สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

สกสว. ผนึก 4 หน่วยงานพันธมิตร ถกความพร้อม AI ไทย พร้อมหนุนแผนใช้สมรรถนะปัญญาประดิษฐ์ยกเครื่องอุตฯ เป้าหมายและระบบ ววน. ของประเทศ
  08/05/2024
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) ร่วมระดม ความเห็นและวางแนวทางการนำ Generative AI มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จากภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการ ผ่านเวทีเสวนา "การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ" ครั้งที่ 3 โอกาสของ Generative AI ในประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ รวมถึงโจทย์วิจัย ในการปิดช่องว่างสำคัญ และวางแผนการพัฒนาระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการผลักดันอุตสาหกรรม AI ของประเทศ
รศ. ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2566 - 2570 ของประเทศ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมทั้งมีหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย นวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยประเด็นของ Generative AI เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การจัดงานเสวนาครั้งนี้จะทำให้ได้จุดโฟกัส เพื่อนำไปสู่การวางแผนและกำหนดโจทย์วิจัยให้มีความชัดเจน สร้างโอกาสและตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ดร.อธิพงศ์ หิรัญเรืองโชค ผู้อำนวยการยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน สศช. ระบุว่า การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามหมุดหมายที่ 6: ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัลของอาเซียน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหารือแนวทางขับเคลื่อนร่วมกัน เพราะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของประเทศในอนาคต ซึ่งสถานการณ์ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัลศูนย์กลางเทคโนโลยีของอาเซียนนั้น ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิ Semiconductor, Cloud Data Center, Big Data & AI ที่มีความเชื่อมโยงกับการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะในมุมของการส่งออกของไทยที่ยังมีสัดส่วนการส่งออกเทคโนโลยีน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องดึงดูดการลงทุน ดึงดูดผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีต้นน้ำ เพื่อให้ได้เรียนรู้จากเทคโนโลยีเหล่านี้และสร้างมูลค่าเพิ่มจากเทคโนโลยี ทั้งนี้เรื่อง Digital Economy Hub ก็เป็นหนึ่งในหมุดหมายที่รัฐบาลได้ประกาศเป้าหมายไว้ใน Ignite Thailand กับการมุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกอีกด้วย

ขณะที่ ผศ. ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานคณะทำงานบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนา ววน. ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ อธิบายว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศไทย มีรายได้ส่วนใหญ่จาก Digital Service ซึ่งมีมูลค่าไม่สูงถ้าเทียบกับมูลค่าของตลาดโลก ดังนั้น ไทยจะต้องใช้การวิจัยและพัฒนา (Research & Development : R&D) ช่วยยกระดับมูลค่าให้เป็นงานที่มีมูลค่าสูง โดยต้องทำความเข้าใจ Digital Technology และสร้างงานวิจัยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ให้ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชนเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีของคนไทย เพื่อลดการนำเข้า พร้อมทั้งการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้าน Generative AI เช่น Large language Model (LLM) -Thai Improvement, Generative AI in Service Sector, Generative AI for R&D และ Empowering Users by Prompt Engineer

ด้าน คุณศาศวัต นธการกิจกุล Senior Solution Architect, Amazon Web Service (AWS) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า Generative AI คือเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ทั้งด้านการตลาด การสร้างผลผลิตด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การจัดการข้อมูลเชิงลึกและความคิดสร้างสรรค์ของเนื้อหาแนวคิดใหม่ ๆ ทั้งรูปภาพ วิดีโอและเพลง โดย Generative AI เหมือนยอดภูเขาที่ต้องสร้างรากฐานจากหลายองค์ประกอบ โดยเฉพาะกรอบความคิดของผู้ใช้ ทักษะและประสบการณ์ของคน รวมไปถึงกฎระเบียบและการสนับสนุนจากรัฐบาล

การเสวนาในช่วงสุดท้าย "โอกาสและความท้าทายของ Generative AI ในประเทศไทย" ได้รับเกียรติจากดร.วีระ วีระกุล รองประธาน สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) และ CEO บริษัท iAPP Technology จำกัด ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director บริษัท กสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป และ ดร.เอกพล ช่วงสุวนิช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมให้ข้อคิดเห็นโดยสรุปว่า Generative AI เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง มีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น การให้บริการตอบคำถามและให้คำแนะนำต่างๆ (Chatbot), การใช้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ, การใช้ออกแบบการเรียนที่จำเพาะตามความถนัดและความต้องการของแต่ละบุคคล (Individual Person Suggestion) รวมไปถึงอนาคตสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบริการของทางภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งที่ยังเป็นความท้าทายสำหรับประเทศไทย คือ ประเทศไทยยังขาดการเชื่อมโยงของข้อมูล (Data Sharing) ทั้งจากทางภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นหัวใจของการสอน Generative AI ให้เก่งขึ้น รวมไปถึงการพัฒนา Generative AI ที่มีลักษณะจำเพาะในบริบทของคนไทยเอง

นอกจากนี้ ในเรื่องของกฎระเบียบและกฎหมาย ประเทศไทยควรมีแผนรองรับและกลไกการจัดการที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถนำ Generative AI มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้สูงสุด และลดความเสี่ยงของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ สกสว. จะนำข้อมูลที่ได้จากการเสวนามาวิเคราะห์ วางแผนและออกแบบการจัดสรรงบประมาณวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และยกระดับอุตสาหกรรมดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

ที่มาของข่าว: RYT9
DEMCO เปิดตัว Harvest Vision – เครื่องมือเพื่อการเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้น
    DEMCO Harvest Vision เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรถเข็นเก็บธัญพืช
  03/07/2025

บินอย่างชาญฉลาด: โดรนที่มีกล้องสามตัวตรวจจับความเครียดของพืชผลเพื่อการทำฟาร์มงาที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น
    บินอย่างชาญฉลาด: โดรนที่มีกล้องสามตัวตรวจจับความเครียดของพืชผลเพื่อการทำฟาร์มงาที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น
  03/07/2025

(มีจำหน่ายเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น)MHI-AC&R ได้รับรางวัล Recommendation Award จาก JARAC's 42nd Excellent Energy Saving Equipment Awards - รางวัลที่มอบให้สำหรับการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอนที่ได้รับจากการปรับปรุงอุปกรณ์ทำความเย็น
    (มีจำหน่ายเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น)MHI-AC&R ได้รับรางวัล Recommendation Award จาก JARAC's 42nd Excellent ...
  02/07/2025

Eaton เปิดตัวซีรีส์ตัวกรอง 3 ตัว ได้แก่ DUA, LWF และ DNR
    แผนกการกรองของบริษัท Eaton ซึ่งเป็นบริษัทจัดการพลังงานอัจฉริยะ ...
  01/07/2025


ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอื่นๆ
คัดกรองเศษวัสดุจากการก่อสร้างและวัสดุรีไซเคิลด้วยโซลูชันการคัดกรองล่าสุดของ EDGE Innovate - 30/06/2025
SCREENPRO S16 มีประสิทธิภาพเท่ากับรุ่นก่อนหน้าในกรอบที่กะทัดรัดยิ่งขึ้น
ทำลาย บด ตัด: FAE เปิดตัวอุปกรณ์เสริมมัลติทาสก์สำหรับสายพานลำเลียงติดตาม PT300 - 29/06/2025
ไม่ว่าคุณจะกำลังสับไม้ บดหิน หรือตัดตอไม้ FAE บอกว่ามีอุปกรณ์เสริมใหม่สำหรับยานพาหนะติดตาม PT300 ที่สามารถทำได้ทุกอย่าง
Deere เปิดตัวรถแบ็คโฮรุ่นใหม่พร้อมห้องโดยสารและระบบกล้องที่ออกแบบใหม่ - 27/06/2025
Deere เปิดตัวรถแบ็คโฮรุ่นใหม่พร้อมห้องโดยสารและระบบกล้องที่ออกแบบใหม่
รถตักล้อยาง P-Tier ขนาดกลางรุ่นใหม่ของ Deere ได้รับเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพ - 26/06/2025
รถตักล้อยางรุ่น 524 P-Tier, 544 P-Tier และ 624 P-Tier รุ่นใหม่ของ Deere มาพร้อมเทคโนโลยีขั้นสูงและคุณสมบัติการทำงานที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้รับเหมาเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
มาตรฐานสากลใหม่สำหรับการควบคุม MEWP เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน - 25/06/2025
Genie ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน การฝึกอบรม และบริษัทให้เช่าได้รับข้อมูลอัปเดตขณะที่ OEM ปรับปรุงการออกแบบลิฟต์เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากล
MHI ได้รับคำสั่งซื้อเพื่อจัดหาปั๊ม 5 รุ่น รวม 34 ยูนิต สำหรับ Sizewell C ยูนิต 1 และ 2 ในสหราชอาณาจักร จาก Trillium Flow Technologies - 25/06/2025
MHI ได้รับคำสั่งซื้อเพื่อจัดหาปั๊ม 5 รุ่น รวม 34 ยูนิต สำหรับ Sizewell C ยูนิต 1 และ 2 ในสหราชอาณาจักร จาก Trillium Flow Technologies
รถปรับดินรุ่นใหม่ 850 X-Tier อันทรงพลังของ John Deere พร้อมระบบ E-Drive ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานควบคุมได้สูงสุด - 13/06/2025
รถปรับดิน P-Tier ได้รับการปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีเจเนอเรชันใหม่
รถตักล้อยางรุ่นใหม่ล่าสุดของ Komatsu ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมวลรวม - 11/06/2025
เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังใหม่ช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันพร้อมเพิ่มกำลัง
ย้อนรอยวิธีการบด: เครื่องบดแบบกระแทก Keestrack I4e ที่พลิกกลับได้ - 09/06/2025
ย้อนรอยวิธีการบด: เครื่องบดแบบกระแทก Keestrack I4e ที่พลิกกลับได้
รถขุดขนาดใหญ่รุ่นใหม่ล่าสุดของ CASE ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้ 18 เปอร์เซ็นต์ - 05/06/2025
CX380E 268 แรงม้า ให้ผู้ปฏิบัติงานมีโหมดการทำงานประหยัดเชื้อเพลิง 4 โหมดที่ปรับกำลังให้เหมาะสมกับงาน
Hyundai CE และ Leica เปิดตัวระบบนำทางเครื่องจักรแบบ 3 มิติสำหรับรถขุดตีนตะขาบ - 04/06/2025
Leica Geosystems ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Hexagon และ Hyundai CE ได้เปิดตัวระบบนำทางเครื่องจักรแบบ 3 มิติ Leica MC1 ซึ่งเป็นตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับรถขุดตีนตะขาบรุ่นถัดไป โดยออกแบบมาโดยเฉพาะให้ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ 2 มิติและระบบสอบเทียบที่มีอยู่ของ Hyundai ได้อย่างราบรื่น
Motion ยกระดับโซลูชันสายพานด้วยร้านขนส่งแห่งแรกในแคนาดา - 02/06/2025
โรงงานขนาด 9,600 ตารางฟุตมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการติดตั้งสายพานขั้นสูง
รถขุดไฮดรอลิกของ Caterpillar ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดพร้อมโปรแกรมอัปเดตผลิตภัณฑ์ประจำปี - 02/06/2025
รถขุดไฮดรอลิกของ Caterpillar ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดพร้อมโปรแกรมอัปเดตผลิตภัณฑ์ประจำปี
LiuGong และ Leica ร่วมกันเปิดตัวชุดควบคุมเครื่องจักร 3 มิติสำหรับรถขุด - 28/05/2025
Leica Geosystems ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Hexagon และ LiuGong ได้ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่เพื่อเปิดตัวชุดอุปกรณ์ใหม่ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้งระบบควบคุมเครื่องจักร 3D MC1 ของ Leica Geosystems บนรถขุด LiuGong หลากหลายรุ่น โดยชุดอุปกรณ์ดังกล่าวมีจำหน่ายทั่วทั้งยุโรปและสหราชอาณาจักรแล้ว
JCB ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรปให้จำหน่ายเครื่องยนต์สันดาปภายในไฮโดรเจนได้ - 28/05/2025
เครื่องยนต์สันดาปไฮโดรเจนได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายและใช้งานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ OEM ของบริษัทอื่นแล้ว
รถขุด P-Tier ใหม่ล่าสุดจาก John Deere ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงโดยไม่ต้องเสียสละกำลัง - 26/05/2025
รถขุด 510 P-Tier มอบแรงม้าและประสิทธิภาพเท่ากับรุ่นก่อนหน้า แต่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กกว่า
John Deere เข้าซื้อกิจการ Sentera เพื่อบูรณาการการสำรวจภาคสนามทางอากาศ - 26/05/2025
John Deere เข้าซื้อกิจการ Sentera เพื่อบูรณาการการสำรวจภาคสนามทางอากาศ
KIOTI เปิดตัว HX1302 และ HX1402 มาตรฐานใหม่สำหรับพลังและประสิทธิภาพในรถแทรกเตอร์อเนกประสงค์ - 25/05/2025
KIOTI เปิดตัว HX1302 และ HX1402 มาตรฐานใหม่สำหรับพลังและประสิทธิภาพในรถแทรกเตอร์อเนกประสงค์
Zoomlion ขยายกิจการในยุโรปโดยเปิดตัวรุ่น 67 รุ่นพร้อมออกสู่ตลาดที่งาน Bauma - 25/05/2025
Zoomlion ได้นำเครื่องจักร 67 เครื่องมาจัดแสดงที่งาน Bauma ใน 9 ประเภทหลัก ได้แก่ เครื่องจักรสำหรับคอนกรีต เครน อุปกรณ์เคลื่อนย้ายดิน แท่นยกของบนอากาศ และยานยนต์อุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อนาคตที่สดใส” นอกเหนือจากการจัดแสดงอุปกรณ์แล้ว บริษัทยังได้สรุปแผนงานเชิงกลยุทธ์สำหรับการขยายตัวทั่วโลกอีกด้วย
KIOTI นำเสนอห้องโดยสารควบคุมสภาพอากาศที่ติดตั้งมาจากโรงงานบนรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ - 25/05/2025
รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กซีรีส์ CS30 มีระบบ AV แบบบูรณาการเสริมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 108 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2150 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.