สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME เดือน ก.ย.63 ปรับเพิ่มขึ้น จากมาตรการภาครัฐและภาวะเศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัว
  20/11/2020

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ประจำเดือนกันยายน 2563 ว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับเพิ่มขึ้นจาก เดือนสิงหาคม 2563 ที่ระดับ 51.2 มาอยู่ที่ระดับ 52.9 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากลดลงเล็กน้อยในเดือน ที่ผ่านมา เนื่องจากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ โดยเฉพาะกลุ่มการท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งบริษัทจำหน่ายตั๋วเดินทาง โรงแรมและที่พัก ร้านอาหาร และบริการรถเพื่อท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจปรับตัวดีขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัว จากการขยายตัวของกำลังซื้อในทุกภูมิภาค เนื่องจากประชาชนสามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้เป็นปกติมาก ขึ้น อีกทั้งการลดลงของความกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ปรับตัวดีขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ปัจจัยที่ส่งผลดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากองค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต การค้าและการบริการ กำไร การลงทุน และการจ้างงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.8 57.9 56.3 52.1 และ 49.8 ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบด้านต้นทุน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.4 โดยเป็นผลจากราคาวัตถุดิบและสินค้าหลายรายการเพิ่มขึ้น

โดยภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคการบริการ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.9 52.6 และ 52.6 ตามลำดับ โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่จำเป็น อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและสิ่งทอ รวมไปถึงกลุ่มการท่องเที่ยวที่ได้อานิสงส์จากการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศของภาครัฐ เช่น บริษัทจำหน่ายตั๋วสายการบินและเหมาทัวร์ โรงแรมและที่พัก ร้านอาหาร และบริการรถเช่าเพื่อท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ธุรกิจท่องเที่ยวที่เน้นนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงซบเซาต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวตลอดปลายปี 2563

ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของผู้ประกอบการ SME ทุกภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจุบันอยู่ที่ 51.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.8 จากการขยายตัวของธุรกิจกลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะการค้าอุปโภค/บริโภค ทั้งแบบค้าปลีกสมัยใหม่ (modern trade) และแบบดั้งเดิม และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคใต้ ปัจจุบันอยู่ที่ 54.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.0 เป็นผลจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐและมาตรการวันหยุดยาว ทำให้เกิดการเดินทาง และจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มการท่องเที่ยวในประเทศและสาขาที่เกี่ยวเนื่อง ประกอบกับผลของกำลังซื้อภาคการเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากราคายางพาราที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องกำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้สาขาการก่อสร้างและการค้าวัสดุก่อสร้าง มีการหดตัวเล็กน้อยจากปัจจัยฤดูกาล

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 55.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.5  เป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก ทำให้กำลังซื้อในภาคการเกษตรปรับตัวดีขึ้นส่งผลดีต่อสินค้าและบริการกลุ่มอุปโภค/บริโภค รวมไปถึงสินค้าคงทน เช่น รถจักรยานยนต์ ดัชนีความเชื่อมั่นฯของภาคตะวันออก ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 51.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.8 โดยมีการขยายตัวในหลายธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ อาทิ ชลบุรี และระยอง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคเหนือ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 52.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.8 จากการเพิ่มขึ้นของการจับจ่ายใช้สอยในช่วงวันหยุดยาว และการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมและที่พักจากการจองล่วงหน้า รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ชุมชนในกลุ่มของฝากที่ระลึก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 54.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.6 เพราะมีการขยายตัวในกลุ่มการผลิต โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่ม และเสื้อผ้าและสิ่งทอ รวมไปถึงกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง 

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 57.9 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า   ที่ระดับ 56.9 แนวโน้มความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของกำลังซื้อในปัจจุบัน และความคาดหวังในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเพิ่มเติม แม้จะยังมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตและผลกระทบต่อการระบาดรอบใหม่ แต่ผลกระทบคาดว่าจะอยู่ในวงจำกัดและไม่รุนแรงเท่ากับช่วงวิกฤตก่อนหน้า

ส่วนปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อกิจการ SME ประเทศในเดือนนี้ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและอำนาจซื้อของประชาชน 2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค 3. มาตรการในด้านต่างๆ ของรัฐบาล 4. การแข่งขันในตลาด และ 5. ราคาต้นทุนสินค้า/ค่าแรงงาน


ที่มาของข่าว: MReport
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.