สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

กนอ.ดันเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกสุดลิ่ม
02/06/2016
ข่าวเศรษฐกิจ


นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานประสานการพัฒนาพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (สปพ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา โดยหน่วยงานที่บริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จะเป็นหน่วยงานอิสระ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความเป็นอิสระและคล่องตัว

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จะสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรม ซุปเปอร์คลัสเตอร์ และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) ให้เกิดขึ้นได้รวดเร็ว รวมทั้งจะจัดตั้งศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส เพื่ออำนวยความสะดวก ในการออกใบอนุญาตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง และ กนอ.ได้ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ในการออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการภายในนิคมฯ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว

“ในเขตเศรษฐกิจฯดังกล่าว จะต้องมีการลงทุนโครง สร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับโรงงาน เช่น การขยายท่า อากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 ขยายท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 การสร้างมอเตอร์เวย์ คาดว่าการสร้างสาธารณูปโภคเหล่านี้ ต้องใช้เม็ดเงิน 100,000 ล้านบาท คาดว่าจะดึงเงินลงทุนที่เข้ามาตั้งโรงงานในพื้นที่ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 200,000 ล้านบาท ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ 300,000 ล้านบาท รวมแล้วเบื้องต้นจะมีการลงทุนเกิน 500,000 ล้านบาท ภายในปี 2560 และในอนาคตจะมีการลงทุนในอุตสาหกรรม S-curve เข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก”

ทั้งนี้ กนอ. ได้เตรียมพื้นที่รองรับนักลงทุนเพิ่มเติมใน 3 ส่วน คิดเป็นพื้นที่ 31,000 ไร่ อาทิ นิคมฯในปัจจุบัน ที่พร้อมจะขยายพื้นที่ได้ทันที 7,000 ไร่ นิคมฯที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 11 นิคมฯ มีพื้นที่ 20,000 ไร่ และนิคมฯที่ กนอ.จะพัฒนาเอง 3 นิคมฯ พื้นที่ 4,000 ไร่.
ที่มาของข่าว: ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวอื่นๆ

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.