สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
  29/05/2025
KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) มีมุมมองเรื่องนักท่องเที่ยวจีนหายไป ว่า ถือว่าผิดคาดไปค่อนข้างมากหลังจากเปิดปีใหม่มา ภาคท่องเที่ยวที่เป็นความหวังของเศรษฐกิจในปีนี้กลับหดหายไปอย่างน่าตกใจ แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่าแรงส่งคงจะชะลอตัวลงบ้างหลังจากแบกเศรษฐกิจไทยมาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งตอนปลายปี 67 ยังเป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ฟื้นตัวกลับไปได้เพียง 60-70% ของนักท่องเที่ยวก่อนโควิด-19 ที่จำนวนเฉลี่ยประมาณ 560,000 คนต่อเดือน อย่างไรก็ดี หลังจากตรุษจีนในเดือนม.ค. 68 นักท่องเที่ยวจีนกลับหดตัวรุนแรงเกือบครึ่ง เหลือเพียงเดือนละไม่ถึง 300,000 คน หรือคิดเป็นเพียง 30% ของช่วงก่อนโควิด-19 เท่านั้น

*ชะลอชั่วคราวหรือถาวร?
คำถามสำคัญที่หลายฝ่ายสงสัยกัน คือเหตุการณ์นี้จะเป็นเพียงการชะลอตัวลงชั่วคราวหรือว่าถาวร เป็นปัญหาที่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง (Structural) ที่ต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหายาวนาน หรือว่าเป็นเพียงปัญหาชั่วครั้งชั่วคราว (Cyclical) ซึ่งจะผ่านไปได้ในที่สุด

KKP Research มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาจากปัจจัยทั้งสองประเภทที่ทำให้นักท่องเที่ยวชะลอตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดยมี 3 ข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ในช่วงที่ผ่านมามีดังนี้

1. ปัจจัยเชิงโครงสร้าง คือจำนวนนักท่องเที่ยวขาออกของจีน (Chinese outbound tourist) ยังไม่ฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนโควิด-19 จากทั้งภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง ขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนเริ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลักอีกเครื่องยนต์หนึ่ง โดยนักท่องเที่ยวจีนที่ออกไปเที่ยวต่างประเทศ ฟื้นตัวเพียง 86.5% ของนักท่องเที่ยวปี 62 สวนทางกับนักท่องเที่ยวจีนที่ท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวถึง 93.6% แล้ว

2. ปัจจัยเชิงโครงสร้างเช่นกัน คือนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวกลับมาเปลี่ยนจากกรุ๊ปทัวร์เป็นนักท่องเที่ยวอิสระ (Free Individual Traveler: FIT) มากขึ้น โดยในช่วงก่อนโควิด-19 นักท่องเที่ยวจีนที่มาไทยเลือกมาในลักษณะกรุ๊ปทัวร์ค่อนข้างสูงหากเทียบกับภูมิภาคอื่น โดยคิดเป็นเกือบ 40% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด และมีกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระเพียง 60% ขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ จะมีนักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์เพียง 10-20% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อจีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง สัดส่วนนักท่องเที่ยวจีนที่เลือกมากับกรุ๊ปทัวร์ลดลงเหลือเพียง 20% เท่านั้นในปีที่ผ่านมา (จากการสำรวจของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาล่าสุด)

ดังนั้น เมื่อเทียบการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวทั้งสองประเภทแล้ว จะพบว่า นักท่องเที่ยวอิสระในปีที่ผ่านมาฟื้นตัวกลับมาถึง 77.4% ของปี 62 แล้ว หรือคิดเป็นนักท่องเที่ยว 5.3 ล้านคน ส่วนนักท่องเที่ยวจีนที่เป็นกรุ๊ปทัวร์ฟื้นตัวมาเพียง 33.4% หรือคิดเป็นเพียง 1.4 ล้านคนเท่านั้น

โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบและพฤติกรรมการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวอิสระมักมีกำลังซื้อและมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวสูงกว่านักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์ ราคาจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเพียงอย่างเดียว ทำให้การกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยเน้น “ราคา” เป็นหลักอาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป แต่ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ อาจเป็นตัวชี้ขาดมากกว่าว่านักท่องเที่ยวจีนจะเลือกมาเที่ยวไทยหรือไม่ เช่น ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว ระดับการให้บริการ ความปลอดภัย ฯลฯ

3. อาจเกิดจากทั้งประเด็นเชิงโครงสร้างและชั่วคราว คือในบรรดานักท่องเที่ยวจีนที่ยังออกมาเที่ยวนอกประเทศกลับเลือกเบนเข็มไปเที่ยวประเทศอื่น ๆ มากขึ้น โดยหลังจากนักท่องเที่ยวจีนในเดือนมกราคมแตะระดับสูงสุดเป็นอันดับ 3 นับตั้งแต่จีนกลับมาเปิดประเทศที่จำนวนกว่า 6.6 แสนคนจากเทศกาลตรุษจีน นักท่องเที่ยวจีนกลับลดลงไปกว่าครึ่ง เหลือเพียงประมาณ 3 แสนคนจนถึงเดือนเม.ย.

ขณะที่หากพิจารณาเที่ยวบินขาออกจากจีน กลับพบว่าได้ทยอยฟื้นตัวตั้งแต่เดือนมี.ค. แล้ว แต่เที่ยวบินขาเข้าไทยกลับยังลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนว่าความน่าสใจของประเทศไทยลดลงมากกว่าจะเกิดจากคนจีนเที่ยวต่างประเทศลดลง

ทั้งนี้ แล้วจีนหันไปเที่ยวประเทศใด ข้อมูลเที่ยวบินขาออกและจำนวนนักท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ ชี้ไปที่ประเทศอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม และมาเลเซีย โดยสาเหตุที่นักท่องเที่ยวจีนเลือกมาเที่ยวไทยน้อยลงอาจจะแบ่งเป็น 2 ด้าน

1. การเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวจีนอาจต้องใช้เวลา โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระที่ต้องมีการเตรียมตัววางแผนท่องเที่ยวเอง ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราวที่อาจทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

2. ประเด็นความปลอดภัยที่รุนแรงขึ้นในสายตานักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไขภาพลักษณ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม โดยเฉพาะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระที่ให้ความสนใจเรื่องเหล่านี้เป็นพิเศษกว่ากรุ๊ปทัวร์อยู่แล้ว

โดยจากการสำรวจล่าสุดของ Dragon Trail International พบว่า นักท่องเที่ยวจีนมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนเมษายนที่ผ่านมา มองว่าประเทศไทยไม่ปลอดภัย เพิ่มขึ้นจาก 38% ในช่วงเดือนก.ย. ของปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศอื่น ๆ การรับรู้เรื่องความปลอดภัยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

ทั้งนี้ สะท้อนว่าประเด็นการลักพาตัวดาราชาวจีนใมช่วงต้นปี การปราบปรามธุรกิจสีเทา และเหตุการณ์แผ่นดินไหว ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทย

สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แบบสำรวจข้างต้นได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนรู้สึกปลอดภัยในอันดับต้น ๆ และรัฐบาลควรให้น้ำหนักเป็นอย่างแรก คือผลการประเมินความเสี่ยงในการเดินทางของรัฐบาลจีนและการออกมาตรการเพิ่มความปลอดภัยโดยรัฐบาลท้องถิ่น ที่ผู้ตอบแบบสอบถามประมานครึ่งหนึ่งระบุว่าทำให้รู้สึกปลอดภัย

รองลงมาประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ข้อมูลจากครอบครัว เพื่อน หรือนักท่องเที่ยวคนอื่นในสื่อสังคมออนไลน์และสื่อมวลชนในทางบวกจะช่วยให้รู้สึกปลอดภัยขึ้น ขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 ระบุว่าการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงต่ำแต่แรกหรือการซื้อประกันการเดินทางจะช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

สุดท้ายปัจจัยที่ไม่ช่วยให้นักท่องเที่ยวจีนรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น คือ การท่องเที่ยวกับกรุ๊ปทัวร์หรือการมีไกด์ทัวร์ท้องถิ่น รวมไปถึงการรับข้อมูลจากตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว (Travel Agent)

*แนะปรับเกมดึงยุโรป-อินเดีย แทน
นักท่องเที่ยวจีนจะฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้หรือไม่ และจะมีนักท่องเที่ยวชาติอื่นมาแทนที่นักท่องเที่ยวจีนได้หรือไม่นั้น KKP Research มองว่า ในระยะสั้นคงเป็นไปได้ยากที่นักท่องเที่ยวจีนจะหันกลับมาเที่ยวไทยอย่างในอดีต หากปัญหาเชิงโครงสร้างข้างต้น โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ไม่ถูกแก้ไข ขณะเดียวกันการหวังพึ่งพานักท่องเที่ยวชาติอื่น เพื่อชดเชยนักท่องเที่ยวจีนในระยะสั้นทันทีคงเป็นไปได้ยาก ทั้งในแง่จำนวนที่สูงหลายล้านคนและรายได้จากการท่องเที่ยวหลายแสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวอาจมีนักท่องเที่ยวบางประเทศที่มีโอกาสเติบโตขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญทดแทนนักท่องเที่ยวจีนที่ชะลอตัวลงไปได้เพียงบางส่วน โดย KKP Research มองว่านักท่องเที่ยวยุโรปและเอเชียใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย ควรเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ภาคท่องเที่ยวไทยควรให้ความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากความนิยมในการท่องเที่ยวไทยที่มากขึ้น โดยเฉพาะอินเดียมีการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลายปีหลังมานี้

โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนักท่องเที่ยวยุโรปและเอเชียใต้ฟื้นตัวได้ประมาณ 120% ของช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 และคิดเป็นสัดส่วนนักท่องเที่ยวเกือบ 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ฤดูกาลท่องเที่ยวของทั้ง 2 ภูมิภาคถือว่าสามารถชดเชยได้พอสมควร โดยนักท่องเที่ยวยุโรปจะมีฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปีถึงต้นปี ขณะที่นักท่องเที่ยวอินเดียมีฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงกลางปีมากกว่า โดยเฉพาะในเดือนพ.ค.-มิ.ย. ที่เป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวของไทยตามปกติ

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 2 กลุ่มนี้มีความแตกต่างจากนักท่องเที่ยวจีนค่อนข้างชัดเจน ซึ่งนำไปสู่การกำหนดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย ที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ดังนี้

1. ในมิติของพื้นที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวยุโรปส่วนใหญ่นิยมท่องเที่ยวภาคใต้เป็นหลัก รองลงมาคือภาคตะวันออกอย่างพัทยา และกรุงเทพฯ ส่วนนักท่องเที่ยวอินเดียมีความคล้ายคลึงกับนักท่องเที่ยวจีน คือครึ่งหนึ่งท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เป็นหลัก รองลงมาคือภาคตะวันออกและภาคใต้

2. ในมิติของรูปแบบการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ที่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวจีน โดยนักท่องเที่ยวยุโรปและอินเดียใช้จ่ายกับที่พักและโรงแรมมากกว่านักท่องเที่ยวจีน ขณะเดียวกัน มีการเดินทางภายในประเทศต่ำกว่า สะท้อนว่านักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักจะท่องเที่ยวเพียงไม่กี่สถานที่และให้ความสำคัญกับคุณภาพของที่พักเป็นหลัก โดยนักท่องเที่ยวอินเดียจะให้ความสำคัญกับกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ และการชอปปิ้งมากกว่าชาวยุโรป

ดังนั้น นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวอาจต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่เหมาะสม รวมไปถึงประเภทของธุรกิจที่ภาครัฐควรส่งเสริมมากขึ้น

ที่มาของข่าว: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ส.อ.ท.เตรียมชงข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯ ให้ทีมไทยแลนด์ใช้ต่อรองลดภาษีทรัมป์
    ส.อ.ท.เตรียมชงข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯ ให้ทีมไทยแลนด์ใช้ต่อรองลดภาษีทรัมป์
  12/07/2025

ทรัมป์ประกาศภาษีศุลกากร 14 ประเทศ มีผล 1 ส.ค. ไทยโดน 36%
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศในวันจันทร์ (7 ก.ค.) ว่า ประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 14 ...
  08/07/2025

เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
    เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
  07/07/2025

คาดเศรษฐกิจจีนโตเฉลี่ย 5% ใน Q2 ยังไม่หลุดเป้า แม้ภาษีสหรัฐฯกดดัน
    เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังคงแข็งแกร่ง แม้ชะลอลงจากไตรมาสแรก ...
  04/07/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
“กอบศักดิ์”หั่น GDP ปี 68 โต 2% แถม Downside เปิดมุมมองทางรอดท่องเที่ยว-ส่งออก-ลงทุน - 02/07/2025
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 68 ลงมาเหลือเติบโต 2% แบบมี Downside ที่จะเติบโตได้ต่ำกว่านั้น โดยหากเกิดกรณี worst case อาจจะเติบโตต่ำเหลือแค่ 1.5% ซึ่งจะต้องรอดติดตามว่าสถานการณ์ต่าง ๆ จะคลี่คลายอย่างไร โดยเฉพาะการเจรจาการค้าของสหรัฐที่สร้างความผันผวนตั้งแต่ต้นปี
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม - 01/07/2025
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า - 28/06/2025
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า
เช็ค 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงสุด 5 เดือนปี 68 - 26/06/2025
ตรวจสอบ 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงที่สุด 5 เดือนปี 68 ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ให้แล้วที่นี่
ผลกระทบภาษีทรัมป์ สะเทือนศก.ไทยครึ่งปีหลัง เสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค - 12/06/2025
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายด้านภาษีนำเข้า ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลกระทบต่อภาคการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจทั่วโลก โดยล่าสุด องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 68 ลงมาอยู่ที่ 2.9% และปรับประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงเหลือ 1.6% ซึ่งความไม่แน่นอนของนโยบายของสหรัฐฯ ทั้งด้านการค้า การเงิน การคลัง การศึกษา และการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อค่าเงิน เสถียรภาพ และศักยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จีนส่งออกไปสหรัฐฯ ลดฮวบ 34.5% ในเดือนพ.ค. หนักสุดในรอบกว่า 5 ปี - 10/06/2025
ยอดส่งออกสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐฯ ทรุดตัวลง 34.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2563 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดส่งออกโดยรวมของจีนขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค. ขณะที่ยอดนำเข้าจากสหรัฐฯ ลดลงกว่า 18% ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลดลง 41.55% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์
รัฐบาล มอบนโยบายทูตไทยทั่วโลก ดันการทูตเชิงรุก-เร่งดึงลงทุน-เจาะตลาดใหม่ ขับเคลื่อนศก.ไทย - 10/06/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกถึงแนวทางการยกระดับศักยภาพของประเทศผ่านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดยได้เน้นย้ำถึงการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และพลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมฐานข้อมูล การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจและการค้า และการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
จับตาส่งออกไทย Q3/68 สัญญาณชะลอตัว ท่ามกลางสงครามการค้ายังไม่แน่นอนสูง - 06/06/2025
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่า แม้ล่าสุดสงครามการค้าจะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนมีการเจรจาพักรบกันชั่วคราว โดยต่างฝ่ายต่างปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าลงฝ่ายละ 115% เป็นเวลา 90 วัน (สหรัฐฯ เก็บภาษีจีนเหลือ 30% และจีนเก็บภาษีสหรัฐฯ เหลือ 10%)
สงครามการค้ากระทบเศรษฐกิจเอเชีย ยอดส่งออก-การผลิตชะลอตัวในพ.ค. - 03/06/2025
กิจกรรมการผลิตในหลายประเทศเอเชียชะลอตัวในเดือนพ.ค. 2568 ท่ามกลางผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า ส่งผลให้ความต้องการสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศลดลงอย่างชัดเจน
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน - 30/05/2025
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง - 30/05/2025
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง
ททท. ลุยแคมเปญ “สวัสดี หนีห่าว” ตอกย้ำสัมพันธ์ไทย-จีน กระตุ้นเชื่อมั่นเที่ยวไทยปลอดภัย - 30/05/2025
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดแคมเปญเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ไทย-จีน “สวัสดี หนีห่าว” (Sawasdee Nihao) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ค.-1 มิ.ย. 68 ย้ำชัดไทยพร้อมเดินหน้ากระตุ้นนักท่องเที่ยวจีน และส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตร ตอกย้ำความเป็น “Quality Destination”
แบงก์ชาติ แนะรัฐบาลใช้งบ 1.57 แสนลบ. บรรเทาผลกระทบภาคธุรกิจ รับมือสงครามการค้า - 28/05/2025
ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ค.68 มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในการโยกงบประมาณที่จะใช้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 มาใช้เพื่อดำเนินโครงการอื่นแทน
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ - 14/05/2025
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ
ส่องทิศทางธุรกิจเชื้อเพลิงขยะปี 69 คาดมูลค่าตลาด 1.45 หมื่นลบ. ดีมานด์โตต่อเนื่อง - 03/05/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดเชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel (RDF) ในปี 2569 จะสูงขึ้นราว 15.1% แตะ 1.45 หมื่นล้านบาท จากการสนับสนุนของภาครัฐในด้านการจัดการกับปัญหาขยะ และการเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทน ซึ่งหนุนการขยายตัวของตลาดธุรกิจเชื้อเพลิงขยะ RDF
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่ - 02/05/2025
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร - 02/05/2025
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี - 30/04/2025
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี
นายกฯ สั่งรวบรวมมาตรการจุดแข็ง ผนึกอาเซียนเจรจาต่อรองภาษีสหรัฐ - 30/04/2025
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดนครพนม ในเรื่องการเจรจากับสหรัฐอเมริกาสำหรับกรอบความร่วมมือในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียนนั้น จะมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค. - 30/04/2025
ปลัดคลัง ยอมรับ GDP 3% ปีนี้ยากหลังเทรดวอร์มีผลกระทบ จับตาแถลง GDP Q1/68 ต้นพ.ค.
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 133 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2652 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.