สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

อุตสาหกรรมจับมือเอสเอ็มอาร์เจ ส่งเสริม SME ไทย-ญี่ปุ่น
10/09/2014
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล

https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpa1/v/t34.0-12/10668241_977854765573453_663576378_n.jpg?oh=7d25c12eab557a878ef302466ac62728&oe=54119B9A&__gda__=1410469509_614e431dd8d44d44afa28c38a26b2a18

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ลงนามความร่วมมือกับ องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศ ญี่ปุ่น (เอสเอ็มอาร์เจ) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแผนการส่งเสริมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเอสเอ็มอีทั้ง 2 ประเทศ การติดต่อเชื่อมโยงและประสานการเจรจาธุรกิจ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความ เชี่ยวชาญและความร่วมมือต่างๆ

โดยคาดว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีไทยแข็งแกร่งขึ้น มีรายได้เติบโต 5-10% ในปี 2558 ซึ่งปัจจุบันไทยมีเอสเอ็มอี 2.72 ล้านราย หรือ 98.5% ของผู้ประกอบการทั้งหมด สามารถสร้างรายได้ปีละ 1.76 ล้านล้านบาท

นายฮิโรชิ ทากาดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอสเอ็มอาร์เจ กล่าวว่า ปัจจุบันเอสเอ็มอีญี่ปุ่นมี 3.7 ล้านราย คิดเป็น 99.7% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ สร้างรายได้ 14.98 ล้านล้านบาท ทั้งนี้นโยบายของนายซินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะผลักดันให้เอสเอ็มอีออกไปลงทุนต่างประเทศอีก 10,000 ราย ภายใน 5 ปี (2557-2561) ส่วนใหญ่จะเป็นการออกไปในภาคการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แปรรูปอาหาร และระยะต่อๆไปจะเป็นธุรกิจบริการ

ทั้งนี้เอสเอ็มอีญี่ปุ่น 40% สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศ และสนใจภูมิภาคอาเซียนมากที่สุดถึง 50-60% ดังนั้นจึงคาดว่าจากเป้าหมาย 10,000 ราย จะมี 50-60% มาลงทุนในอาเซียน ประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เมียนมาร์ อย่างไรก็ตามก็พร้อมเข้าลงทุนทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน แต่ให้ความสำคัญกับไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน และมีศักยภาพด้านการเป็นฐานการผลิต

สำหรับรูปแบบการเข้ามาลงทุนทั้งในไทยและอาเซียนของเอสเอ็มอีญี่ปุ่นนั้น จะเน้นการร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่อยากให้เอสเอ็มอีไทยหรืออาเซียนกังวลว่า ทุนจากญี่ปุ่นจะเข้ามาครอบงำกิจการในประเทศ เพราะการลงทุนที่ไม่แบ่งปันผลกำไร เป็นแนวทางที่ไม่ยั่งยืน

ข่าวอื่นๆ

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.