สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ความท้าทายและอุปสรรค ในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย
  13/01/2025
ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ในปี ค.ศ. 2065 อย่างไรก็ดีการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้น กำลังเผชิญความท้าทายและอุปสรรค

ในบทความ PIERspectives “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับเศรษฐกิจ : ตอนที่ 2 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” เขียนโดยกรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และ ศ. ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ สะท้อนให้เห็นถึงการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคทั้งทางด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย กฎระเบียบและนโยบายของภาครัฐ และทางด้านสังคม

เมื่อมาพิจารณาความท้าทายและอุปสรรค ทางด้านเศรษฐกิจ จะพบว่า ภาคธุรกิจขาดแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากยังไม่มีการใช้มาตรการกำหนดราคาคาร์บอน (carbon pricing measures) ปัญหา fossil-fuel lock-in การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้เงินลงทุนที่สูงและภาคธุรกิจบางส่วนขาดเงินทุน ราคาของเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในการลด ดักจับ หรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกยังค่อนข้างสูง เป็นต้น

ทั้งนี้ การขาดมาตรการกำหนดราคาคาร์บอน ทำให้ภาคธุรกิจขาดแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าใน (ร่าง) พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีการระบุเกี่ยวกับระบบซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS) และภาษีคาร์บอนไว้ แต่ปัจจุบันเนื่องจาก (ร่าง) พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังไม่มีผลบังคับใช้

ขณะที่ประเทศไทยจึงยังไม่มีกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับ ในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ทางกรมสรรพสามิตจึงแปลงภาษีสรรพสามิตที่เดิมมีการผูกกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่แล้ว เช่น ภาษีนํ้ามัน ให้อยู่ในรูปของภาษีคาร์บอน เพื่อไม่สร้างภาระทางภาษีเพิ่มแก่ประชาชน โดยกำหนดราคากลางที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ ทางกรมสรรพสามิตหวังว่าภาษีคาร์บอนจะช่วยสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ในการคำนึงต้นทุนที่เกิดจากการก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและมีแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ส่วนปัญหา fossil fuel lock-in หรือ carbon lock-in อาจส่งผลทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนตํ่าล่าช้าหรือไม่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาประเภทนี้เกิดจากการที่โครงสร้างพื้นฐานหรือสินทรัพย์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น แท่นขุดเจาะนํ้ามัน โรงกลั่นนํ้ามัน โรงไฟฟ้าถ่านหิน ฯลฯ ยังคงถูกใช้งานอยู่เนื่องจากเป็นโครงการที่มีอายุโครงการค่อนข้างยาว ไม่สามารถหยุดดำเนินการได้ในทันทีถึงแม้ว่าจะมีทางเลือกอื่นที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตํ่ากว่าก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ บางธุรกิจที่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือสินทรัพย์ในลักษณะเช่นนี้อยู่ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ทางเลือกที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงจึงล่าช้าหรือยังไม่เกิดขึ้น จากงานศึกษาของUnruh (2002)และTrencher & Asuka (2020)พบว่าปัญหา carbon lock-in ทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการต่อภาคพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการละเลยเทคโนโลยีทางเลือก การขัดขวางการส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลาง การจำกัดนวัตกรรมด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และการบิดเบือนสภาพเศรษฐกิจ

อีกทั้ง ธุรกิจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก งานศึกษาของ Foda & Vaziri (2022)และ Creagy (2024) พบว่า ธุรกิจที่เผชิญข้อจำกัดทางการเงิน อาจมีแรงจูงใจในการลงทุนน้อยลง โดยเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (fixed assets) ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจมีแรงจูงใจในการลงทุนด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น การผ่อนคลายหรือปลดล็อกข้อจำกัดทางการเงินจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น

จากการประมาณการโดย Creagy (2024)การลงทุนในเทคโนโลยีและแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยตามที่ระบุไว้ใน Nationally Determined Contribution (NDC) ต้องใช้เม็ดเงินสนับสนุนประมาณ 5-7 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะการลงทุนด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและพลังงาน ด้วยเหตุนี้ กลไกการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate finance) จึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง

ขณะเดียวกันต้นทุนเทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ค่อนข้างสูง เป็นอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลทำให้ธุรกิจไม่ลงทุนด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก งานศึกษาของGillingham & Stock (2018)ชี้ให้เห็นว่า มาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะมีต้นทุนที่แตกต่างกัน มาตรการในลักษณะของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จะมีต้นทุนที่ติดลบหรือสามารถช่วยธุรกิจในการประหยัดต้นทุน ในขณะที่มาตรการประเภทการอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ (dedicated-battery electric vehicle subsidies) จะมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง

ขณะที่การใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ในโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมเหล็ก มีต้นทุนส่วนเพิ่มที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจยังไม่จูงใจให้ธุรกิจลงทุนในเทคโนโลยีประเภท CCS ในปัจจุบัน

ที่มาของข่าว: ฐานเศรษฐกิจ
จีนตั้งเป้าเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการพัฒนา "สีเขียว-คาร์บอนต่ำ"
    จู เฮ่อซิน รองผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า ภาคการเงินของจีนจะส่งเสริม “การเงินสีเขียว” ...
  13/01/2025

"ดีพร้อม" เดินหน้าปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" อัพสกิลบุคลากรดีพร้อม ประเมินสถานประกอบการ ต่อยอดธุรกิจไทยอย่างยั่งยืน
    "ดีพร้อม" เดินหน้าปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" อัพสกิลบุคลากรดีพร้อม ...
  13/01/2025

"ถิรไทย คว้ารางวัลระดับประเทศ! ตอกย้ำผู้นำอุตสาหกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน"
    "ถิรไทย คว้ารางวัลระดับประเทศ! ตอกย้ำผู้นำอุตสาหกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน"
  13/01/2025


ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอื่นๆ
“เอกนัฏ” เปิดงานเสวนาประจำปี สศอ. “OIE Forum” ติดอาวุธอุตสาหกรรมไทย ดันดัชนี MPI ขยายตัวปี 2568 - 09/01/2025
“รมว.เอกนัฏ” เปิดและปาฐกถาพิเศษในงานประจำปี สศอ. (OIE Forum) ครั้งที่ 16 “Industrial Reform : ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ชูแนวคิด 3 ปฏิรูป 3 แนวทาง “สู้ เซฟ สร้าง” เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวคิดขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างโอกาส พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขัน ติดอาวุธอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตยั่งยืน
สกพอ.-China energy ร่วมผลักดันลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย-ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวในพื้นที่ EEC - 08/01/2025
สกพอ.-China energy ร่วมผลักดันลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย-ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวในพื้นที่ EEC
8 ม.ค.นี้ พบกับงานยิ่งใหญ่แห่งปีจาก สศอ. "OIE FORUM 2024: Industrial Reform ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่" - 06/01/2025
8 ม.ค.นี้ พบกับงานยิ่งใหญ่แห่งปีจาก สศอ. "OIE FORUM 2024: Industrial Reform ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่"
อ้อยเผาเข้าหีบ 4 ล้านตัน ปล่อย PM 2.5 แล้วกว่า 1,000 ตัน - 06/01/2025
กระทรวงอุตสาหกรรม เปิด 6 รายชื่อโรงงานน้ำตาลในเครือ “มิตรผล – ไทยรุ่งเรือง” งดรับอ้อยถูกเผา พบเข้าหีบแล้วกว่า 4 ล้านตัน เทียบเท่าเผาป่า 4 แสนไร่ ปล่อย PM 2.5 แล้วกว่า 1,000 ตัน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ระดมสมองถกแนวทางพัฒนากำลังคนพื้นที่ Land Bridge - 02/01/2025
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ระดมสมองถกแนวทางพัฒนากำลังคนพื้นที่ Land Bridge
ปตท.สผ. เป็นเจ้าภาพงานประชุมเทคโนโลยีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมของเอเชียแปซิฟิก (APDT) ระดมผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีล้ำสมัย เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมพลังงาน - 08/08/2024
ปตท.สผ. เป็นเจ้าภาพงานประชุมเทคโนโลยีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมของเอเชียแปซิฟิก (APDT) ระดมผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีล้ำสมัย เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมพลังงาน
ซีเอ็นเอช ประเทศไทย ขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยด้วยนวัตกรรมและการศึกษา - 07/08/2024
งาน Media Day ครั้งแรกของซีเอ็นเอช ประเทศไทยที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำความคิดในภาคการเกษตร พูดคุยเกี่ยวกับอนาคตประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางเกษตรกรรม
"ไทยออโตทูลส์ฯ (TATG)" จัดประชุมนักวิเคราะห์ เตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ตอกย้ำผู้นำอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โลหะ อุปกรณ์จับยึด และชิ้นส่วนรถยนต์ - 07/08/2024
"ไทยออโตทูลส์ฯ (TATG)" จัดประชุมนักวิเคราะห์ เตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ตอกย้ำผู้นำอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โลหะ อุปกรณ์จับยึด และชิ้นส่วนรถยนต์
เทรนด์ซัพพลายเชนหนุนอุตสาหกรรมการผลิตไทยโตต่อเนื่อง - 26/07/2024
เทรนด์ซัพพลายเชนหนุนอุตสาหกรรมการผลิตไทยโตต่อเนื่อง
ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยุคใหม่! พบเทคนิคการเจรจาต่อรอง ออกแบบแม่พิมพ์ ลดคาร์บอน และขึ้นรูปชิ้นส่วนอลูมิเนียม พร้อมโปรโมชั่นสุดคุ้มจากกรุ๊ป วิศวภัณฑ์ - 08/07/2024
ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยุคใหม่! พบเทคนิคการเจรจาต่อรอง ออกแบบแม่พิมพ์ ลดคาร์บอน และขึ้นรูปชิ้นส่วนอลูมิเนียม พร้อมโปรโมชั่นสุดคุ้มจากกรุ๊ป วิศวภัณฑ์
เอปสันโชว์สุดยอดนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมในสองงานใหญ่แห่งปี ASSEMBLY & AUTOMATION TECHNOLOGY 2024 และ GFT 2024 - 24/06/2024
เอปสันโชว์สุดยอดนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมในสองงานใหญ่แห่งปี ASSEMBLY & AUTOMATION TECHNOLOGY 2024 และ GFT 2024
วช. เปิดบ้านวันที่หก NRCT Open House 2024 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก - 19/06/2024
วช. เปิดบ้านวันที่หก NRCT Open House 2024 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก
เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง ตั้งศูนย์บ่มเพาะ ชูหุ่นยนต์, รถไฟฟ้า รองรับการเติบโตตลาดแรงงานใน EEC - 12/06/2024
เทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง ตั้งศูนย์บ่มเพาะ ชูหุ่นยนต์, รถไฟฟ้า รองรับการเติบโตตลาดแรงงานใน EEC
เอ็มไออาร์ (MiR) ผู้ผลิตหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติชั้นนำของโลกจับมือ โซนิค ออโตเมชั่น รุกระบบโลจิสติกส์ภายในอัตโนมัติ เจาะอุตสาหกรรมการผลิตในไทย - 11/06/2024
เอ็มไออาร์ (MiR) ผู้ผลิตหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติชั้นนำของโลกจับมือ โซนิค ออโตเมชั่น รุกระบบโลจิสติกส์ภายในอัตโนมัติ เจาะอุตสาหกรรมการผลิตในไทย
จับสัญญาณ! โรงงานผลิตทยอยปิดตัว ภาคอุตสาหกรรมไทยไปทางไหนต่อ - 11/06/2024
จับสัญญาณ! โรงงานผลิตทยอยปิดตัว ภาคอุตสาหกรรมไทยไปทางไหนต่อ
จีนออกแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน-ลดคาร์บอน ปี 2567-2568 - 07/06/2024
จีนออกแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน-ลดคาร์บอน ปี 2567-2568
รมต.พิมพ์ภัทราเร่งเครื่อง ‘ก.อุตสาหกรรม’ เดินหน้าเต็มสูบ มอบนโยบาย ‘รื้อ ลด ปลด สร้าง’หนุนอุตฯ กระตุ้นเศรษฐกิจไทยตอบโจทย์ตลาดโลก คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบประชาชนเป็นสำคัญ - 05/06/2024
รมต.พิมพ์ภัทราเร่งเครื่อง ‘ก.อุตสาหกรรม’ เดินหน้าเต็มสูบ มอบนโยบาย ‘รื้อ ลด ปลด สร้าง’หนุนอุตฯ กระตุ้นเศรษฐกิจไทยตอบโจทย์ตลาดโลก คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบประชาชนเป็นสำคัญ
บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรยักษ์ใหญ่จากไต้หวันโชว์สุดยอดเทคโนโลยี EV & PCB ในงาน INTERMACH & MTA Asia 2024 - 20/05/2024
บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรยักษ์ใหญ่จากไต้หวันโชว์สุดยอดเทคโนโลยี EV & PCB ในงาน INTERMACH & MTA Asia 2024
บี.กริม เพาเวอร์ จับมือ กรีนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) ลงนาม MOU พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เน้นผลิตไฟฟ้าป้อนภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ในพื้นที่ - 15/05/2024
บี.กริม เพาเวอร์ จับมือ กรีนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) ลงนาม MOU พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เน้นผลิตไฟฟ้าป้อนภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ในพื้นที่
กรมโรงงานฯ เร่งออกใบ ร.ง.4 แต่ยังเข้มงวดการอนุญาตโรงงานกำจัดกากของเสีย - 15/05/2024
กรมโรงงานฯ เร่งออกใบ ร.ง.4 แต่ยังเข้มงวดการอนุญาตโรงงานกำจัดกากของเสีย
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 103 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2055 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.