สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

สอวช.ตั้งเป้าผลิตนักสร้างสรรค์ดิจิทัล 5 พันราย สร้างโอกาสขับเคลื่อนศก.สร้างสรรค์
  23/04/2023
นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในปี 2564 อุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยสร้างรายได้กว่า 322,261.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51% จากปี 2563 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มาจากทุนทางวัฒนธรรมมีมูลค่ารวม 815,320 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการสินค้าและบริการแบบใหม่ๆ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของสินค้าจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย มาพัฒนาร่วมกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ ประกอบด้วย Games Animation Films และ Digital Arts ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและมีแนวโน้ม การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากในปัจจุบัน ในปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 42,000 ล้านบาท และมีอัตราขยายตัวมากกว่า 7% ต่อปีและคาดการณ์ว่าปี 2567 จะมีมูลค่าถึง 62,000 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มในการเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้

สอวช.เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ ผ่านกลไกสำคัญต่างๆ อาทิ การพัฒนาบุคลากรสมรรถนะสูงเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ การส่งเสริมให้เกิดศูนย์ผลิตสื่อสร้างสรรค์ Studio หรือ Multimedia Park ระดับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนการทำงานอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ของประเทศ การพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสืบสานองค์ความรู้รากฐาน ศิลปะและวัฒนธรรมไทย

สำหรับแนวคิดและเป้าหมายเขตนวัตกรรมวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์นั้น ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) โดยเชื่อมโยงกับภาคการศึกษา และการพัฒนาสตาร์ทอัพ Incubation & Accelerator ส่วนเป้าหมายใน 5 ปีนั้น ตั้งเป้าให้ไทยจะเป็นฐานการผลิต และบริการที่สำคัญของอุตสาหกรรม Digital & Creative Content ในภูมิภาคเอเชีย สร้างมูลค่าเพิ่ม 500,000 ล้านบาท ภายในปี 2570 และไทยจะอยู่ใน 20 อันดับแรกของ Global Soft Power index สามารถสร้างนักสร้างสรรค์ดิจิทัลได้ 5,000 ราย

ความท้าทายที่สำคัญของธุรกิจ Cultural & Creative Content คือ การพัฒนากำลังคน เนื่องจากปัจจุบันหลักสูตรที่เปิดสอนส่วนมากยังเป็นหลักสูตรเก่า ขาดการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ผู้จบการศึกษามีทักษะความสามารถไม่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ อีกทั้งผู้ประกอบการเองก็ยังขาดความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ มีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนและความสามารถทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และที่สำคัญ ขาดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้แสดงผลงานสร้างสรรค์ และต่อยอดทางธุรกิจ

ทั้งนี้ จากการศึกษาของ สอวช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยยังมีปัญหาสำคัญ คือ

1.นิเวศทางศิลปกรรมของประเทศไทยในปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่ไม่ชัดเจน ระบบกลไกไม่เกิดการไหลเวียนเป็นวงจรเดียวกันทั้งหมด

2.ขาดแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บางประเภท ได้แก่ ดิจิทัลอาร์ตและเทคโนโลยีที่ถือเป็นองค์ประกอบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่สำคัญกับโลกอนาคต

3.แผนงานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปัจจุบันยังคงติดกับดักการให้มิติทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยึดอยู่กับประเด็นเรื่องของการท่องเที่ยว นำมาสู่การมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์อยู่ในรูปแบบเชิงท่องเที่ยวทั้งหมด ทำให้ไม่พบแผนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

4.ขาดกลไกการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทำให้แนวทางการออกแบบและส่งเสริมงานวิจัยมีลักษณะที่คล้ายคลึง ตลอดจนบางแผนงานเกิดความซ้ำซ้อน

5.รูปแบบการเก็บข้อมูลภาคอุตสาหกรรมและการวิจัยมีลักษณะเป็นการเก็บเชิงปริมาณทั้งหมด ทั้งนี้ ยังขาดมิติของข้อมูลเชิงลึกและเชิงกว้างในการนำมาต่อยอดและพัฒนากรอบการออกแบบงานวิจัยในอนาคต

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้องวางแผนว่าจะทำอะไรให้ชัดเจน และต้องจำแนกว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ และอะไรสามารถต่อยอดมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งอาจนอกเหนือจากความคาดหมาย เช่น ที่เชียงใหม่ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเหมาะกับการทำเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มากที่สุด หรือในพื้นที่เกาะพะงัน จังหวัดกระบี่ จังหวัดเชียงรายที่เป็นเมืองศิลปิน จะพัฒนาส่งเสริมอย่างไร ในส่วนกลางกรุงเทพมหานครอาจจะทำได้เช่นกันแต่อาจจะช้ากว่า เป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนักตามความเหมาะสม

ที่มาของข่าว: RYT9
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.