สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

เปิดกลยุทธ์ 'ไทย' สมดุลอำนาจ 'สหรัฐ-จีน'
  31/10/2019
การประชุมอาเซียนซัมมิตที่กำลังจะเกิดขึ้นสุดสัปดาห์นี้มีอะไรมากกว่าแค่การกล่าวสุนทรพจน์ แต่เป็นเวทีนี้นอกจากไทยแสดงบทบาทผู้นำภูมิภาคแล้ว ยังมีประเด็นแทรกที่ว่าด้วย "สมดุลอำนาจ" ระหว่างสหรัฐและจีนโดยมีไทยเป็นผู้เล่น ผู้เลือก



ประเทศไทยมีขนาดเล็กกว่ารัฐบางแห่งในสหรัฐ ขณะเดียวกันทั้งขนาดและจำนวนประชากรไทยก็มีน้อยกว่าบางมณฑลของจีน ท่ามกลางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศขณะนี้ ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง การวางอิทธิพลในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก กลยุทธ์ไทยควรสร้าง “สมดุล”สองขั้วมหาอำนาจนี้อย่างไร

       การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 2-5 พ.ย.2562 จะมีผู้นำอาเซียนเข้าร่วมประชุมครบ 10 คน ในขณะที่ประเทศคู่เจรจา 7 ประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม ยกเว้นสหรัฐที่ยังรอการรอยืนยันหัวหน้าคณะจากสหรัฐ ในขณะที่จีน มีนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน มาเข้าร่วมประชุม และรัฐบาลไทยเชิญนายกรัฐมนตรีจีนหารือข้อราชการที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 5 พ.ย.นี้

        นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเอกสารที่จะลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 2-5 พ.ย.นี้ โดยเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ มีทั้งหมด 45 ฉบับ และ ครม.ครั้งนี้เห็นชอบ 22 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 

1.เอกสารที่ผู้นำจะรับรอง (to be adopted) จำนวน 13 ฉบับ เช่น ร่างปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครอง เด็กจากการแสวงหาผลประโยชน์ในสื่อออนไลน์ในอาเซียน 2.เอกสารที่ต้องออกแถลงการณ์ของประธานการประชุมฯ (to be issued) จำนวน 8 ฉบับ เช่น ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน–จีน ครั้งที่ 22 และร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน–อินเดีย ครั้งที่ 16 เป็นต้น 

           3.เอกสารที่รัฐมนตรีต่างประเทศจะลงนาม จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างตราสารขยายจำนวนอัตราภาษีในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

           นอกจากนี้  ครม.ได้เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ครั้งที่ 3 เบื้องต้นคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบ ซึ่งแถลงการณ์ร่วมผู้นำ หรือ Joint Leaders 'Statement ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องมีคำว่า “สามารถสรุปการเจรจาได้” หรือ Conclusion จึงจะถือว่าการเจรจาอาร์เซ็ปประสบความสำเร็จ

           นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) กล่าวว่า นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนมีกำหนดหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีไทยที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 5 พ.ย.นี้

            การเดินทางมาเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีจีนครั้งนี้ จะใช้โอกาสนี้ยืนยันความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์รอบด้านที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับจีน และกำหนดทิศทางพัฒนาความสัมพันธ์ในระยะต่อไป รวมถึงแลกเปลี่ยนความเห็นทั้งในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สนใจร่วมกันในเรื่องอื่นด้วย

          นอกจากนี้ จะหารือโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) หรือโครงการรถไฟไทย-จีน วงเงิน 179,412 ล้านบาท ที่เริ่มก่อสร้างแล้ว แต่ยังมีความล่าช้า

         ทั้งนี้ การประชุม ครม.เศรษฐกิจ วานนี้ (29 ต.ค.) กำหนดให้สรุปปัญหาอุปสรรคเพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์นำไปหารือกับนายกรัฐมนตรีจีน เพื่อหาทางแก้ปัญาให้เป็นรูปธรรม โดยให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปหาข้อสรุปให้ชัดเจนว่าในการจัดทำราคาที่ตกลงในสัญญาในโครงการรถไฟไทย-จีนควรเป็นเงินสกุลใด ระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาท เพื่อนำข้อสรุปไปหารือกับนายกรัฐมนตรีของจีน

           รวมทั้ง ที่ผ่านมาการกำหนดสกุลเงินสัญญา ได้มีการหารือของระดับเจ้าหน้าที่ จึงต้องการให้ระดับนโยบายเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งเรื่องนี้คงได้ข้อสรุปใน 2-3 วัน โดยเฉพาะตัวแทนจาก ธปท.จะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้

“โครงการรถไฟไทย-จีน เดินหน้าก่อสร้างไปแล้วแต่มีความล่าช้า เพราะเป็นโครงการระหว่างรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ที่ทั้ง 2 รัฐบาลต้องทำงานร่วมกันและที่ผ่านมาจีนอาจไม่เคยทำโครงการลักษณะนี้กับประเทศอื่น ส่วนไทยก็ไม่เคยทำงานในโครงการลักษณะนี้เช่นกัน” นายกอบศักดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนระหว่างไทยกับรัฐบาลจีน เพื่อกำหนดแนวทางส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนอย่างรอบด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ในภาพรวม เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษา วัฒนธรรมและความเชื่อมโยงระดับประชาชน การเมืองและความมั่นคง และความร่วมมือในภูมิภาคและเวทีระหว่างประเทศ

        นอกจากนั้น ครม.ได้เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลจีน 2 ฉบับ ที่จะลงนามวันที่ 5 พ.ย.นี้ คือ 1.ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของไทย กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน 

         เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมบนหลักของการต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ข้อริเริ่มเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) และข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางครอบคลุม 11 ด้าน

        2.ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับคณะกรรมการบริหารงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศแห่งจีน เพื่อแสดงเจตจำนงทั้ง 2 ฝ่าย จะร่วมมือกันเสริมสร้าง ขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 

         นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในขณะนี้ฝ่ายไทยยังรอการรอยืนยันหัวหน้าคณะจากสหรัฐ ให้การตอบรับเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมอาเซียน-สหรัฐ ครั้งที่ 7 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 14

         ส่วนสถานะล่าสุด ตอนนี้มีผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอาเซียน 2.สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียะห์ มูอิซซัดดีน วัดเดาละห์ นายกรัฐมนตรีบรูไน

         3.นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ 4.นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย 5.นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย 6.นายโรดริโก ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ 7.นางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา 8.สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา 9.นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีลาว 10.นายเหวียน ซวน ฟุค นายกรัฐมนตรีเวียดนาม

         ส่วนผู้นำประเทศคู่เจรจา จะเป็นระดับนายกรัฐมนตรีเข้าร่วม ได้แก่ 1.นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน 2.นายอี นัก-ยอน นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ 3.นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น 4.นายสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย 5.นางจาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ 6.นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และ 7.นายดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย

          นอกจากนี้ นายลิม จ๊อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน และนางคริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เข้าร่วมในการประชุมที่เกี่ยวข้องด้วย

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย ว่า ประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ เป็นนักธุรกิจที่เข้ามาทำงานในฐานะผู้นำสหรัฐ จึงสนใจเรื่องธุรกิจการค้าพิจารณาได้จากหลังเข้ารับตำแหน่งคือการตรวจสอบว่าประเทศใดได้ดุลการค้าสหรัฐ ซึ่งไทยอยู่ในรายการนั้นด้วย

“ทรัมป์เวลาเดินทางไปต่างประเทศจะดิวการค้าสินค้าสหรัฐด้วย ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการเมืองระหว่างประเทศที่มีเรื่องเศรษฐกิจการค้ามารวมอยู่ด้วย ขณะที่เราคุ้นเคยกับนโยบายสหรัฐ ที่ว่าด้วยเรื่องการเมืองความมั่นคง”

ศ.ดร.สุรชาติ กล่าวอีกว่า ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐถือว่าไม่ได้แย่ แต่ผลพวงของการรัฐประหารทั้งสองครั้งที่ผ่านมาซึ่งสหรัฐก็ไม่ตอบรับ ขณะเดียวกันก็มีการขยับของยุทธศาสตร์นโยบายต่างประเทศไทยในช่วงเวลาหลักรัฐประหารว่าด้วยการ เข้าไปใกล้ชิดกับจีนมากขึ้น

 ฝากสหรัฐก็ส่งสัญญาณความไม่พอใจ หลังรัฐประหารในรูปแบบต่างๆ เช่น  การค้ามนุษย์  การดูแลสิทธิแรงงาน ผ่านการเรียกร้องจากผู้แทนการค้าสหรัฐ หรือ ยูเอสทีอาร์  ซึ่งผู้แทนรัฐบาลไทย อาจไม่ค่อยสนใจ ทั้งที่มีสัญญาณมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ซึ่งเป็นช่วงการเลือกตั้งของไทย ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศ คงได้มีการเตือนบ้างแล้ว

“เมื่อสหรัฐเปิดแรงกดดันกับไทยมากขึ้นก็ไม่ใช่ว่าไทยไปหาจีนมากขึ้น เพราะจีนเองก็มีข้อเรียกร้องต่างๆมากเช่นกัน ทำให้ไทยควร วางนโยบายให้ชัดเจนไม่ใช่ถูกกดดันจากฝ่ายหนึ่งและหนีไปเกาะท้ายอีกฝ่ายหนึ่ง กลายเป็นเด็กที่วิ่งรับอำนาจไม่เลิก”

การส่งสัญญาณของไทยว่าด้วยการทิ้งห่างจากโลกตะวันตกโดยสร้างความใกล้ชิดกับจีนมากขึ้นอาจไม่ใช่ผลดีในระยะยาว แม้ไทยจะเป็นประเทศขนาดเล็ก ยากที่จะวางตัวให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เสียเปรียบให้น้อยที่สุด ก็ตาม


ที่มาของข่าว: กรุงเทพธุรกิจ
คาดเศรษฐกิจจีนโตเฉลี่ย 5% ใน Q2 ยังไม่หลุดเป้า แม้ภาษีสหรัฐฯกดดัน
    เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังคงแข็งแกร่ง แม้ชะลอลงจากไตรมาสแรก ...
  04/07/2025

“กอบศักดิ์”หั่น GDP ปี 68 โต 2% แถม Downside เปิดมุมมองทางรอดท่องเที่ยว-ส่งออก-ลงทุน
    นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทย (GDP) ปี ...
  02/07/2025

ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม
    ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม
  01/07/2025

รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า
    รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า
  28/06/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
เช็ค 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงสุด 5 เดือนปี 68 - 26/06/2025
ตรวจสอบ 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงที่สุด 5 เดือนปี 68 ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ให้แล้วที่นี่
ผลกระทบภาษีทรัมป์ สะเทือนศก.ไทยครึ่งปีหลัง เสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค - 12/06/2025
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายด้านภาษีนำเข้า ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลกระทบต่อภาคการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจทั่วโลก โดยล่าสุด องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 68 ลงมาอยู่ที่ 2.9% และปรับประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงเหลือ 1.6% ซึ่งความไม่แน่นอนของนโยบายของสหรัฐฯ ทั้งด้านการค้า การเงิน การคลัง การศึกษา และการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อค่าเงิน เสถียรภาพ และศักยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จีนส่งออกไปสหรัฐฯ ลดฮวบ 34.5% ในเดือนพ.ค. หนักสุดในรอบกว่า 5 ปี - 10/06/2025
ยอดส่งออกสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐฯ ทรุดตัวลง 34.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2563 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดส่งออกโดยรวมของจีนขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค. ขณะที่ยอดนำเข้าจากสหรัฐฯ ลดลงกว่า 18% ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลดลง 41.55% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์
รัฐบาล มอบนโยบายทูตไทยทั่วโลก ดันการทูตเชิงรุก-เร่งดึงลงทุน-เจาะตลาดใหม่ ขับเคลื่อนศก.ไทย - 10/06/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกถึงแนวทางการยกระดับศักยภาพของประเทศผ่านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดยได้เน้นย้ำถึงการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และพลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมฐานข้อมูล การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจและการค้า และการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
จับตาส่งออกไทย Q3/68 สัญญาณชะลอตัว ท่ามกลางสงครามการค้ายังไม่แน่นอนสูง - 06/06/2025
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่า แม้ล่าสุดสงครามการค้าจะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนมีการเจรจาพักรบกันชั่วคราว โดยต่างฝ่ายต่างปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าลงฝ่ายละ 115% เป็นเวลา 90 วัน (สหรัฐฯ เก็บภาษีจีนเหลือ 30% และจีนเก็บภาษีสหรัฐฯ เหลือ 10%)
สงครามการค้ากระทบเศรษฐกิจเอเชีย ยอดส่งออก-การผลิตชะลอตัวในพ.ค. - 03/06/2025
กิจกรรมการผลิตในหลายประเทศเอเชียชะลอตัวในเดือนพ.ค. 2568 ท่ามกลางผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า ส่งผลให้ความต้องการสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศลดลงอย่างชัดเจน
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน - 30/05/2025
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง - 30/05/2025
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง
ททท. ลุยแคมเปญ “สวัสดี หนีห่าว” ตอกย้ำสัมพันธ์ไทย-จีน กระตุ้นเชื่อมั่นเที่ยวไทยปลอดภัย - 30/05/2025
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดแคมเปญเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ไทย-จีน “สวัสดี หนีห่าว” (Sawasdee Nihao) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ค.-1 มิ.ย. 68 ย้ำชัดไทยพร้อมเดินหน้ากระตุ้นนักท่องเที่ยวจีน และส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตร ตอกย้ำความเป็น “Quality Destination”
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง - 29/05/2025
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
แบงก์ชาติ แนะรัฐบาลใช้งบ 1.57 แสนลบ. บรรเทาผลกระทบภาคธุรกิจ รับมือสงครามการค้า - 28/05/2025
ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ค.68 มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในการโยกงบประมาณที่จะใช้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 มาใช้เพื่อดำเนินโครงการอื่นแทน
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ - 14/05/2025
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ
ส่องทิศทางธุรกิจเชื้อเพลิงขยะปี 69 คาดมูลค่าตลาด 1.45 หมื่นลบ. ดีมานด์โตต่อเนื่อง - 03/05/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดเชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel (RDF) ในปี 2569 จะสูงขึ้นราว 15.1% แตะ 1.45 หมื่นล้านบาท จากการสนับสนุนของภาครัฐในด้านการจัดการกับปัญหาขยะ และการเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทน ซึ่งหนุนการขยายตัวของตลาดธุรกิจเชื้อเพลิงขยะ RDF
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่ - 02/05/2025
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร - 02/05/2025
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี - 30/04/2025
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี
นายกฯ สั่งรวบรวมมาตรการจุดแข็ง ผนึกอาเซียนเจรจาต่อรองภาษีสหรัฐ - 30/04/2025
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดนครพนม ในเรื่องการเจรจากับสหรัฐอเมริกาสำหรับกรอบความร่วมมือในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียนนั้น จะมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค. - 30/04/2025
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค.
Post Malone ร่วมมือกับ Kubota Equipment - 28/04/2025
Kubota เข้าร่วมทัวร์ Travelin Tailgate พร้อมรับการสนับสนุนใหม่
ญี่ปุ่นตั้งคณะทำงานรับมือผลกระทบจากภาษีทรัมป์ - 11/04/2025
ญี่ปุ่นตั้งคณะทำงานรับมือผลกระทบจากภาษีทรัมป์
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 133 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2649 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.