สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

การเลือกเทคโนโลยีการอบแห้งในอุตสาหกรรมและเพื่อลดต้นทุนการผลิต
  01/08/2014 00:00
 


ส่วนประกอบ อุปกรณ์ในกระบวนให้ความร้อนแบบไดอิเล็กทริก
   ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในระบบการทำความร้อนแบบไดเล็กทริก ทั้งคลื่นวิทยุ และคลื่นไมโครเวฟประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนกำเนิดคลื่น ส่วนกระจายคลื่น และส่วนของโครงสร้างเตา ในบทความนี้ จะขอกล่าวเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ในการให้ความร้อนด้วนคลื่นไมโครเวฟ เท่านั้น เนื่องจากมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในการให้ความร้อนหรือการอบแห้งอุตสาหกรรม ส่วนประกอบและอุปกรณ์ในการให้ความร้อนด้วนคลื่นไมโครเวฟ โดยทั่วไป ดังแสดงในรูปที่ 7 ซึ่งประกอบด้วย 7 อุปกรณ์ คือ แมกนีตรอน (Magnetron), แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Supply), ท่อนำคลื่น (Wave Guide) อุปกรณ์ป้องกัน (Circulator), Directional Coupler, Tuner และ Cavity

รูปแสดง: ส่วนประกอบ อุปกรณ์พื้นฐานในการทำความร้อนแบบไมโครเวฟ

1. แมกนีตรอน (Magnetron) แมกนีตรอนเป็นอุปกรณ์ที่สร้างคลื่นไมโครเวฟโดยการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ภายใต้แรงดันไฟฟ้าสูง ภายในแมกนีตรอนประกอบด้วย ขั้วแคโทด (Cathode) ขั้วแอโนด (Anode) แม่เหล็กถาวร และ Antenna


ก) ส่วนประกอบภายในแมกนีตรอน

ข) การเกิดคลื่นไมโครเวฟในแอโนด

รูปแสดง : ส่วนประกอบของแมกนีตรอน และลักษณะการเกิดคลื่นไมโครเวฟ  (ที่มา: http://mainland.cctt.org)  

รูปแสดง :ส่วนประกอบ และรูปร่างภายนอกของแมกนีตรอน  (ที่มา: http://www.upv.es/gcm)

แมกนีตรอนจะสามารถส่งคลื่นไมโครเวฟออกมาได้ โดยการเริ่มต้นด้วยการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันต่ำประมาณ 3-4 โวลต์ กระแสประมาณ 10 แอมแปร์ ไปที่ไส้หลอด จะทำให้เกิดอิเล็กตรอนวิ่งออกมา และเมื่อจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงไปที่ขั้วแคโทด ก็จะทำให้อิเล็กตรอนถูกทำให้เคลื่อนที่ภายใต้อิทธิพลของสนามไฟฟ้าและสนามแม่ เหล็กถาวร จะทำให้เกิดความต่างศักย์ขึ้น และถ้าความต่างศักย์สูงถึงค่าหนึ่งก็จะปล่อยคลื่นไมโครเวฟออกมา โดยผ่านทาง Antenna คลื่นไมโครเวฟที่สร้างโดยแมกนีตรอนจะมีความถี่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับโครงสร้างภายในช่องสุญญากาศระหว่างขั้วแอโนดและแคโทด ความถี่ที่แมกนีตรอนสร้างขึ้น เช่น 915 MHz, 2,450 MHz เป็นต้น

แมกนีตรอนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แมกนีตรอนที่ทำงานเป็นจังหวะ (Pulse Magnetron) ซึ่งใช้ในงานด้านการสื่อสาร เช่น ในงานเรดาร์ ดังแสดงในรูปที่ 10 และชนิดที่ทำงานต่อเนื่อง (Continuous Wave Magnetron) ซึ่งจะใช้ในงานการให้ความร้อนทั้งในบ้านเรือน เช่น ในเตาไมโครเวฟ หรือแม้แต่งานให้ความร้อนในอุตสาหกรรม ดังแสดงในรูปที่ 11 แต่สำหรับการใช้งานจริงในระดับอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เครื่องจะถูกออกแบบมา ให้ทำงานแบบต่อเนื่อง

ดังนั้นแมกนีตรอนจึงเป็นแมกนีตรอนที่แตกต่างจากแมกนีต รอนที่ใช้ในเตาอบไมโครเวฟบ้าน (Domestic Microwave) เป็นแมกนีตรอนอุตสาหกรรม ซึ่งแมกนีตรอนแบบนี้จะทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งชั่วโมงทำงานมากสุดของแมกนีตรอนสูงถึง 10,000 ชั่วโมง หรือประมาณ 10 ปี

ก)  W-band Pulse Magnetron, 95 GHz

ข) D-band Pulse Magnetron, 120-150 95 GHz
รูปที่แสดง:ลักษระของแมกนีตรอนที่ทำงานเป็นจังหวะ (ที่มา: http://www.insight-product.com)

 

ก) ประยุกต์ใช้กับเตาอบในครัวเรือน 

ข) ประยุกต์ใช้กับเครื่องอบแห้งแบบสายพานในอุตสาหกรรม

รูปแสดง: แสดงการประยุกต์ใช้แมกนีตรอนชนิดทำงานต่อเนื่อง  

          2. ท่อนำคลื่น (Wave Guide) ท่อนำคลื่นเป็นสายส่งสัญญาณชนิดหนึ่งใช้ในการส่งคลื่นไมโครเวฟ ลักษณะโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นท่อกลม หรือท่อสี่เหลี่ยม ทำจากท่อทองแดงหรืออะลูมิเนียม ด้านในฉาบด้วยเงินเพื่อให้ท่อนำคลื่นเป็นตัวนำที่ดี ซึ่งสาเหตุที่ท่อนำคลื่นต้องทำเป็นท่อ เพราะจะทำให้คลื่นไมโครเวฟสูญเสียพลังงานน้อยกว่าการทำเป็นรูปแบบอื่น รูปแบบของท่อนำคลื่นที่ใช้ในระบบทำความร้อนด้วยไมโครเวฟ ดังแสดงในรูปที่ 12 และรูปที่ 13            

                                           
รูปแสดง: แสดงลักษณะของท่อนำคลื่น

รูปแสดง: แสดงท่อนำคลื่นที่ใช้ในงานไมโครเวฟ (ที่มา: http://www.microwaveengservices.com)

          ในการเคลื่อนที่ของคลื่นไมโครเวฟในท่อนำคลื่น มีค่าความถี่ของคลื่นที่สามารถคลื่นที่ได้ โดยค่าความถี่ต่ำสุดที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เราเรียกว่า ความถี่คัตออฟ ซึ่งถ้าความถี่ของคลื่น สูงกว่าความถี่คัตออฟก็จะสามารถคลื่นที่ได้ โดยขนาดของท่อนำคลื่นต่างกัน ค่าความถี่คัตออฟ ก็ต่างกัน ซึ่งคำนวณได้จาก สมการที่ 9, รูปที่ 7 และรูปที่ 14

รูปแสดง: แสดงมิติต่าง ๆ ของท่อนำคลื่น

        
 
          3. อุปกรณ์ป้องกัน (Circulator) เป็นอุปกรณ์เพื่อป้องกันการสะท้อนของคลื่นไมโครเวฟกลับไปยังแมกนีตรอน เพื่อยืดอายุการใช้งานของแมกนีตรอน รูปแบบของ Circulator ดังแสดงในรูปที่ 15

รูปแสดง: แสดงลักษณะของ Circulator ในระบบ Microwave
(ที่มา: http://www.aft-microwave.com

          4. อุปกรณ์ปรับค่าคลื่น (Matching Turner) เป็นอุปกรณ์ที่ปรับค่าของคลื่นไมโครเวฟให้เหมาะกับการใช้งานหรือเหมาะกับ วัสดุให้ความร้อน และต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์วัดกำลังคลื่น (Power Monitor)

รูปแสดง : แสดงลักษณะของ Turner ในระบบ Microwave

          5. Directional Coupler เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          6. คาวิตี้ (Cavity) ซึ่งเป็นส่วนที่บรรจุวัสดุเพื่อทำให้วัสดุร้อนขึ้น หรือต้องการไล่น้ำออกจากวัสดุอบเพื่อทำให้แห้ง โดยคลื่นไมโครเวฟที่ออกจากจากแมกนีตรอนจะส่งท่อนำคลื่น และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ส่งผ่านไปยังคาวิตี้ ซึ่งต้องได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับวัสดุ และกำลังของคลื่นไมโครเวฟที่ใช้ในการทำความร้อน คาวิตี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ คาวิตี้ชนิดทำงานเป็นกะ และคาวิตี้ชนิดทำงานเป็นแบบต่อเนื่อง

          โดยทั่วไปคาวิตี้จะมีขนาดใหญ่ และทำจากโลหะเพื่อทำให้คลื่นไมโครเวฟเกิดการสะท้อนไปมาได้ภายในคาวิตี้ และเกิดความร้อนขึ้นในวัสดุได้อย่างสม่ำเสมอ คาวิตี้ที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรมจะประกอบกันเป็นอุโมงค์และภายในมีสายพาน ลำเลียงเพื่อลำเลียงวัสดุที่ต้องการทำให้ร้อนหรืออบแห้งเคลื่อนที่เข้าไปใน คาวิตี้และเคลื่อนที่ออกแบบต่อเนื่อง ทำให้กำลังการผลิตสูง แต่คาวิตี้แบบนี้มักจะประสบปัญหาเรื่องความไม่สม่ำเสมอของคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่มากระทบกับวัสดุซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการกระจายความร้อนภายในวัสดุภาย ในคาวิตี้ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา โดยการใช้ใบพัดโลหะที่มีความเร็วรอบต่ำ ตรงทางออกของท่อนำคลื่น ดังแสดงในรูปที่ 17 หรือแม้แต่การเพิ่มช่องทางออกของคลื่นไมโครเวฟให้มีจำนวนมากขึ้นเพื่อเพิ่ม การกระจายคลื่นให้มากขึ้น

รูปแสดง: แสดงการเพิ่มใบกวนในคาวิตี้เพื่อเพิ่มการกระจายคลื่นไมโครเวฟ

          7.แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Supply) และระบบควบคุม (Power control) เป็นระบบที่จ่ายกำลังไฟฟ้าและควบคุมการทำงานของระบบไมโครเวฟ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ เป็นไปตามความต้องการใช้งาน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอบแห้งด้วยไมโครเวฟในงานอุตสาหกรรม
          ในส่วนประกอบของระบบไมโครเวฟซึ่งกล่าวไปแล้วนั้น จะประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ หลาย ๆ ส่วนเพื่อให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน แต่ในการประยุกต์ใช้ในการให้ความร้อน หรือการอบแห้งวัสดุในทางอุตสาหกรรม ส่วนประกอบอย่างอื่นในระบบจะไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้น คาวิตี้ซึ่งออกแบบตามกำลังการผลิต วัสดุที่นำมาอบ และในบางครั้งยังเพิ่มอุปกรณ์หรือระบบบางอย่าง เพื่อให้เหมาะสมกับวัสดุ คุณภาพของวัสดุที่ต้องการ หรือแม้แต่กำลังการผลิตที่ต้องการ เช่น เพิ่มระบบสุญญากาศในคาวิตี้ หรือการเพิ่มระบบลมร้อนเพื่อให้การพาความชื้นบริเวณผิวหน้าได้ดีขึ้น เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะกล่าวถึงการประยุกต์การใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟในการทำให้วัสดุ ร้อน หรือการอบแห้งวัสดุที่ใช้งานในอุตสาหกรรม ดังนี้

          1. ระบบทำความร้อนด้วยไมโครเวฟร่วมกับสายพานลำเลียงแบบต่อเนื่อง ในปัจจุบันความก้าวหน้าในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการทำความร้อนด้วย ไมโครเวฟทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้พัฒนาเครื่องอบแห้งหรือให้ความร้อนแบบต่อ เนื่องเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ความร้อนหรืออบแห้งวัสดุอุตสาหกรรม หรือพืชผลทางการเกษตรให้มีความรวดเร็ว ประหยัดพลังงาน และมีกำลังการผลิตที่มีปริมาณมากเพื่อลดต้นทุนการผลิตในภาคการผลิต

          ระบบทำความร้อนด้วยไมโครเวฟร่วมกับสายพานลำเลียงแบบต่อเนื่องที่มีใช้ใน อุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามแหล่งจ่ายไมโครเวฟกับระบบ คือ ระบบที่ใช้แมกนีตรอนกำลังสูงเพียงตัวเดียว และแบบใช้แมกนีตรอนกำลังต่ำหลายตัว ระบบที่ใช้แมกนีตรอนกำลังสูงเพียงตัวเดียวระบบจะประกอบด้วยส่วนประกอบใน หน่วยย่อยต่าง ๆ หลายตัว ดังแสดงในรูปที่ 7 และรูปที่ 18 ระบบแบบนี้ต้องใช้เงินลงทุนตัวอุปกรณ์ไมโครเวฟค่อนข้างสูงเนื่องจาก ประกอบด้วยอุปกรณ์หลายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมกนีตรอนอุตสาหกรรมที่กำลังวัตต์สูง จะมีราคาสูงมาก แต่ระบบแบบนี้ยังมีข้อดี คือ ระบบสามารถดูแลรักษาและซ่อมบำรุงง่ายเนื่องจากมีแหล่งกำเนิดเพียงชุดเดียว

รูปแสดง: แสดงส่วนประกอบของระบบที่ใช้แมกนีตรอนกำลังสูงเพียงตัวเดียว

          สำหรับระบบไมโครเวฟที่ใช้แมกนีตรอนหลายตัวในการให้ความร้อน ระบบแบบนี้จะมีเงินลงทุนเบื้องต้นต่ำ เนื่องจาก ราคาแมกนีตรอนมีราคาถูก เพราะแมกนีตรอนมีกำลังต่ำ และยังไม่มีอุปกรณ์ประกอบของระบบอื่น ๆ ทำให้ชุดแหล่งกำเนิดคลื่นมีราคาถูก โดยระบบแบบนี้จะติดตั้งตัวแมกนีตรอนไว้รอบ ๆ ของคาวิตี้ ซึ่งมีความอิสระต่อกัน ระบบแบบนี้เมื่อเกิดการชำรุดเสียหายของแมกนีตรอนตัวใดตัวหนึ่งระบบยังทำงาน ได้ต่อไป หรือการปิดตัวใดตัวหนึ่งเพื่อซ่อมบำรุงทำได้ง่ายดาย ปัจจุบันระบบทำความร้อนด้วยไมโครเวฟร่วมกับสายพานลำเลียงแบบต่อเนื่องใช้ ระบบแมกนีตรอนหลายตัวเกือบทั้งหมด เนื่องจากมีราคาถูก ระยะคืนทุนน้อย จึงทำให้ระบบแบบนี้ผลิตออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ค่อนข้างมาก ระบบแบบนี้ สามารถแสดงได้ในรูปที่ 19

รูปแสดง: ระบบทำความร้อนด้วยไมโครเวฟร่วมกับสายพานลำเลียงแบบต่อเนื่องชนิดแมกนีตรอนหลายตัว

          ปัจจุบันมีหน่วยงานมากมายที่เห็นความสำคัญของระบบไมโครเวฟชนิดสายพานลำเลียง แบบต่อเนื่อง ได้พัฒนาเครื่องอบแห้งเพื่อใช้งานในการอบแห้งพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย มีงานวิจัยออกมามากมายในการพัฒนาเครื่องอบแห้งแบบนี้ ให้ออกมาในเชิงพาณิชย์ เช่น การพัฒนาเครื่องอบแห้งโดยใช้คลื่นไมโครเวฟร่วมกับสายพานลำเลียงแบบต่อเนื่อง ในการอบสมุนไพร อบที่นอนโฟมจากยางพารา อบหมาก หรือพืชผลทางการเกษตรอีกมากมาย ซึ่งจากข้อมูลพบว่า เทคโนโลยีนี้ ในการอบแห้งบางผลิตภัณฑ์ สามารถลดระยะเวลาในการอบแห้งลงได้มากว่าครึ่ง และประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงมากมาย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ก็ยังมีต้นทุนเริ่มต้นยังสูงอยู่ ดังนั้น ในการพัฒนาคงเน้นเรื่องทำอย่างไรจึงให้เทคโนโลยีนี้มีต้นทุนเริ่มต้นที่ถูก ลง เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีการอบแห้งได้อย่างกว้างขวาง แม้แต่ระดับเกษตรกรรายย่อย

          2. ระบบไมโครเวฟภายใต้ภาวะสุญญากาศ เป็นระบบให้ความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง และต้องใช้เทคโนโลยีในการออกแบบขั้นสูง โดยเทคโนโลยีไมโครเวฟ ร่วมกับเทคโนโลยีไมโครเวฟ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้นวัตกรรมการใหม่สำหรับการอบแห้ง ระบบอบแห้งด้วยไมโครเวฟภายใต้สุญญากาศ มีองค์ประกอบพื้นฐาน ดังแสดงในรูปที่ 20 ซึ่งประกอบด้วย 1.เจเนอเรเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยแมกนีตรอน (Magnetron) และระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Supply) ซึ่งระบบเจเนอเรเตอร์เป็นระบบที่ทำหน้าที่ผลิตคลื่นไมโครเวฟเพื่อนำไปใช้ใน การทำความร้อนวัสดุในคาวิตี้

2.ท่อนำคลื่น เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างเจเนอเรเตอร์กับคาวิตี้ ซึ่งเป็นส่วนส่งคลื่นไมโครเวฟจากเจเนอเรเตอร์ไปยังคาวิตี้ภายใต้สุญญากาศ (Vacuum Cavity) 3.คาวิตี้สุญญากาศ เป็นส่วนซึ่งบรรจุวัสดุที่ต้องการทำความร้อน หรือการอบแห้ง มีการเชื่อมต่อกับปั๊มสุญญากาศซึ่งทำหน้าที่ปรับความดันเป็นความดันสุญญากาศ ตามความดันออกแบบ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น ช่องมองกระจกรับแรงดัน เพื่อสามารถให้มองเห็นวัสดุในคาวิตี้ ตัววัดความดันภายในถัง เป็นต้น

ก) เครื่องอบแห้งด้วยไมโครเวฟภายใต้ความดันสุญญากาศแบบ Batch

ข) เครื่องอบแห้งด้วยไมโครเวฟภายใต้ความดันสุญญากาศแบบต่อเนื่อง

รูปแสดง: เครื่องอบแห้งด้วยไมโครเวฟภายใต้ความดันสุญญากาศ

          ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายหน่วยงานในการพัฒนาระบบอบแห้งไมโครเวฟภายใต้ความดัน สุญญากาศ รวมถึงบริษัทเอกชน เพื่อผลิตในเชิงพาณิชย์ให้กับกิจการบางประเภทที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ เช่น อุตสาหกรรมยา พืชผลทางการเกษตรที่ต้องการความคงอยู่ของสี รูปร่าง รสชาติ เครื่องอบแห้งไมโครเวฟภายใต้ความดันสุญญากาศมีลักษณะเด่นกว่าเครื่องอบแห้ง แบบอื่น พอสรุปข้อดีได้ ดังนี้

          1. ประสิทธิภาพการอบแห้งสูงกว่าการอบแห้งแบบธรรมดาถึงสี่เท่า ทำให้การอบแห้งแบบนี้ มีอัตราการทำแห้งสูง นั้นหมายถึงการอบแห้งมีความรวดเร็วในการอบแห้ง
          2. การให้ความร้อนแก่วัสดุอบแห้งมีความสม่ำเสมอมีความแตกต่างของอุณหภูมิ ระหว่างด้านนอกและด้านในของวัสดุน้อยกว่าการอบแห้งแบบอื่น ซึ่งส่งผลให้คุณภาพการอบแห้งสูงมากกว่า การอบแห้งแบบอื่น ๆ มาก
          3. ง่ายต่อการควบคุมระบบ
          4. เครื่องอบแห้งมีขนาดเล็ก
          5. คุณภาพของวัสดุอบแห้งมีคุณภาพสูง เนื่องจากอุณหภูมิในกระบวนการต่ำ
          6. ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการอบแห้งแบบธรรมดา หรือแบบเดิม

          เครื่องอบแห้งแบบไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศที่มีการพัฒนาขึ้นในไทย เช่น เครื่องอบแห้งที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับบริษัท มาร์ช คูล อินดัสทรี จำกัด ดังแสดงในรูปที่ 21 ซึ่งสามารถอบแห้งได้ทั้งพืชผลทางการเกษตร หรือแม้แต่เนื้อสัตว์ เช่น อาหารทะเล เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการอบที่รวดเร็ว ได้คุณภาพสูง และสีสรรใกล้เคียงของดั้งเดิม

รูปแสดง: เครื่องอบแห้งไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นอกจากนี้ยังมีเครื่องอบแห้งแบบไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศที่พัฒนาโดยต่างประเทศ ซึ่งดังแสดงในรูปที่ 22

รูปแสดง: เครื่องอบแห้งไมโครเวฟร่วมกับสุญญากาศที่พัฒนาโดยบริษัท Puesshner


 
    เครื่องทำความร้อนหรืออบแห้งโดยเทคโนโลยีไมโครเวฟ เป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับประเทศไทย และสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอุตสาหกรรม ดั้งนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพัฒนาเทคโนโลยีการทำความร้อนด้วยไมโครเวฟอย่าง จริงจังและมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชน เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีไมโครเวฟในอุตสาหกรรม เช่น

          1. อุตสาหกรรมเคมี เช่น การอบแห้งสารเคมีชนิดต่าง ๆ การให้ความร้อนสารกัดกร่อน การเร่งปฏิกิริยาเคมี การอบแห้งสารติดไฟง่าย การให้ความร้อนภายใต้แรงดันสูงสำหรับปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
           2. อุตสาหกรรมยา เช่น ใช้ในกระบวนการอบแห้งเม็ดยาและวัสดุออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ ภายใต้ความดันสุญญากาศ การพาสเจอร์ไรเซชันเพื่อยืดอายุการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ยา การให้ความร้อน/สเตอร์รีไรเซชั่นโปรตีน การอบแห้งภายใต้สุญญากาศแบบต่อเนื่อง
           3. อุตสาหกรรมเซรามิก เช่น ใช้ในกระบวนการการให้ความร้อนและอบแห้งผลิตภัณฑ์เซรามิกชนิดต่าง ๆ การอบแห้งเร่งปฏิกิริยาเซรามิก การทำรูพรุนเม็ดเซรามิกแบบต่อเนื่อง
           4. อุตสาหกรรมพลาสติก เช่น การให้ความร้อนแผ่นอัดซ้อน การทำโพลิเมอร์ของวัสดุเสริมไฟเบอร์กลาส การให้ความร้อนแก่พลาสติกชนิดต่าง ๆ การให้ความร้อนท่อ Epoxy ชนิดต่าง ๆ การอบแห้งวัตถุดิบพลาสติก
           5. อุตสาหกรรมทางการแพทย์ เช่น การอบแห้งแผ่นเยื้อชนิดต่าง ๆ การให้ความร้อน/หลอมท่อ Polyamide สำหรับทางการแพทย์
           6. อุตสาหกรรมกระดาษและวัสดุแผ่น เช่น กระบวนการให้ความร้อนใยกระดาษในอุตสาหกรรมการพิมพ์ด้วยความเร็วสูง การอบแห้งเคลือบกระดาษชนิดต่าง ๆ
           7. อุตสาหกรรมอาหาร เช่น การให้ความร้อนในกระบวนการผลิต หรืออบแห้งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
           8. อุตสาหกรรมยาง เช่น การให้ความร้อน หรืออบแห้งแผ่นยางธรรมชาติในอุตสาหกรรม
           9. อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน เช่น การอบแห้งผลิตภัณฑ์ไม้ชนิดต่าง ๆ 

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานในเทคโนโลยีไมโครเวฟ
          เทคโนโลยีการให้ความร้อนหรือการอบแห้งด้วยไมโครเวฟ เป็นเทคโนโลยีสะอาดไม่ก่อการเกิดมลพิษทางอากาศเนื่องจากใช้พลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไมโครเวฟ โดยใช้แมกนีตรอนเป็นตัวกำเนิดคลื่น อีกทั้งเครื่องอบแห้งที่ผลิตจำหน่ายต้องมีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยใน เรื่องการรั่วไหลของคลื่นไมโครเวฟ โดยการรั่วไหลที่ระยะ 5 เซนติเมตรจากตัวเครื่องต้องมีการรั่วไหลของคลื่นไม่เกิน 5 mW/cm2 ส่วนในเรื่องการประหยัดพลังงานของเทคโนโลยีการทำความร้อน/อบแห้ง ด้วยไมโครเวฟ เนื่องจากว่าการทำความร้อนด้วยวิธีนี้มีประสิทธิภาพสูง โดยพลังงานคลื่นที่ส่งผ่านไปยังวัสดุและมีการถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นในวัสดุ โดยตรง ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมในการถ่ายเทพลังงานจะอยู่ที่ 50-70% เมื่อเทียบกับการอบแห้งแบบเดิม เช่น การใช้ลมร้อน หรือการแผ่รังสี ประสิทธิภาพจะอยู่ที่ประมาณ 10-30% เท่านั้น 

เอกสารอ้างอิง
          * เครื่องมือที่ใช้ในการอบแห้ง. [Online]. Available: http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php
          * ข้อมูลเทคโนโลยีเชิงลึกการให้ความร้อนแบบไดอิเล็กตริก, โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
          * ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล, อุปกรณ์อบแห้งอุตสาหกรรม, กรุงเทพมหานคร, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี , 2522

 

ที่มา:http://thailandindustry.com


สัมมนา เรื่อง : อนาคตเครื่องจักรกลไทยก้าวไปด้วยนวัตกรรม
    โครงการพัฒนาศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลได้ดำเนินการจัดสัมมนา ...
  14/08/2023

สัมมนาและเสวนา เรื่อง : ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในการสนับสนุนอุตสาหกรรมในอนาคต
    โครงการพัฒนาศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลได้ดำเนินการจัดสัมมนา เมื่อวันพุธที่ ...
  24/08/2022

“2021 Virtual Seminar on Machinery Solution for Smart Agricultural”
    ...
  26/10/2021 09:00

“คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทยในยุค COVID-19” และ กิจกรรม Business Relation ภายในคลสัสเตอรฯ์
    กิจกรรม การเสวนาก้าวต่อไป “คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทยในยุค COVID-19” และ กิจกรรม Business ...
  23/06/2021


อบรม/สัมมนาอื่นๆ
“ความท้าทายในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทยและแนวโน้มการนำระบบ Automation และ Robotics เข้ามาใช้ในภาคอุตสาหกรรม” - 23/09/2019
“การพัฒนาเครื่องจักรกลไทยเพื่อสนับสนุนการผลิตด้าน การเกษตร” กรณีศึกษา : การผลิตกัญชาเพื่อการแพทย์ - 28/08/2019
Smart Farming กับ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในประเทศไทย - 28/06/2019
Internet of Things (IoT) ในยุคอุตสาหกรรม ๔.๐ - 25/04/2018
Industry 4.0 : digital factory and new generation of smart robots - 24/05/2017
AGRITECHNICA ASIA 2017 - 30/08/2016
AGRITECHNICA ASIA 2017
การประชุมวิชาการ OIE Forum ประจำปี 2559 "New Revolution of Thai Industry" - 21/07/2016
การประชุมวิชาการ OIE Forum ประจำปี 2559 "New Revolution of Thai Industry" ปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ : ประเทศไทย 4.0
สัมมนาเรื่อง แม่พิมพ์ที่ดีทำกันอย่างไง - 04/07/2016
สัมมนาเรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ - 22/02/2016
สัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 3 ปี 2558 เรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร - 02/07/2015
สัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 2 ปี 2558 เรื่องยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน - 25/06/2015
สัมมนาเรื่องยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2558 – 2564) - 25/05/2015
Promoting the Usage of Steel in Machinery Industry - 24/02/2015
ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล - 21/01/2015
การจัดประชุมกับผู้ประกอบการ - 16/10/2014
METALEX 2014 - 30/09/2014
งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ - 26/08/2014
เสวนาภายใต้หัวข้อ “ แนวโน้มการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีก่อสร้างในช่วง 10 ปีข้างหน้า” - 04/08/2014
วิศวกรรม'57 (Engineering'14) - 24/07/2014
มหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (SITEX 2014) - 21/07/2014
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 3 หน้า: จำนวนทั้งหมด 60 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
อบรม/สัมมนา
เยี่ยมชมโรงงาน

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.