สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

“ไทย”มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่ม 3 อันดับ
  04/07/2023
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า IMD World Competitiveness Center ได้ทำการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ประจำปี 2566 พบว่า ผลในการจัดอันดับในปีนี้ได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกันที่เรียกว่า “Polycrisis” ประกอบด้วย ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอัตราเงินเฟ้อ
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งวิกฤตเหล่านี้มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศในระดับที่แตกต่างกันไป โดยทำให้บางประเทศเลื่อนอันดับดีขึ้น

ขณะที่อันดับของบางประเทศเลื่อนลง นอกจากนี้ยังระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า เขตเศรษฐกิจที่มีการเปิดประเทศเร็วหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันมีเศรษฐกิจเติบโตชะลอลง ขณะที่เขตเศรษฐกิจที่เพิ่งเปิดประเทศภายหลัง จะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน 

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งสิ้น 64 เขตเศรษฐกิจ พบว่า เขตเศรษฐกิจที่ถูกจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันใน 3 อันดับแรก ได้แก่ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดย IMD ให้ข้อมูลว่าเขตเศรษฐกิจที่อยู่อันดับต้นของโลกส่วนใหญ่เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก

ที่ใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดและคู่ค้า มีความสามารถในการปรับตัว และสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ทันท่วงที ขณะที่ขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจสำคัญในเอเชีย อาทิ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย เลื่อนลง 7 1 1 และ 3 อันดับจากปีก่อนหน้า มาอยู่อันดับที่ 21 28 35 และ 40 ตามลำดับ

ไทยอยู่ในอันดับที่ 30 จาก 64 เขตเศรษฐกิจ เลื่อนขึ้น 3 อันดับจากปีก่อนหน้า และเมื่อเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันภายในภูมิภาคอาเซียน (จำนวน 5 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) พบว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 โดยอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มประเทศอาเซียนดังกล่าวของไทยไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2565 โดยขีดความสามารถในการแข่งขันประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอันดับของไทยดีขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจที่เลื่อนขึ้นถึง 18 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 16 ขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ เลื่อนขึ้น 7 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 24 ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เลื่อนขึ้น 7 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 23 และโครงสร้างพื้นฐาน เลื่อนขึ้น 1 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 43

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยย่อยของแต่ละด้าน มีรายละเอียด ดังนี้  ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ดีขึ้นในทุกปัจจัยย่อย โดยการลงทุนระหว่างประเทศ เลื่อนขึ้น 11 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 22 และการค้าระหว่างประเทศ เลื่อนขึ้น 8 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 29 เศรษฐกิจภายในประเทศ เลื่อนขึ้น 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 44 ระดับราคาและค่าครองชีพ เลื่อนขึ้น 4 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 27 และการจ้างงาน เลื่อนขึ้น 1 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 3

 ประสิทธิภาพของภาครัฐ ดีขึ้นจากปัจจัยย่อยด้านกรอบการบริหารภาครัฐ และกฎหมายธุรกิจ โดยทั้งสองปัจจัยย่อยเลื่อนขึ้น 7 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 34 และ 31 ตามลำดับ   ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ดีขึ้นจากปัจจัยย่อยด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพ เลื่อนขึ้น 9 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 38 และโครงสร้างพื้นฐาน ดีขึ้นจากปัจจัยย่อยด้านโครงสร้างเทคโนโลยี เลื่อนขึ้น 9 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 25

IMD ระบุเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 ไทยจะเผชิญกับความท้าทาย อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพและการเติบโตที่ไม่สมดุล ความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการเลือกตั้งทั่วไป ความเสี่ยงจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ และการขาดแคลนแรงงานในภาคบริการที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของประเทศ

ได้ดำเนินการในด้านต่าง ๆ ทั้งการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ การร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมการส่งออก โดยในปี 2565 การส่งออกไทยขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 แม้ว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 จะหดตัวที่5.1% จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศคู่ค้า แต่ไทยยังทำได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคที่การส่งออกหดตัวรุนแรงมากกว่า รวมถึงการเร่งลดภาระด้านค่าครองชีพให้กับผู้บริโภคชาวไทยผ่านมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงสู่ระดับ 2.96% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 จากที่เพิ่มสูงในปี 2565 จนแตะระดับ 6.08% เนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้นจากวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความไม่แน่นอนของปัจจัยกดดันภายนอกประเทศดังที่ IMD ระบุไว้ รวมถึงปัญหาภาคการธนาคารของชาติตะวันตกที่เพิ่มแรงกดดันต่อความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะถดถอยในหลายประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักของไทย ประกอบกับเศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด โดยไทยมีการส่งออกเป็นเครื่องจักรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ไทยจึงควรเร่งเดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในทุกมิติ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การพัฒนามาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดรับกับความต้องการของนักลงทุนในสาขาที่เป็นเป้าหมายของไทย การส่งเสริมการส่งออกเชิงรุกรวมถึงการกระจายตลาดมากขึ้น และการอัพสกิล/รีสกิลเพื่อเพิ่มทักษะและคุณภาพของแรงงาน เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศให้สามารถรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และช่วงชิงประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

โดยเฉพาะการที่โลกเข้าสู่ภาวะการกระจายตัวทางภูมิเศรษฐกิจ (Geo-economic Fragmentation) จากการที่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรต่างต้องการลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานของจีนมากเกินไป (De-risk) ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนภูมิทัศน์ของห่วงโซ่อุปทานโลกทั้งมิติด้านการผลิต การค้า และการลงทุน ซึ่งจะเป็นโอกาสในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงไทย ที่จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มการย้ายการลงทุนเข้ามาต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีความแข็งแกร่ง และขยายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคต

ที่มาของข่าว: ฐานเศรษฐกิจ
ส่องทิศทางธุรกิจเชื้อเพลิงขยะปี 69 คาดมูลค่าตลาด 1.45 หมื่นลบ. ดีมานด์โตต่อเนื่อง
    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดเชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel (RDF) ในปี 2569 จะสูงขึ้นราว ...
  03/05/2025

FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่
    FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่
  02/05/2025

ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร
    ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร
  02/05/2025

จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี
    จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี
  30/04/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
นายกฯ สั่งรวบรวมมาตรการจุดแข็ง ผนึกอาเซียนเจรจาต่อรองภาษีสหรัฐ - 30/04/2025
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดนครพนม ในเรื่องการเจรจากับสหรัฐอเมริกาสำหรับกรอบความร่วมมือในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียนนั้น จะมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค. - 30/04/2025
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค.
Post Malone ร่วมมือกับ Kubota Equipment - 28/04/2025
Kubota เข้าร่วมทัวร์ Travelin Tailgate พร้อมรับการสนับสนุนใหม่
ส.อ.ท. ยันเหตุแผ่นดินไหวไม่กระทบภาคการผลิต แต่คาดกระทบภาคอสังหาฯ ช่วงสั้น - 01/04/2025
ส.อ.ท. ยันเหตุแผ่นดินไหวไม่กระทบภาคการผลิต แต่คาดกระทบภาคอสังหาฯ ช่วงสั้น
KBANK คาดกรอบบาทสัปดาห์หน้า 33.30-34.30 จับตามาตรการภาษีสหรัฐ-ทิศทาง Flow-เงินเฟ้อไทย - 31/03/2025
KBANK คาดกรอบบาทสัปดาห์หน้า 33.30-34.30 จับตามาตรการภาษีสหรัฐ-ทิศทาง Flow-เงินเฟ้อไทย
ติง เสวี่ยเซียง รองนายกรัฐมนตรีจีนเปิดเผยในวันนี้ (27 มี.ค.) ว่า จีนซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ยังคงคัดค้านนโยบายกีดกันทางการค้าอย่างแข็งกร้าว และมุ่งมั่นที่จะปกป้องด้านเสรีการค้า ท่ามกลางความตึงเครียดในสงครามการค้าระหว่างจีนและส - 28/03/2025
ติง เสวี่ยเซียง รองนายกรัฐมนตรีจีนเปิดเผยในวันนี้ (27 มี.ค.) ว่า จีนซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ยังคงคัดค้านนโยบายกีดกันทางการค้าอย่างแข็งกร้าว และมุ่งมั่นที่จะปกป้องด้านเสรีการค้า ท่ามกลางความตึงเครียดในสงครามการค้าระหว่างจีนและส
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ ภาษีนำเข้าเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยสหรัฐฯ บรรลุทุกเป้าหมาย - 27/03/2025
ไครี ทูร์ค ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์เผยว่า สหรัฐฯ มีโอกาสน้อยมากที่จะบรรลุเป้าหมายต่างๆ หากใช้มาตรการภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียว
พาณิชย์นำทัพบุกแอฟริกาใต้ ขยายตลาดส่งออกข้าวไทยเกือบ 4 แสนตัน - 25/03/2025
พาณิชย์นำทัพบุกแอฟริกาใต้ ขยายตลาดส่งออกข้าวไทยเกือบ 4 แสนตัน
จีนประกาศแผนลดกำลังการผลิตเหล็ก หวังปรับโครงสร้าง-ลดความตึงเครียดการค้าโลก - 07/03/2025
จีนเตรียมปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่ผ่านการลดกำลังการผลิต แม้ไม่ได้ประกาศกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการแทรกแซงครั้งล่าสุดเพื่อแก้ปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน ซึ่งเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดด้านการค้าโลก
‘พาณิชย์’ หารืออาร์เจนตินา มุ่งจัดทำ FTA ขยายโอกาสทางการค้า-การลงทุน ในภูมิภาคลาตินอเมริกา - 04/03/2025
‘พาณิชย์’ หารืออาร์เจนตินา มุ่งจัดทำ FTA ขยายโอกาสทางการค้า-การลงทุน ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
นายกฯ หารือคลังติดตามคืบหน้ามาตรการกระตุ้นศก. เตรียมจัดทำแผนใน 2 สัปดาห์ - 04/03/2025
นายกฯ หารือคลังติดตามคืบหน้ามาตรการกระตุ้นศก. เตรียมจัดทำแผนใน 2 สัปดาห์
สศอ. แถลงข่าว ”ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2568“ - 03/03/2025
สศอ. แถลงข่าว ”ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2568“
คลัง จ่อทำ Master Plan มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เข็น GDP ปีนี้โตเกิน 3% - 28/02/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวในการประชุมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.), ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่า เป็นการหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2568 ซึ่ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการว่าต้องการเห็นเป้าหมายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ของรัฐบาลในเชิงรุก ที่ 3-3.5% ดังนั้นจึงต้องมาพิจารณาว่าจะดำเนินการในเรื่องใดได้บ้างเพื่อสนับสนุนการเติบโตให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย
นายกฯ สั่งเร่งทุกกระทรวงทำแผนกระตุ้น GDP ไตรมาส 1/68 ต้องโตไม่น้อยกว่า 3.2% - 26/02/2025
นายกฯ สั่งเร่งทุกกระทรวงทำแผนกระตุ้น GDP ไตรมาส 1/68 ต้องโตไม่น้อยกว่า 3.2%
สศอ.ประเมิน 5 อุตสาหกรรมเด่นปี 68 โตตามปัจจัยหนุนรอบด้าน - 10/02/2025
สศอ.ประเมิน 5 อุตสาหกรรมเด่นปี 68 โตตามปัจจัยหนุนรอบด้าน
ปลุกพลัง SMEs! ก.อุตฯ อัดฉีด 20 ลบ. ผ่าน 4 โครงการเด็ด เสริมแกร่ง รับเศรษฐกิจยุคใหม่ - 07/02/2025
ปลุกพลัง SMEs! ก.อุตฯ อัดฉีด 20 ลบ. ผ่าน 4 โครงการเด็ด เสริมแกร่ง รับเศรษฐกิจยุคใหม่
"พิชัย“ เตรียมบินสหรัฐฯ ร่วมงาน NPB 2025 วันที่ 4-8 ก.พ.นี้ พบปะผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั่วโลก เจรจาเชิงรุก สร้างโอกาสการค้าไทย - 06/02/2025
"พิชัย“ เตรียมบินสหรัฐฯ ร่วมงาน NPB 2025 วันที่ 4-8 ก.พ.นี้ พบปะผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั่วโลก เจรจาเชิงรุก สร้างโอกาสการค้าไทย
กกร. มองศก.ไทยปี 68 โตจำกัด สงครามการค้ารอบใหม่-บาทแข็ง กดดันส่งออก - 06/02/2025
ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวจำกัด เนื่องจากการกีดกันทางการค้าที่รุนแรง และทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จะเป็นความท้าทายต่อการส่งออกของไทย ส่วนภาคอุตสาหกรรมบางสาขา เผชิญการแข่งขันจากสินค้าจากต่างประเทศ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ
ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย ธ.ค.67 ชะลอลงตามการส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้ท่องเที่ยวฟื้น - 03/02/2025
ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย ธ.ค.67 ชะลอลงตามการส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้ท่องเที่ยวฟื้น
ส.อ.ท. วางเป้ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้ 1.5 ล้านคัน หลังปี 67 พลาดเป้า - 29/01/2025
ส.อ.ท. วางเป้ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้ 1.5 ล้านคัน หลังปี 67 พลาดเป้า
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 132 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2632 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.