ผู้ประกอบการ

คลังเผยก.ค. เศรษฐกิจภูมิภาคขยายตัวดีเกือบทุกภาค รับอุปสงค์-อุปทานในปท.ฟื้น
  29/08/2022
นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการเศรษฐกิจ) สูง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ และภาคตะวันออกที่ขยายตัวได้ดีทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน
เศรษฐกิจภาคใต้
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัว 16.2% ต่อปี แต่ชะลอตัว -2.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 33.0% และ 25.0% ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอตัว -6.3% และ -2.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ขณะที่รายได้เกษตรขยายตัว 31.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -13.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 8.3% ต่อปี แต่ชะลอตัว -15.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ขยายตัว 132.8% ต่อปี ด้วยเงินทุน 0.9 พันล้านบาท จากโรงงานฆ่า ชำแหละ ตัดแต่ง แปรรูปสุกรและทำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปในจังหวัดกระบี่เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน ขยายตัว 2,685.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -1.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวม ขยายตัว 1,434.5% แต่ชะลอตัว -0.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 38.6 และ 82.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 37.9 และ 80.4 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออก
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัว 34.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -7.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 27.9% และ 18.5% ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอตัว -4.2% และ -10.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ รายได้เกษตรกรชะลอตัว

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 2.8% ต่อปี แต่ชะลอตัว -16.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกันกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 7.3% ต่อปี แต่ชะลอตัว -12.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน ขยายตัว 2,118.6% ต่อปี แต่ชะลอตัว -4.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวม ขยายตัว 2,773.5% นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 106.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 44.5 และ 102.9 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันตก
ได้รับได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัว 53.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -0.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 8.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -9.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัว 19.0% ต่อปี สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว เช่นเดียวกันกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวเช่นกัน ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน ขยายตัว 3,519.2% ต่อปี แต่ชะลอตัว -11.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวม ขยายตัว 3,728.1% แต่ชะลอตัว -14.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.6 และ 91.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 40.8 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคกลาง
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัว -13.3% ต่อปี แต่ขยายตัว 2.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 7.9 ต่อปี แต่ชะลอตัว -14.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 28.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -4.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัว 18.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -6.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัว 286.8% ต่อปี ด้วยเงินทุน 2.6 พันล้านบาท จากโรงงานโรงงานผลิตนมข้น นมระเหย นมสดสเตอริไรส์ นมยูเอสที เครื่องดื่มยูเอชที นมถั่ว ในจังหวัดสระบุรี เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 3,773.5% ต่อปี แต่ชะลอตัว -25.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 4,481.4% แต่ชะลอตัว -3.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.6 และ 91.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 40.8 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัว จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 66.6% ต่อปี แต่ชะลอตัว -17.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 42.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -7.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัว 18.1% ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 40.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -9.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 5.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -6.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 2,197.6% ต่อปี แต่ชะลอตัว -10.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 4,501.0% แต่ชะลอตัว -7.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40.7 และ 91.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 39.8 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคเหนือ
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัว -3.5% ต่อปี แต่ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ 6.6% ต่อปี แต่ชะลอตัว -17.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว รายได้เกษตรกรขยายตัว 39.1% ต่อปี แต่ชะลอตัว -18.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวเช่นกัน ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัว 34.0% ต่อปี ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 986.7% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัว 1,391.1% แต่ชะลอตัว -0.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 69.1 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 44.7 และ 66.1 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัว -2.8% ต่อปี แต่ขยายตัว 5.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 5.2% ต่อปี แต่ชะลอตัว -10.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัว 31.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -13.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 1,348.5% ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวม ขยายตัว 2,206.4% แต่ชะลอตัว -1.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.5 และ 82.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 45.9 และ 80.6 ตามลำดับ

ที่มาของข่าว: RYT9
กำไรภาคอุตสาหกรรมจีนเดือนมิ.ย.ลดลง 8.3%,ครึ่งปีแรกลด 16.8%
    กำไรภาคอุตสาหกรรมจีนเดือนมิ.ย.ลดลง 8.3%,ครึ่งปีแรกลด 16.8%
  30/07/2023

สงครามรัสเซีย–ยูเครนลุกลามกระทบอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไทย
    สงครามรัสเซีย–ยูเครนลุกลามกระทบอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไทย
  30/07/2023

จีนส่งสัญญาณฟื้นฟูภาคอสังหาฯ สร้างเสถียรภาพจ้างงาน แก้ปัญหาหนี้รบ.ท้องถิ่น
    ที่ประชุมคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (โปลิตบูโร) ซึ่งนำโดยประธานาธิบดีสี ...
  30/07/2023

ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม มิ.ย. เพิ่มครั้งแรกรอบ 3 เดือน
    ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม มิ.ย. เพิ่มครั้งแรกรอบ 3 เดือน
  30/07/2023


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
รองนายกฯจีนเจรจารมว.เศรษฐกิจฝรั่งเศส ลั่นส่งเสริมความร่วมมือ - 30/07/2023
รองนายกฯจีนเจรจารมว.เศรษฐกิจฝรั่งเศส ลั่นส่งเสริมความร่วมมือ
COP28 : 4 เรื่องที่น่าจับตา ก่อนการประชุมปลายปี 2023 - 26/07/2023
การประชุม COP28 ล่าสุด ประธาน COP28 เปิดเผยแผนสำหรับการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ เเละจนถึงตอนนี้มี 4 เรื่องที่น่าจับตา ก่อนการประชุมปลายปี 2023
“อาเซียน”เร่งตามงานด้านเศรษฐกิจก่อนชงรัฐมนตรีฯเคาะ ส.ค.นี้ - 26/07/2023
"อาเซียน"เร่งติดตามผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจเห็นชอบยุทธศาสตร์ความเป็นกลางทางคาร์บอนก่อนชงรัฐมนตรีเศรษฐกิจเคาะส.ค.นี้ พร้อมเตรียมประชุมกับคู่เจรจา ทั้ง ออสเตรเลีย จีน สหรัฐฯ
กนง.-กนส.จับตาปัญหาผิดนัดชำระหนี้ครัวเรือน-ตราสารหนี้ - 25/07/2023
กนง.-กนส.จับตาปัญหาผิดนัดชำระหนี้ครัวเรือน-ตราสารหนี้
ครั้งแรก! เปิดเมืองไทเป ให้รู้จักในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีที่สุด ในงานไต้หวัน เอ็กซ์โป 2023 - 25/07/2023
ครั้งแรก! เปิดเมืองไทเป ให้รู้จักในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีที่สุด ในงานไต้หวัน เอ็กซ์โป 2023
ส.อ.ท.แนะภาครัฐคุมต้นทุนแก้ค่าครองชีพสูง แทนหนุนขึ้นค่าแรง - 25/07/2023
ส.อ.ท.แนะภาครัฐคุมต้นทุนแก้ค่าครองชีพสูง แทนหนุนขึ้นค่าแรง
ส.อ.ท. แนะรัฐเร่งวางมาตรการเตรียมพร้อมรับมือ "เอลนีโญ" - 25/07/2023
ส.อ.ท. แนะรัฐเร่งวางมาตรการเตรียมพร้อมรับมือ "เอลนีโญ"
ส่งออกหด 23 อุตฯลดผลิต จับตา "ถุงมือยาง" ถึงขั้นปิดโรงงาน - 24/07/2023
ส่งออกทรุด ออร์เดอร์หาย 23 กลุ่มอุตฯ ลดผลิต เลิกโอที รอลุ้นคำสั่งซื้อส่งมอบไตรมาสสุดท้ายขายไฮซีซั่น ช่วยกู้สถานการณ์ “ถุงมือยาง” ลดกำลังผลิตเหลือ 35-40% ส่อปิดหลายโรง อาหารสัตว์เลี้ยงตกสวรรค์ ติดลบรอบ 3 ปี ทูน่าสะเทือน 2 เด้ง วัตถุดิบขาด-กำลังซื้อหด อัญมณีขอแค่เสมอตัว
จีนขนทัพนักธุรกิจเยือนไทย เปิดประตูโอกาสการค้าการลงทุนไทย-จีน - 24/07/2023
จีนนำทัพนักธุรกิจเยือนไทย เปิดประตูโอกาสการค้าการลงทุนไทย-จีน บี้อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และแปรรูปอาหารหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายภายใต้ยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 ยังเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ ซึ่งเมืองหลิ่วโจวมีความได้เปรียบและโดดเด่น
ส่งออกไทยปี 66 เสี่ยงเหลือ 0% เศรษฐกิจโลกผันผวน กดดันยอดคำสั่งซื้อ - 24/07/2023
เอกชนคาดภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้อาจเหลือ 0% หลังภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวนเสี่ยงถดถอย กดดันกำลังซื้อประเทศคู่ค้า ทำยอดคำสั่งซื้อลด จากนโยบายการเงินที่เข้มข้น
นายกฯ หนุนจัดงาน TRIUP FAIR 2023 ผลักดันนำงานวิจัย-นวัตกรรม พัฒนาศก.ไทย - 17/07/2023
นายกฯ หนุนจัดงาน TRIUP FAIR 2023 ผลักดันนำงานวิจัย-นวัตกรรม พัฒนาศก.ไทย
‘พาณิชย์’ เผยผลเจรจาอัปเกรด FTA อาเซียน – จีน คืบหน้าอย่างมาก มั่นใจปิดดีลภายในปี 67 - 07/07/2023
‘พาณิชย์’ ร่วมประชุมเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ACFTA) รอบ 3 คืบหน้าหลายประเด็น ทั้งแนวทางการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม การเปิดเสรีด้านการลงทุน พร้อมขยายความร่วมมือสาขาใหม่ๆ อาทิ เศรษฐกิจสีเขียว ดิจิทัล MSMEs และการคุ้มครองผู้บริโภค เร่งดันสรุปผลภายในปี 67 มั่นใจ! ช่วยขยายโอกาสและอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ผู้ประกอบการมากขึ้น
"ส.อ.ท." ห่วงภาคการผลิตแย่หลัง"ส่งออก"ร่วงยาว 8 เดือน - 07/07/2023
ส.อ.ท. ห่วงภาคการผลิตแย่หลังส่งออกร่วงยาว 8 เดือน เผยภาพรวมการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าในช่วง ม.ค.-พ.ค. 66 ส่วนใหญ่มีทิศทางหดตัว แม้มีบางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถรักษาระดับการส่งออกได้
กกร.ห่วงเศรษฐกิจโลกยังชะลอฉุดส่งออกไทย - 07/07/2023
เศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังยังชะลอ ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น กกร.ห่วงฉุดส่งออกไทย คาด GDPไทยในปี 2566 โต 3.% ถึง 3.5% ตามกรอบเดิม ส่งออกขยายตัว0ถึง-2% ชี้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลักตัวเดียวในการขับเคลื่อนประเทศ
รัฐ-เอกชน ชูศักยภาพไทยพร้อมรับจีนขยายฐานการลงทุน - 04/07/2023
รัฐ-เอกชน ชูศักยภาพไทยพร้อมรับจีนขยายฐานการลงทุน
ส.อ.ท.ชี้ปัญหาโลกรุม ไทยต้องเร่งเครื่องขีดความสามารถแข่งขัน ดัน BCG จุดแข็งในอนาคต - 04/07/2023
ส.อ.ท.ชี้ปัญหาโลกรุมเร้า ไทยต้องเร่งเครื่องเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน-ดันบีซีจีเป็นจุดแข็งในอนาคต
ส่งออกเดือนพ.ค. ยังติดลบ4.6% ส่งผล 5 เดือนไทยยังติดลบ5.1% - 04/07/2023
ส่งออกเดือนพ.ค. ติดลบ4.6% ส่งผล5เดือนติดลบ5.1% แต่”พาณิชย์”ยังมั่นใจว่าครึ่งปีหลังจะกลับมาเป็นบวก เหตุจากเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวทั้งปีส่งออกไทยโตตามเป้า1.2%
“ไทย”มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่ม 3 อันดับ - 04/07/2023
สนค. แนะเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทุกมิติ ทั้งต่อยอดอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ดึงลงทุน กระจายตลาดส่งออก หลัง IMD จัดอันดับไทยขยับเพิ่ม 3 อันดับ
Manufacturing Expo 2023 ตั้งเป้าดูดผู้เข้าชม 7 หมื่นคน กวาดรายได้ 6 พันล้าน - 03/07/2023
อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ เตรียมพร้อมจัดงานใหญ่ “แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป Manufacturing Expo 2023” ตั้งเป้าคนชมงานปีนี้ไม่ต่ำกว่า 70,000 คน กวาดรายได้ 6,000 ล้านบาท
เวียดนามเนื้อหอม กลุ่มผู้ผลิตต่างชาติแห่ซบหลังลดพึ่งพาจีน - 03/07/2023
เวียดนามเนื้อหอม กลุ่มผู้ผลิตต่างชาติแห่ซบหลังลดพึ่งพาจีน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 122 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2425 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.