สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ดัชนี MPI ธ.ค.66 หดวูบ 6.27% ผลจากดีมานด์รถยนต์-ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอ
  01/02/2024
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 87.76 หดตัว 6.27% (YOY) ขณะที่ในปี 66 ดัชนี MPI อยู่ที่ระดับ 93.05 ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยทั้งปี หดตัว 5.11% เหตุจากเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) เดือนธ.ค. 66 อยู่ที่ 55.25% และทั้งปี 66 เฉลี่ยอยู่ที่ 59.06%
นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวว่า ดัชนี MPI เดือนธ.ค. หดตัวจากปัจจัยสำคัญ ดังนี้

การผลิตยานยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 5 โดยมาจากการหดตัวภายในประเทศเป็นหลัก
หนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินและภาระหนี้ของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
การปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 66 และ 67 ลดลงจากปัจจัยกดดันเกี่ยวกับความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเลือกตั้งผู้นำของคู่ค้าสำคัญ ทั้งไต้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ความผันผวนการเงินโลก และเศรษฐกิจจีนที่จะส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยวของไทยในปี 66 ที่ภาพรวมเป็นไปตามเป้าหมาย แต่นักท่องเที่ยวจีนยังมาน้อยกว่าที่คาดการณ์
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 โดยในเดือนธ.ค. มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 4.95% เมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก มีดังนี้

1. การกลั่นน้ำมัน จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน และก๊าซหุงต้มเป็นหลัก ตอบสนองการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงปีก่อนโรงกลั่นเริ่มกลับมาผลิตได้ปกติ หลังหยุดซ่อมบำรุงในช่วงก่อนหน้า

2. สายไฟฟ้า ตามการขยายตัวของตลาดในประเทศ หลังได้รับคำสั่งซื้อต่อเนื่องจากหน่วยงานการไฟฟ้าของรัฐ และความต้องการใช้ในภาคเอกชนขยายตัว

3. กระดาษคราฟท์ และเยื่อกระดาษ ตามความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์และการขนส่งสินค้า ประกอบกับราคาเยื่อกระดาษปรับลดลงจากปีก่อน ทำให้มีการเพิ่มคำสั่งซื้อมากขึ้น

ส่วนอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลลบ ได้แก่

1. รถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล โดยหดตัวจากตลาดในประเทศ (-30.66%) ตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวภายในประเทศ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อมากขึ้น ประกอบกับราคารถยนต์มือสองปรับตัวลดลงต่อเนื่อง กระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่

2. น้ำตาล จากการเปิดหีบช้ากว่าปีก่อน 10 วัน รวมถึงมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตัดอ้อย บางโรงงานจึงเลื่อนการเปิดหีบออกไป ส่งผลต่อปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานน้อยกว่าปีก่อน

3. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จาก Integrated circuits (IC) และ PCBA เป็นไปตามทิศทางความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

ขณะที่อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวกต่อดัชนี MPI ทั้งปี 66 ได้แก่ อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน, น้ำตาล และสายไฟ ส่วนอุตสาหกรรมที่ส่งผลลบ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง, ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และเฟอร์นิเจอร์

ทั้งนี้ สศอ. ยังคงคาดการณ์ดัชนี MPI และ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 67 ว่าจะขยายตัวที่ 2-3% ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่รวมมาตรการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาล

*เดือนม.ค. 67 สัญญาณเฝ้าระวัง จับตาปัจจัยหลายด้าน

สำหรับระบบการเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมของไทยเดือนม.ค. 67 "ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง" โดยเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวจากปัจจัยภายในประเทศ จากดัชนีปริมาณสินค้านำเข้าของไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยในประเทศส่งสัญญาณเฝ้าระวังเป็นส่วนใหญ่ ทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ส่งสัญญาณเฝ้าระวังลดลง การลงทุนภาคเอกชนของไทยยังคงทรงตัว และความเชื่อมั่นทางธุรกิจของไทยปรับเพิ่มเล็กน้อย

ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ส่งสัญญาณเฝ้าระวังต่อเนื่อง และมีความไม่แน่นอนสูงจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งผู้นำของคู่ค้าสำคัญทั้ง อินโดนีเซีย อินเดีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงความผันผวนการเงินโลก และเศรษฐกิจจีนที่จะส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยว

*ความสามารถการแข่งขันของไทยเริ่มมีปัญหาเทียบอาเซียน

นางวรวรรณ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของไทย กับประเทศในอาเซียน พบว่า สินค้าที่ไทยมีศักยภาพ คือสินค้าเกษตรหรืออุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้น (มูลค่าไม่สูง) และสินค้าที่ได้อานิสงส์จากฐานการผลิตในไทยที่มาจากการลงทุนในอดีต ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการโลกในปัจจุบัน

ขณะที่ประเทศเวียดนามและมาเลเซีย มีส่วนแบ่งในตลาดโลกในสินค้าที่โลกมีความต้องการมาก โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ขณะที่ฟิลิปปินส์ มีศักยภาพในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับไทย ส่วนอินโดนีเซีย มีศักยภาพในกลุ่มน้ำมันปาล์ม ยาง เหล็ก โลหะอื่นๆ (นิกเกิล) และรถยนต์นั่ง โดยในรถยนต์นั่ง มีส่วนแบ่งในตลาดโลกใกล้เคียงกับไทย แต่เนื่องจากไทยมีความสามารถในการแข่งขันในรถยนต์นั่งลดลง ทำให้มีโอกาสเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งได้

ดังนั้น เพื่อยกระดับการส่งออกของสินค้าไทย ควรมุ่งเน้นไปที่สินค้าที่โลกมีความต้องการบนพื้นฐานของศักยภาพที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม มากกว่าการส่งออกสินค้าพื้นฐาน หรือแปรรูปขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าน้อย

"สินค้าที่โลกต้องการ ไทยผลิตและส่งออกได้น้อย โครงสร้างภาคอุตสาหกรรมของไทยแข่งขันไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการปรับโครงสร้างการผลิตของไทย ด้วยเศรษฐกิจนำอุตสาหกรรม" นางวรวรรณ กล่าว

ที่มาของข่าว: RYT9
จีนประกาศแผนลดกำลังการผลิตเหล็ก หวังปรับโครงสร้าง-ลดความตึงเครียดการค้าโลก
    จีนเตรียมปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่ผ่านการลดกำลังการผลิต ...
  07/03/2025

‘พาณิชย์’ หารืออาร์เจนตินา มุ่งจัดทำ FTA ขยายโอกาสทางการค้า-การลงทุน ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
    ‘พาณิชย์’ หารืออาร์เจนตินา มุ่งจัดทำ FTA ขยายโอกาสทางการค้า-การลงทุน ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
  04/03/2025

นายกฯ หารือคลังติดตามคืบหน้ามาตรการกระตุ้นศก. เตรียมจัดทำแผนใน 2 สัปดาห์
    นายกฯ หารือคลังติดตามคืบหน้ามาตรการกระตุ้นศก. เตรียมจัดทำแผนใน 2 สัปดาห์
  04/03/2025

สศอ. แถลงข่าว ”ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2568“
    สศอ. แถลงข่าว ”ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2568“
  03/03/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
คลัง จ่อทำ Master Plan มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เข็น GDP ปีนี้โตเกิน 3% - 28/02/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวในการประชุมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.), ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่า เป็นการหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2568 ซึ่ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการว่าต้องการเห็นเป้าหมายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ของรัฐบาลในเชิงรุก ที่ 3-3.5% ดังนั้นจึงต้องมาพิจารณาว่าจะดำเนินการในเรื่องใดได้บ้างเพื่อสนับสนุนการเติบโตให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย
นายกฯ สั่งเร่งทุกกระทรวงทำแผนกระตุ้น GDP ไตรมาส 1/68 ต้องโตไม่น้อยกว่า 3.2% - 26/02/2025
นายกฯ สั่งเร่งทุกกระทรวงทำแผนกระตุ้น GDP ไตรมาส 1/68 ต้องโตไม่น้อยกว่า 3.2%
สศอ.ประเมิน 5 อุตสาหกรรมเด่นปี 68 โตตามปัจจัยหนุนรอบด้าน - 10/02/2025
สศอ.ประเมิน 5 อุตสาหกรรมเด่นปี 68 โตตามปัจจัยหนุนรอบด้าน
ปลุกพลัง SMEs! ก.อุตฯ อัดฉีด 20 ลบ. ผ่าน 4 โครงการเด็ด เสริมแกร่ง รับเศรษฐกิจยุคใหม่ - 07/02/2025
ปลุกพลัง SMEs! ก.อุตฯ อัดฉีด 20 ลบ. ผ่าน 4 โครงการเด็ด เสริมแกร่ง รับเศรษฐกิจยุคใหม่
"พิชัย“ เตรียมบินสหรัฐฯ ร่วมงาน NPB 2025 วันที่ 4-8 ก.พ.นี้ พบปะผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั่วโลก เจรจาเชิงรุก สร้างโอกาสการค้าไทย - 06/02/2025
"พิชัย“ เตรียมบินสหรัฐฯ ร่วมงาน NPB 2025 วันที่ 4-8 ก.พ.นี้ พบปะผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั่วโลก เจรจาเชิงรุก สร้างโอกาสการค้าไทย
กกร. มองศก.ไทยปี 68 โตจำกัด สงครามการค้ารอบใหม่-บาทแข็ง กดดันส่งออก - 06/02/2025
ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวจำกัด เนื่องจากการกีดกันทางการค้าที่รุนแรง และทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จะเป็นความท้าทายต่อการส่งออกของไทย ส่วนภาคอุตสาหกรรมบางสาขา เผชิญการแข่งขันจากสินค้าจากต่างประเทศ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ
ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย ธ.ค.67 ชะลอลงตามการส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้ท่องเที่ยวฟื้น - 03/02/2025
ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย ธ.ค.67 ชะลอลงตามการส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้ท่องเที่ยวฟื้น
ส.อ.ท. วางเป้ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้ 1.5 ล้านคัน หลังปี 67 พลาดเป้า - 29/01/2025
ส.อ.ท. วางเป้ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้ 1.5 ล้านคัน หลังปี 67 พลาดเป้า
ชาวไร่อ้อย-โรงน้ำตาล ช่วยลด PM2.5 ทุบสถิติอ้อยเผาต่ำสุดในประวัติศาสตร์ - 28/01/2025
ชาวไร่อ้อย-โรงน้ำตาล ช่วยลด PM2.5 ทุบสถิติอ้อยเผาต่ำสุดในประวัติศาสตร์
ส่อง 18 อุตสาหกรรมไทยปี 68 แนวโน้มโตต่อเนื่อง ห่วงนโยบาย "ทรัมป์" เขย่าเศรษฐกิจ - 27/01/2025
ส่อง 18 อุตสาหกรรมไทยปี 68 แนวโน้มโตต่อเนื่อง ห่วงนโยบาย "ทรัมป์" เขย่าเศรษฐกิจ
ศุลกากรจีนโต้ผลผลิตล้น ดันส่งออกทะลัก - 15/01/2025
หวัง หลิงจวิน รองหัวหน้าสำนักงานศุลกากรจีน กล่าวในการแถลงข่าววันนี้ (13 ม.ค.) ว่า คำกล่าวอ้างที่ว่า จีนมีกำลังการผลิตล้นเกินจนต้องระบายส่งออกสินค้านั้น เป็นการหลอกลวงให้เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง
KTB คาด GDP ปี 68 โต 2.7% จับตา 5 ประเด็นสำคัญ จุดพลิกผันเศรษฐกิจไทย - 15/01/2025
นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Cheif Economist ธนาคารกรุงไทย [KTB] กล่าวว่า Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 68 ว่าจะขยายตัวได้ 2.7% โดยที่ยังคงมีแรงกดดันจากประเด็นสงครามการค้าที่กลับมาเร่งตัวขึ้น และความไม่แน่นอนของทิศทางเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกปีนี้ อาจขยายตัวเพียง 2% ชะลอลงจากปีก่อน แม้ว่าในครึ่งปีแรก คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี แต่ความชัดเจนของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ จะกลับมากดดันการส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบกับปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการส่งออกสินค้า ที่ยังอยู่ท่ามกลางการตีตลาดที่รุนแรง และขยายวงมากขึ้นจากปัจจัย Oversupply ในจีน
FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนเข้าเกณฑ์ “ซบเซา” กังวลความขัดแย้งระหว่างประเทศ-นำเข้าส่งออก - 15/01/2025
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนธ.ค.67 (สำรวจระหว่างวันที่ 18-31 ธ.ค.67) พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับลงมาอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” ที่ระดับ 78.52
บาซูก้าไม่เห็นผล! เศรษฐกิจจีนจม 'เงินฝืด' ดัชนี CPI วูบหนักใกล้แตะ 0% - 14/01/2025
จีนเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นแค่ 0.1% ชะลอตัวลง 4 เดือนติดต่อกันแม้ได้มาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลแล้ว ทำเศรษฐกิจเสี่ยงติดหล่ม "ภาวะเงินฝืด"
‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% พร้อมรับมือโลกผันผวนในยุค 'ทรัมป์' - 14/01/2025
รมว.คลัง ‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% รับอานิสงส์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ พร้อมรับมือเศรษฐกิจโลกผันผวนท่ามกลางสงครามการค้าในยุค ‘ทรัมป์’
ยุทธศาสตร์สามเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย: เครื่องยนต์ตัวใหญ่ ตัวใหม่ และตัวเล็ก - 13/01/2025
เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตช้าลงจากราว 8% ต่อปี ในช่วงปี 2523-2532 มาอยู่ราว 4% หลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 จนถดถอยมาอยู่ที่ต่ำกว่า 3% ในช่วงสิบปีให้หลังนี้ การเติบโตที่ต่ำมากนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอัดฉีดเงินการคลังเพิ่มได้มากนัก เพราะไทยขาดดุลการคลังต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 18 ปีแล้ว ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสูงขึ้นจนอยู่ที่มากกว่า 60% ของจีดีพี มากไปกว่านั้น หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของจีดีพีสะท้อนถึงขีดจำกัดที่จะสร้างการเติบโตด้วยการกระตุ้นบริโภคเช่นกัน
ส่งออกไทยป่วน จ่อสูญ 1.3 แสนล้าน “ทรัมป์” ขึ้นภาษี ร่วม BRICS เสี่ยงถูกตอบโต้ - 13/01/2025
ส่งออกไทยปี 68 ส่อหืดจับ ลุ้นระทึกเป้าโต 3% เอกชน-นักวิชาการเป่าปากปัจจัยเสี่ยงอื้อ ทั้ง “ทรัมป์ 2.0” สินค้าไทย-สินค้าโลกจ่อถูกสหรัฐขึ้นภาษี ชี้เก็บเพิ่ม 10% สูญ 1.3 แสนล้าน ขณะสินค้าจีนถูกบีบ ทะลักขายแข่งแย่งตลาดทั่วโลก ไทยร่วมกลุ่ม BRICS เสี่ยงส่งออกไปสหรัฐได้ลดลง
จับตาศก.ไทยปี 68 โตชะลอ แรงหนุนส่งออก-ท่องเที่ยวแผ่ว สงครามการค้าเริ่มส่งผล - 13/01/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 จะเติบโตช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อย ตามแรงหนุนท่องเที่ยว ส่งออกที่ลดลง ท่ามกลางความเสี่ยงสงครามการค้า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน และภาคการผลิตไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยแรงส่งจากภาคท่องเที่ยวต่อ GDP เริ่มลดลง หลังจำนวนเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต - 09/01/2025
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย. - 09/01/2025
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย.
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 131 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2620 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.