว่า 1,700 แห่ง กระทบการจ้างงานกว่า 42,000 ตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก เราจำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ เพราะถือเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย
"พิมพ์ภัทรา" นำทีมบุกญี่ปุ่น 21-27 ก.ค. ศึกษาโมเดล "นิคมอุตสาหกรรม Circular" - 23/07/2024
"พิมพ์ภัทรา" นำทีมบุกญี่ปุ่น 21-27 ก.ค. ศึกษาโมเดล "นิคมอุตสาหกรรม Circular"
22 อุตสาหกรรมรอด ช่วย 'คนตัวเล็ก' พ้นวิกฤติ - 19/07/2024
สินค้าจีนตีตลาดไทยเพิ่มขึ้น สร้างความกังวลต่อผู้ประกอบการ SMEs ไทย เพราะไม่สามารถแข่งขันต้นทุนได้เป็นอย่างยิ่ง โดยพบสินค้าจีนเพิ่มขึ้น จำนวน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แต่หวังว่าคณะกรรมการฯ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม จะมีวิธีรับมือ
บีโอไอลุยจับมือหน่วยงานพันธมิตร จัดงาน THECA 2024 ดันไทยเป็นฐานผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก มุ่งสร้างงานสูงถึง 80,000 ตำแหน่ง พร้อมเร่งจัดตั้งศูนย์แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไทย - 18/07/2024
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกับสมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไทยและสมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ฮ่องกง ย้ำจัดงานแสดงสินค้าและบริการวงจรอิเล็กทรอนิกส์แห่งเอเชีย หรือ เทกก้า (Thailand Electronics Circuit Asia: THECA) เพื่อประกาศศักยภาพและความก้าวหน้าในการเป็นฐานการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนและของโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่มุ่งมั่นพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้มาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ระหว่างวันที่ 24 - 26 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
"แอร์บัส" คาดจีน-อินเดียช่วยหนุนดีมานด์เครื่องบินทั่วโลกเพิ่มขึ้นใน 20 ปีข้างหน้า - 16/07/2024
"แอร์บัส" คาดจีน-อินเดียช่วยหนุนดีมานด์เครื่องบินทั่วโลกเพิ่มขึ้นใน 20 ปีข้างหน้า
เปิด 22 กลุ่มอุตสาหกรรมเสี่ยงวิกฤติ หลังสินค้าจีนราคาถูกทุ่มตลาด - 12/07/2024
เปิด 22 กลุ่มอุตสาหกรรมเสี่ยงวิกฤติ หลังสินค้าจีนราคาถูกทุ่มตลาด เผยมีสินค้าที่นำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2566ถึงเดือนพฤษภาคม 2567 รมว.อุตสาหกรรมถกส.อ.ท. รับมือ
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 130 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2588 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.