เป็นที่คาดการณ์ว่าการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 เป็น 96 พันล้านยูโร ในปี 2013 (อ้างอิงจากสมาคมเครื่องจักรกลการเกษตร VDMA (VDMA Agricultural Machinery Association) ซึ่งถือเป็นตัวแทนของผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศเยอรมันนี)
Dr. Bernd Scherer กรรมการผู้จัดการสมาคมเครื่องจักรกลการเกษตร VDMA กล่าวว่า “สหภาพยุโรปยังคงบทบาทการเป็นผู้นำในตลาด เนื่องจากมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า ร้อยละ 30”
สำหรับการคาดการณ์ปริมาณการซื้อขายสำหรับผู้ผลิตเครื่องจักรกลในยุโรปมีแนวโน้มทรงตัวในปีนี้ ถึงแม้ว่าความต้องการโดยรวมในสหภาพยุโรปจะปรับระดับลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา
บริษัทส่วนใหญ่คาดการในแง่บวก หนึ่งในสามคาดการณ์ถึงปริมาณการซื้อขายในอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น, ร้อยละ 40 คาดการณ์ถึงระดับยอดขาย และร้อยละ 25 คาดการณ์ถึงการลดลงของปริมาณการซื้อขายในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ในขณะที่ผู้ผลิตในยุโรปตัดสินใจที่จะระมัดระวัง แต่ในประเทศอินเดีย, บราซิล, จีน, สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น (ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี)กลับมีการคาดการณ์ถึงความเจริญเติบโตที่สูงขึ้น
ในหลายๆประเทศ การเจริญเติบโตของยอดซื้อขายเครื่องจักรกลการเกษตรถูกผลักดันโดยเงินอุดหนุนการลงทุนของรัฐ โดยเฉพาะรัฐบาลบราซิล, อินเดีย และ ญี่ปุ่น ได้สร้างมาตราการเพิ่มแรงจูงใจให้กับเกษตรกรในการซื้อเครื่องจักรและรถแทรกเตอร์
แต่ทว่ามาตรการเงินอุดหนุนเหล่านั้นมักจะจำกัดเฉพาะเครื่องจักรที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้น
“นอกจากนี้ส่วนที่น่ากังวลเพิ่มเติมคือ การเพิ่มจำนวนของกฏเกณฑ์ข้อจำกัดในนโยบายการนำเข้าที่หลายๆประเทศกำหนดขึ้นและจะมีผลบังคับใช้ จากข้อเท็จจริง ในประเทศ รัสเซีย, เบลารุส และคาซัคสถาน ได้บังคับใช้ข้อจำกัดดังกล่าว ส่งผลให้ในปีนี้คาดว่าความสามารถในการนวดเมล็ดพันธ์ จะไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับการเพาะปลูก”
“ทั้งนี้และทั้งนั้น เห็นได้ว่าการขายเครื่องจักรกลการเกษตรในตลาดยุโรปตะวันออกถือว่าเป็นงานหินเลยทีเดียว” VDMA กล่าว
ผลผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรทั่วโลก (หน่วยพันล้านยูโร)
2007 | 61 |
2008 | 70 |
2009 | 62 |
2010 | 68 |
2011 | 81 |
2012 | 91 |
2013 | 96 (est) |