สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

อาเซียนร่วมผลักดันเจรจา RCEP มั่นใจได้ข้อสรุปในปีนี้ขยายตลาด-ส่วนแบ่งการค้าโตเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ
  08/09/2019
ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 51 เริ่มแล้ว “จุรินทร์”มั่นใจจะสร้างความเข้มแข็งสู่เสถียรภาพและความมั่นคงทุกด้านของสมาชิก เจรจาอาร์เซปจบ ปีนี้ เพิ่มขนาดตลาดการค้าใหญ่ขึ้นทะลุ 3,500 ล้านคน หรือ 50% ของจำนวนประชากรโลก ขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายอาเซียนที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง



นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยระหว่างเปิดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 51 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดว่า ตลอดระยะเวลา 52 ปีที่ผ่านมานับจากอาเซียนก่อตั้งขึ้นได้ ดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาค ซึ่งนำมาสู่เสถียรภาพและความมั่นคงของอาเซียน และยังส่งเสริมบทบาทและความสำคัญของอาเซียนให้เด่นชัดขึ้นในสายตาประชาคมโลก

โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของการค้าการลงทุนของอาเซียนในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสำเร็จที่มาจากการร่วมลงมือระหว่างสมาชิกอาเซียนในการดำเนินมาตรการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และปัจจุบันแม้อาเซียนจะบรรลุเป้าหมายของการเป็นประชาคมไปแล้วตั้งแต่ปี 2558 แต่อาเซียนยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นการรับมือต่อความท้าทายใหม่ๆเช่น การเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบธุรกิจ

ขณะเดียวกันยังคงมุ่งเน้นการดำเนินงานต่อเนื่องในสิ่งที่ได้ดำเนินการมาแล้ว เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน และการลดผลกระทบจากมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะกรอบการลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ของทั้ง 10 ประเทศที่ได้ตกลงไว้ให้มีผลตั้งแต่ปี 2560 แต่ติดปัญหาบางประการ ดังนั้น ทั้ง 10 ประเทศจะพยายามใช้มาตรการลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้ได้โดยเร็วและให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังกันต่อไป

ทั้งนี้ปีนี้ไทยรับตำแหน่งประธานอาเซียน นับว่าการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจฉบับปัจจุบันได้ดำเนินมาเกือบครึ่งทางแล้ว ประเด็นเศรษฐกิจที่ไทยผลักดันจึงมุ่งเน้นภายใต้แผนงานที่เห็นว่าจะต้องดำเนินงานต่อเนื่องหรือเร่งรัดให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว รวมทั้งเรื่องใหม่ที่อาเซียนยังไม่เคยมีการดำเนินงานมาก่อน โดยคำนึงถึงแนวทางที่นายกฯได้ให้ไว้ ในด้านการเตรียมการสู่อนาคต การจัดทำแผนงานด้านนวัตกรรมและแผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นการสานต่อจากสิ่งที่สิงคโปร์ได้ผลักดันไว้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน

โดยการจัดทำแนวทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาทักษะทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4 (4IR) รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ล้วนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับองค์ประกอบสำคัญ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจอาเซียนให้มีการพัฒนาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนี้ด้านการสร้างความเชื่อมโยง คาดว่าสมาชิกอาเซียนจะสามารถเข้าร่วมการเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศภายในสิ้นปีนี้ ส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของการค้าการลงทุนในภูมิภาค อีกทั้งการจัดทำแผนแม่บทด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จะเป็นการนำศักยภาพของแต่ละประเทศสมาชิกมาช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับอาเซียนผ่านการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงการค้าและกระจายรายได้สู่ชุมชนมากขึ้น



ส่วนผลการเจรจาอาร์เซ็ป (RCEP) หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค 16 ประเทศ จะช่วยเสริมสร้างความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจามากขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกอาร์เซ็ปทั้ง 16 ประเทศในการหาทางออกร่วมกันและแสดงความยืดหยุ่นต่อกันให้มากที่สุดในช่วงเวลา 3 เดือนที่เหลือนี้เพื่อให้สามารถสรุปผลการเจรจาตามที่ผู้นำได้ตั้งเป้าหมายไว้ และมีเวลาจะเจรจาครั้งนี้และอีกครั้งเดือนพ.ย.62 และหวังว่าจะจบตามเป้าหมายที่นายกฯตั้งเป้าไว้ และคาดว่าผู้นำแต่ละประเทศจะมีการลงนามตามกรอบได้ในช่วงปีหน้า

ทั้งนี้เชื่อว่า การเจรจา RCEP มีแนวโน้มสูงที่จะสามารถบรรลุข้อตกลงภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่ประเทศสมาชิกทั้ง 16 ประเทศในการเพิ่มตลาดการค้าการส่งออกในระดับใหญ่ขึ้นถึง 3,500 ล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของจำนวนประชากรโลก

“RCEP ถ้าเจรจาเสร็จในปีนี้จะเร่งให้มีการลงนามของผู้นำทั้ง 16 ประเทศโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้ง 16 ประเทศมีตลาดการค้าเพิ่มขึ้นถึง 3,500 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งโลก และทั้ง 16 ประเทศนี้มี GDP มูลค่ารวมกันถึง 30% ของโลก ดังนั้นจะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้ง 16 ประเทศรวมทั้งไทยด้วย นี่จึงเป็นที่มา ที่เราพยายามเร่งรัดให้การเจรจาจบภายในปีนี้ให้ได้”

สำหรับความยั่งยืนเป็นประเด็นที่ไทยต้องการสร้างความตระหนักในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ปีนี้อาเซียนจะเริ่มความร่วมมือเพื่อต่อต้านการทำประมงไอยูยู จัดทำแนวทางการพัฒนาตลาดทุนเพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจมีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีความร่วมมือเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในอาเซียน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเติบโตของอาเซียนที่มีความสมดุลและยังคงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตและความต้องการของคนรุ่นหลังได้ในช่วงเวลานี้

“อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการจากปัจจัยแวดล้อมภายนอก อาเซียนจึงจำเป็นต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาความเป็นเอกภาพและความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN unity and centrality) เพื่อให้ประชาคมของเรามีความเข้มแข็งและสามารถก้าวพ้นจากความท้าทายดังกล่าว ซึ่งไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับสมาชิกอาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆของอาเซียน ในการขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายตามที่อาเซียนตั้งไว้ โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ทั้งนี้อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนครึ่งแรกของปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่าการค้ารวม 53,557.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 31,316.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 22,240.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยเกินดุล 9,076.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันการส่งออกของไทยไปอาเซียน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.47 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

ที่มาของข่าว: สยามรัฐออนไลน์
ส.อ.ท.เตรียมชงข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯ ให้ทีมไทยแลนด์ใช้ต่อรองลดภาษีทรัมป์
    ส.อ.ท.เตรียมชงข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯ ให้ทีมไทยแลนด์ใช้ต่อรองลดภาษีทรัมป์
  12/07/2025

ทรัมป์ประกาศภาษีศุลกากร 14 ประเทศ มีผล 1 ส.ค. ไทยโดน 36%
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศในวันจันทร์ (7 ก.ค.) ว่า ประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 14 ...
  08/07/2025

เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
    เปิด 20 อันดับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีทรัมป์หนักสุด
  07/07/2025

คาดเศรษฐกิจจีนโตเฉลี่ย 5% ใน Q2 ยังไม่หลุดเป้า แม้ภาษีสหรัฐฯกดดัน
    เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังคงแข็งแกร่ง แม้ชะลอลงจากไตรมาสแรก ...
  04/07/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
“กอบศักดิ์”หั่น GDP ปี 68 โต 2% แถม Downside เปิดมุมมองทางรอดท่องเที่ยว-ส่งออก-ลงทุน - 02/07/2025
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 68 ลงมาเหลือเติบโต 2% แบบมี Downside ที่จะเติบโตได้ต่ำกว่านั้น โดยหากเกิดกรณี worst case อาจจะเติบโตต่ำเหลือแค่ 1.5% ซึ่งจะต้องรอดติดตามว่าสถานการณ์ต่าง ๆ จะคลี่คลายอย่างไร โดยเฉพาะการเจรจาการค้าของสหรัฐที่สร้างความผันผวนตั้งแต่ต้นปี
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม - 01/07/2025
ก.แรงงาน เตรียมชงครม.พรุ่งนี้เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในกทม.-ธุรกิจโรงแรม
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า - 28/06/2025
รมว.คลัง เผยได้คิวเจรจาภาษีสหรัฐฯ แล้ว เตรียมเดินทางสัปดาห์หน้า
เช็ค 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงสุด 5 เดือนปี 68 - 26/06/2025
ตรวจสอบ 5 อุตสาหกรรมเปิดกิจการมูลค่าลงทุนสูงที่สุด 5 เดือนปี 68 ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ให้แล้วที่นี่
ผลกระทบภาษีทรัมป์ สะเทือนศก.ไทยครึ่งปีหลัง เสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค - 12/06/2025
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายด้านภาษีนำเข้า ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลกระทบต่อภาคการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจทั่วโลก โดยล่าสุด องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 68 ลงมาอยู่ที่ 2.9% และปรับประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงเหลือ 1.6% ซึ่งความไม่แน่นอนของนโยบายของสหรัฐฯ ทั้งด้านการค้า การเงิน การคลัง การศึกษา และการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อค่าเงิน เสถียรภาพ และศักยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จีนส่งออกไปสหรัฐฯ ลดฮวบ 34.5% ในเดือนพ.ค. หนักสุดในรอบกว่า 5 ปี - 10/06/2025
ยอดส่งออกสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐฯ ทรุดตัวลง 34.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2563 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดส่งออกโดยรวมของจีนขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค. ขณะที่ยอดนำเข้าจากสหรัฐฯ ลดลงกว่า 18% ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลดลง 41.55% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์
รัฐบาล มอบนโยบายทูตไทยทั่วโลก ดันการทูตเชิงรุก-เร่งดึงลงทุน-เจาะตลาดใหม่ ขับเคลื่อนศก.ไทย - 10/06/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกถึงแนวทางการยกระดับศักยภาพของประเทศผ่านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดยได้เน้นย้ำถึงการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และพลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมฐานข้อมูล การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจและการค้า และการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
จับตาส่งออกไทย Q3/68 สัญญาณชะลอตัว ท่ามกลางสงครามการค้ายังไม่แน่นอนสูง - 06/06/2025
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่า แม้ล่าสุดสงครามการค้าจะเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนมีการเจรจาพักรบกันชั่วคราว โดยต่างฝ่ายต่างปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าลงฝ่ายละ 115% เป็นเวลา 90 วัน (สหรัฐฯ เก็บภาษีจีนเหลือ 30% และจีนเก็บภาษีสหรัฐฯ เหลือ 10%)
สงครามการค้ากระทบเศรษฐกิจเอเชีย ยอดส่งออก-การผลิตชะลอตัวในพ.ค. - 03/06/2025
กิจกรรมการผลิตในหลายประเทศเอเชียชะลอตัวในเดือนพ.ค. 2568 ท่ามกลางผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า ส่งผลให้ความต้องการสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศลดลงอย่างชัดเจน
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน - 30/05/2025
ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ขยายตัว 3.3% สูงสุดในรอบ 3 เดือน
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง - 30/05/2025
ธปท.ระบุ เศรษฐกิจเม.ย.ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการผลิต-ภาคบริการที่เกี่ยวข้อง
ททท. ลุยแคมเปญ “สวัสดี หนีห่าว” ตอกย้ำสัมพันธ์ไทย-จีน กระตุ้นเชื่อมั่นเที่ยวไทยปลอดภัย - 30/05/2025
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดแคมเปญเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ไทย-จีน “สวัสดี หนีห่าว” (Sawasdee Nihao) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ค.-1 มิ.ย. 68 ย้ำชัดไทยพร้อมเดินหน้ากระตุ้นนักท่องเที่ยวจีน และส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตร ตอกย้ำความเป็น “Quality Destination”
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง - 29/05/2025
นทท.จีนวูบ ชั่วคราวหรือถาวร?? KKP แนะรัฐเร่งปรับนโยบาย-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
แบงก์ชาติ แนะรัฐบาลใช้งบ 1.57 แสนลบ. บรรเทาผลกระทบภาคธุรกิจ รับมือสงครามการค้า - 28/05/2025
ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ค.68 มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในการโยกงบประมาณที่จะใช้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 มาใช้เพื่อดำเนินโครงการอื่นแทน
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ - 14/05/2025
แบงก์ใหญ่แห่เพิ่มคาดการณ์ GDP จีน หลังบรรลุดีลการค้ากับสหรัฐฯ
ส่องทิศทางธุรกิจเชื้อเพลิงขยะปี 69 คาดมูลค่าตลาด 1.45 หมื่นลบ. ดีมานด์โตต่อเนื่อง - 03/05/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดเชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel (RDF) ในปี 2569 จะสูงขึ้นราว 15.1% แตะ 1.45 หมื่นล้านบาท จากการสนับสนุนของภาครัฐในด้านการจัดการกับปัญหาขยะ และการเปลี่ยนถ่ายไปสู่พลังงานทดแทน ซึ่งหนุนการขยายตัวของตลาดธุรกิจเชื้อเพลิงขยะ RDF
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่ - 02/05/2025
FCC คาดการณ์ว่าเกษตรกรชาวแคนาดาจะรอการซื้ออุปกรณ์การเกษตรใหม่
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร - 02/05/2025
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างของจีนจัดการกับภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างไร
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี - 30/04/2025
จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดข่มขู่และกดดัน หากต้องการเจรจากำแพงภาษี
นายกฯ สั่งรวบรวมมาตรการจุดแข็ง ผนึกอาเซียนเจรจาต่อรองภาษีสหรัฐ - 30/04/2025
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดนครพนม ในเรื่องการเจรจากับสหรัฐอเมริกาสำหรับกรอบความร่วมมือในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียนนั้น จะมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 133 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2652 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.