สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรไต้หวันเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง พร้อมมุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย
27/11/2013
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล

การแถลงข่าวผลิตภัณฑ์เครื่องจักรไต้หวัน ในงาน METALEX 2013 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ภายใต้แนวคิด “Innovation & Integration for Excellence นวัตกรรมและการบูรณาการสู่ความเป็นเลิศ” คือเวทีสำคัญที่แสดงถึงความโดดเด่นของสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรและโลหะการ ของไต้หวันซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ความสามารถทางการแข่งขัน และโอกาสทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมการผลิตของไทย ตลอดจนผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องจักรของภูมิภาคอาเซียนให้รุดหน้า โดยมีสำนักการค้าต่างประเทศ (BOFT) กระทรวงเศรษฐกิจแห่งไต้หวัน (MOEA) เป็นผู้จัดงาน และสมาคมพัฒนาการค้าต่างประเทศของไต้หวัน (TAITRA) และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไต้หวัน (TAMI) เป็นผู้ดำเนินการ

มร. เบอร์ตัน ชิว ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) กล่าวว่า “ไต้หวันเป็นแหล่งกำเนิดของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรและแมชีนทูล และไต้หวันยังมีเครือข่ายอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่มีบทบาทสูงที่สุดในโลก เนื่องจากมีระบบ ซัพพลายเชนที่ครบวงจร โดยผลิตภัณฑ์เครื่องจักรของไต้หวันมุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนถึง 80% ของผลผลิตทั้งหมด ในปี 2555 ที่ผ่านมา ไต้หวันคือผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องจักรที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และคาดว่าในปี 2558 ไต้หวันจะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องจักรที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่ารวมกว่า 7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ รองจากญี่ปุ่น และเยอรมนี นอกจากนั้น ไต้หวันยังเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และคาดว่า ใน 5 ปีข้างหน้า ปริมาณการส่งออกเครื่องจักรจากไต้หวันสู่อเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ยุโรป และอเมริกาเหนือจะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง”

มร. จัสติน ไต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าไต้หวันในไทย กล่าวว่า “ในบรรดาประเทศแถบอาเซียนทั้งหมด ประเทศไทยนับเป็นประเทศส่งออกหลักของไต้หวันในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องจักร โดยมีปริมาณส่งออกเครื่องจักรสู่ประเทศไทยในปี 2555 เติบโตจากปีก่อนหน้ากว่า 50% สำหรับปี 2556 นี้ ปริมาณการส่งออกระหว่างเดือนมกราคม ถึงกันยายน มีมูลค่า 170 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และคาดว่าน่าจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เมื่อมองไปสู่อนาคต ไต้หวันมีแผนจะมีบทบาทมากขึ้นในฐานะผู้ส่งออกแมชีนทูลสู่ตลาดโลก สอดคล้องกับความต้องการที่เติบโตขึ้นอันเป็นผลจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจของ ประเทศเศรษฐกิจใหม่ในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย”

นอกจากการที่รัฐบาลไต้หวันได้กำหนดให้อุตสาหกรรมเครื่องจักรเป็นอุตสาหกรรม อันดับสามภายใต้วิสัยทัศน์ “Trillion NT Dollar Industry อุตสาหกรรมมูลค่าล้านล้านดอลล่าร์ไต้หวัน” แล้ว ยังมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรอย่างจริงจังทั้งเพื่อการ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศและเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก แนวคิดริเริ่มที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งคือการจัดประกวดรางวัล Taiwan Excellence โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตสร้างนวัตกรรมผนวกกับมูลค่าเพิ่ม หรือ Innovalue มาจากคำว่า Innovation และ Value มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกด้วยเกณฑ์การตัดสิน 5 ประการคือ การวิจัยและพัฒนา (R&D) การออกแบบ คุณภาพ การตลาด และต้องผลิตขึ้นในไต้หวัน

ภายในไต้หวัน พาวิลเลี่ยนในงาน Metalex 2013 จะพบกับการจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรและโลหะจากผู้ผลิต ไต้หวัน 55 บริษัท พร้อมแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดโลกถึงความโดดเด่นทางด้านนวัตกรรม และคุณภาพ โดยมีผลิตภัณฑ์จากไต้หวันเข้าร่วมงานรวมกว่า 200 แบรนด์ภายในไต้หวัน พาวิลเลี่ยน ซึ่งนับเป็นพาวิลเลี่ยนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รวมทั้งพื้นที่จัดแสดงของ 16 บริษัทไต้หวันที่เข้าร่วมงานเอง คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 3,000 ตร.ม.

แบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence แบรนด์เด่นที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ ประกอบด้วย

Accutex Technologies Co., Ltd. ผู้ผลิตเครื่องตัดโลหะด้วยไฟฟ้าชั้นนำ

Hiwin Technologies Corp. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตบอลสกรู รางนำทาง และจักรกลหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม

Shieh-Yih Machinery Industry Co., Ltd. ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องปั๊มโลหะชนิดต่าง ๆ ทั้งแบบเมคานิค แบบไฟฟ้า แบบเจาะ และแบบความเร็วสูง

Shin-Yain Industrial Co., Ltd., ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ด้ามจับเครื่องมือสำหรับเครื่องกลึง

มร. ชิวกล่าวเพิ่มเติมว่า “นโยบายของรัฐบาลไทยปัจจุบันในการส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การลดภาษีการค้า การเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ล้วนส่งผลดีต่อการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างเสริมให้ไทยคงความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ภาคการผลิตของไทยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย อัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ด้วยความโดดเด่นทางด้านนวัตกรรมและการผสมผสาน ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรไต้หวันจะเติบโตและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในกลุ่มผู้ผลิต ทั่วโลกควบคู่ไปกับการรักษาอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในตลาดไทย”

“ในอนาคต อุตสาหกรรมเครื่องจักรไต้หวันจะยังอาศัยจุดแข็งจากประสบการณ์การพัฒนาอันยาว นาน การมุ่งสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมแบรนด์อย่างจริงจังเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ผู้ผลิตไต้หวันยังคงมุ่งมั่นสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ การพัฒนาการบริการลูกค้า การให้ความสำคัญด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง อุตสาหกรรมเครื่องจักรไต้หวันจึงไม่เพียงแต่สร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากผู้ ผลิตประเทศอื่น แต่ยังจะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมอื่น ๆ ให้เดินหน้าเต็มพิกัดเพื่อเสริมสร้างฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับทั้งไต้หวันและประเทศคู่ค้าทั่วโลก” มร. ชิวกล่าวสรุป

 

ข่าวอื่นๆ

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.