สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
  10/04/2024
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ภายใต้หัวข้อ มุมมองต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ประเมินภาพรวมขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในปัจจุจัยเฉลี่ยทั้ง 9 ด้าน อยู่ใน ระดับปานกลาง 

ทั้งนี้ ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่มีความเปราะบาง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ทำให้ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวรับมือกับการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม อาทิ กฎระเบียบที่ล้าสมัยและไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 

ปัญหาผลิตภาพแรงงานและการขาดแคลนแรงงาน ข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม กฎระเบียบทางการค้าที่เป็นอุปสรรค การทุ่มตลาดสินค้า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงได้รับแรงกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

อย่างไรก็ดี จากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ผู้บริหาร ส.อ.ท. จึงเสนอให้ภาครัฐเร่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมทั้งระบบภายใน 1 ปี โดยเฉพาะการดูแลปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนการผลิตทั้งระบบให้เอกชนสามารถแข่งขันได้ มีการปฏิรูปกฎหมายกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ หรือ Ease of Doing Business 

รวมทั้งการพัฒนาระบบและมาตรการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุมัติอนุญาต ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่ฉุดรั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีการพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ 

การให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นเทรนด์โลก การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาด มีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งการพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน (Upskill, Reskill, New skill) เป็นต้น 

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 250 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 39 จำนวน 3 คำถาม ดังนี้

1.ขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับใด หัวข้อประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม/คะแนน

ความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) และการปฏิบัติตามกฎหมาย 3.05
ต้นทุนการผลิตและการประกอบการ เช่น วัตถุดิบ พลังงาน ค่าแรง การเงิน โลจิสติกส์ ฯลฯ 2.88
ผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity) และกำลังคนรองรับความต้องการของอุตสาหกรรม 2.96
ความพร้อมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และส่งเสริม R&D 2.98
การส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนภายในประเทศ ทั้ง FDI, TDI และ SMEs 3.07
การค้า การส่งออก และศักยภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ  3.00
ความสามารถในการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และNet Zero 2.95
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับภาคอุตสาหกรรม เช่น Logistic, Digital ฯลฯ 3.22
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น GDP เงินเฟ้อ นโยบายรัฐ ฯลฯ 2.90
เฉลี่ยรวม 9 หัวข้อ 3.00

2.ภาคอุตสาหกรรมมีแนวทางการปรับตัวอย่างไร เพื่อให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน (Multiple choices)  

นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม 82.8%                
ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และพัฒนาสินค้าบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาด 72.4%
พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน (Upskill, Reskill, New skill) 62.0%
ปรับกลยุทธ์ทางการตลาด พัฒนาแบรนด์สินค้า ขยายตลาดต่างประเทศและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ 57.2%
ปรับโครงสร้างองค์กรและกระบวนการทำงานในองค์กร เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 56.0% 
ภาคอุตสาหกรรมคาดหวังให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเรื่องใดภายใน 1 ปี เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (Multiple choices)

ดูแลปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนการผลิตทั้งระบบ เช่น ราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบ โลจิสติกส์ ฯลฯ 78.8% 
ปฏิรูปกฎหมายกฎระเบียบ เพื่อส่งเสริม Ease of Doing Business  และการเติบโตทางเศรษฐกิจ 67.2%
พัฒนาระบบและมาตรการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุมัติอนุญาต 62.4%
ส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าบริการ และกระบวนการผลิตรวมทั้งจูงใจให้เกิดการลงทุนด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย 61.2%
ส่งเสริมการยกระดับผลิตภาพแรงงาน และพัฒนากำลังคน รองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 58.0%

ที่มาของข่าว: ฐานเศรษฐกิจ
ศุลกากรจีนโต้ผลผลิตล้น ดันส่งออกทะลัก
    หวัง หลิงจวิน รองหัวหน้าสำนักงานศุลกากรจีน กล่าวในการแถลงข่าววันนี้ (13 ม.ค.) ว่า คำกล่าวอ้างที่ว่า ...
  15/01/2025

KTB คาด GDP ปี 68 โต 2.7% จับตา 5 ประเด็นสำคัญ จุดพลิกผันเศรษฐกิจไทย
    นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Cheif Economist ธนาคารกรุงไทย [KTB] กล่าวว่า ...
  15/01/2025

FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนเข้าเกณฑ์ “ซบเซา” กังวลความขัดแย้งระหว่างประเทศ-นำเข้าส่งออก
    นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO ...
  15/01/2025

บาซูก้าไม่เห็นผล! เศรษฐกิจจีนจม 'เงินฝืด' ดัชนี CPI วูบหนักใกล้แตะ 0%
    จีนเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นแค่ 0.1% ชะลอตัวลง 4 ...
  14/01/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% พร้อมรับมือโลกผันผวนในยุค 'ทรัมป์' - 14/01/2025
รมว.คลัง ‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% รับอานิสงส์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ พร้อมรับมือเศรษฐกิจโลกผันผวนท่ามกลางสงครามการค้าในยุค ‘ทรัมป์’
ยุทธศาสตร์สามเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย: เครื่องยนต์ตัวใหญ่ ตัวใหม่ และตัวเล็ก - 13/01/2025
เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตช้าลงจากราว 8% ต่อปี ในช่วงปี 2523-2532 มาอยู่ราว 4% หลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 จนถดถอยมาอยู่ที่ต่ำกว่า 3% ในช่วงสิบปีให้หลังนี้ การเติบโตที่ต่ำมากนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอัดฉีดเงินการคลังเพิ่มได้มากนัก เพราะไทยขาดดุลการคลังต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 18 ปีแล้ว ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสูงขึ้นจนอยู่ที่มากกว่า 60% ของจีดีพี มากไปกว่านั้น หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของจีดีพีสะท้อนถึงขีดจำกัดที่จะสร้างการเติบโตด้วยการกระตุ้นบริโภคเช่นกัน
ส่งออกไทยป่วน จ่อสูญ 1.3 แสนล้าน “ทรัมป์” ขึ้นภาษี ร่วม BRICS เสี่ยงถูกตอบโต้ - 13/01/2025
ส่งออกไทยปี 68 ส่อหืดจับ ลุ้นระทึกเป้าโต 3% เอกชน-นักวิชาการเป่าปากปัจจัยเสี่ยงอื้อ ทั้ง “ทรัมป์ 2.0” สินค้าไทย-สินค้าโลกจ่อถูกสหรัฐขึ้นภาษี ชี้เก็บเพิ่ม 10% สูญ 1.3 แสนล้าน ขณะสินค้าจีนถูกบีบ ทะลักขายแข่งแย่งตลาดทั่วโลก ไทยร่วมกลุ่ม BRICS เสี่ยงส่งออกไปสหรัฐได้ลดลง
จับตาศก.ไทยปี 68 โตชะลอ แรงหนุนส่งออก-ท่องเที่ยวแผ่ว สงครามการค้าเริ่มส่งผล - 13/01/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 จะเติบโตช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อย ตามแรงหนุนท่องเที่ยว ส่งออกที่ลดลง ท่ามกลางความเสี่ยงสงครามการค้า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน และภาคการผลิตไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยแรงส่งจากภาคท่องเที่ยวต่อ GDP เริ่มลดลง หลังจำนวนเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต - 09/01/2025
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย. - 09/01/2025
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย.
เศรษฐกิจไทยครึ่งหลัง ‘เสี่ยงสูง’ แบงก์ชาติห่วงลดดอกเบี้ยก่อนเสี่ยงเสียกระสุน มองคงไว้ ‘ดีกว่า’ - 07/01/2025
เศรษฐกิจไทยครึ่งหลัง ‘เสี่ยงสูง’ แบงก์ชาติห่วงลดดอกเบี้ยก่อนเสี่ยงเสียกระสุน มองคงไว้ ‘ดีกว่า’
สื่อตีข่าว "ทรัมป์" เปลี่ยนใจ ยอมผ่อนนโยบายตั้งกำแพงภาษีนำเข้า - 07/01/2025
สื่อตีข่าว "ทรัมป์" เปลี่ยนใจ ยอมผ่อนนโยบายตั้งกำแพงภาษีนำเข้า
คาดความต้องการชิปทั่วโลกโต 11.2% สู่ระดับ 6.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 68 - 06/01/2025
คาดความต้องการชิปทั่วโลกโต 11.2% สู่ระดับ 6.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 68
ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเยอรมนีหดตัวแรงในธ.ค. - 03/01/2025
ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเยอรมนีหดตัวแรงในธ.ค.
เกาหลีใต้ส่งออกทะยานทำสถิติใหม่ในปี 2567 รับดีมานด์เซมิคอนดักเตอร์ - 02/01/2025
เกาหลีใต้ส่งออกทะยานทำสถิติใหม่ในปี 2567 รับดีมานด์เซมิคอนดักเตอร์
เช็ก 13 ตลาดส่งออกสำคัญของไทย สหรัฐฯ - จีน- ยุโรป โตแรง - 26/12/2024
สนค. เผย 13 ตลาดส่งออกสำคัญของไทยสหรัฐฯ - จีน- ยุโรป ขยายตัวต่อเนื่อง ชี้ส่งออกปี 68 เผชิญความท้าทายจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวคาดว่าจะขยายตัว 2-3%
จีนสู้ศึกภาษีทรัมป์ 2.0 เตรียมออกพันธบัตรพิเศษ 4.11 แสนล้านดอลลาร์ปีหน้า - 25/12/2024
จีนเตรียมออกพันธบัตรพิเศษมูลค่า 4.11 แสนล้านดอลลาร์ปีหน้า หวังฟื้นเศรษฐกิจสู้ภัยศึกภาษีจากสหรัฐของทรัมป์ 2.0
ส่งออกไทยแรงดีไม่มีตก พ.ย. 67 โต 8.2% ทั้งปีมั่นใจแตะ 5.2% - 25/12/2024
สนค.เผยการส่งออกไทยเดือน พ.ย. 2567 โต 8.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 รับแรงหนุนจากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีเติบโต มั่นใจทั้งปี 2567 ส่งออกจะได้ 5.2% ทำนิวไฮการส่งออกครั้งที่ 2
ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ - 15/08/2024
ไม่เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว ปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทุบซ้ำ
PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% รับอานิสงส์ยอดขายเพิ่ม-ต้นทุนลด - 15/08/2024
PIMO-ไพโม่ ประกาศผลงานไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 33.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.55% รับอานิสงส์ยอดขายเพิ่ม-ต้นทุนลด
อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ตามหลักเกณฑ์การประเมิน ของ รสก. ประจำปี 67 - 15/08/2024
อ.อ.ป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปรับปรุงกระบวนการนวัตกรรม และทบทวนยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม" ตามหลักเกณฑ์การประเมิน ของ รสก. ประจำปี 67
บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง - 15/08/2024
บริษัทเหล็กยักษ์ใหญ่เตือนอุตสาหกรรมเหล็กจีนเสี่ยงเผชิญวิกฤตรุนแรง
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ - 15/08/2024
โคเน่ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง เพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม เป็นกรรมการผู้จัดการ
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย - 15/08/2024
ส.อ.ท. ตอกย้ำความสำเร็จ 1 ปี โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” หนุนเงินกว่า 360 ล้าน ยกระดับสตาร์ทอัพไทย
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 131 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2606 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.