สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ชี้ช่องอุตสาหกรรมไทยคว้าโอกาส ในวันที่โลกแบ่งขั้วรุนแรงขึ้น
  17/06/2024
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า นับวัน ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากความไว้วางใจกันระหว่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีแนวโน้มรับมือกับความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ผ่านการพึ่งพาตนเอง หรือประเทศพันธมิตรมากขึ้น และกีดกันไม่ให้ประเทศที่มองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง เอาเปรียบและแข่งขันทัดเทียมกันได้
* ยิ่งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์รุนแรง ยิ่งเร่งการแบ่งขั้วเศรษฐกิจ (Decoupling)
SCB EIC ชี้ว่า นโยบายระหว่างประเทศในระยะข้างหน้า จึงหันมาเน้นการกีดกันการค้าการลงทุน เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ และเครือข่ายชาติพันธมิตร เพื่อรักษาระเบียบระหว่างประเทศ นำไปสู่การชะลอกระแสโลกาภิวัตน์และทำให้โลกแบ่งขั้วมากขึ้น

จากการศึกษาผลกระทบจากแนวโน้มการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่จะรุนแรงขึ้น โดยแบ่งกลุ่มประเทศในโลก ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และจีน ผ่านเกณฑ์การจัดกลุ่มประเทศจากปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ พบว่า หลังการแบ่งขั้วเศรษฐกิจ รูปแบบการค้าระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไป กลุ่มประเทศที่มีขั้วเศรษฐกิจต่างกัน จะพึ่งพาการค้าระหว่างกันลดลง และหันมาพึ่งพาประเทศที่มีบทบาทเป็นกลาง (Neutral stance) มากขึ้น

ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งรักษาบทบาทเป็นกลางในเกมภูมิรัฐศาสตร์โลก จะได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าและการลงทุน (Trade and investment diversion) จากกลุ่มประเทศที่แบ่งขั้วกันมากขึ้น

*ธุรกิจไทยแต่ละประเภท ได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน
แม้ในภาพรวมการส่งออกไทย มีโอกาสได้รับประโยชน์จากรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนไป แต่ภาคการผลิตของไทย จะได้รับผลกระทบแตกต่างกัน SCB EIC ประเมินผลกระทบภาคอุตสาหกรรมไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

(1) กลุ่มที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากโลกแบ่งขั้วรุนแรงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เคยมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาไทยตั้งแต่เริ่มสงครามการค้าในปี 2561 ก่อนหน้านี้แล้ว ส่งผลให้ไทยมีจุดแข็งด้านห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และส่วนประกอบ หรือเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยจะได้อุปสงค์สินค้าทดแทนเพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศที่แบ่งขั้วกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากข้อพิพาททางการค้า เช่น เครื่องดื่มและยาสูบ เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอยู่แล้ว และโลกยังมีความต้องการสินค้าเหล่านี้สูงขึ้น โดยผลการศึกษาพบว่า

คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ อาจขยายตัวได้ถึง 6% จากกรณีฐาน โดยจะมีความต้องการนำเข้าที่เบี่ยงเบนมาจากกลุ่มที่แบ่งขั้วกันเป็นหลัก เช่น สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น
รถยนต์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 8% และ 1.6% ตามลำดับ โดยมีความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศเป็นกลางด้วยกัน เช่น ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ รวมถึงประเทศขั้วสีแดง

เครื่องดื่มและยาสูบ มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 3% โดยจะมีความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นหลัก ๆ จากประเทศเป็นกลางในภูมิภาคเดียวกัน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
(2) กลุ่มที่มีโอกาสเสียประโยชน์จากโลกแบ่งขั้วรุนแรงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมไทยที่ผูกโยงกับห่วงโซ่การผลิตของจีนหรือพึ่งพาอุปสงค์จากตลาดจีนเยอะ เช่น ปิโตรเคมีและพลาสติก ยางพาราและไม้ยางพารา ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แผงวงจรพิมพ์ อาหารทะเลแปรรูปและแช่แข็ง หรือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันรุนแรงภายในภูมิภาคเพื่อแย่งชิงอุปสงค์ทดแทนจีนจากสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น เช่น เฟอร์นิเจอร์ เซมิคอนดักเตอร์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาดของสินค้าจีน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เหล็กและเหล็กกล้า ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สิ่งทอ รวมไปถึงอาจมีผู้ผลิตจากขั้วประเทศสีแดง ย้ายฐานการผลิตออกมาผลิตแข่งกับอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อลดการกีดกันการส่งออกสินค้าจากประเทศของตน โดยพบว่า

เสื้อผ้าและสิ่งทอ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกของไทยที่ยังผูกโยงกับห่วงโซ่การผลิตโลกเก่า และมีความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยมูลค่าการส่งออกสิ่งทอไทย จะลดลงมากถึง 24% จากกรณีฐาน
เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งสาขาการผลิตขนาดใหญ่ที่จะเสียประโยชน์ มูลค่าการส่งออกอาจลดลงราว 6% อย่างไรก็ดี แม้จะมีการแข่งขันสูงในการส่งออกสินค้าเหล่านี้ แต่ไทยยังพอมีตลาดส่งออกไปยังประเทศแบ่งขั้วที่ต้องการสินค้านำเข้าทดแทนได้อยู่บ้าง
"ผลการศึกษาข้างต้นชี้ว่า หากการแบ่งขั้วในโลกรุนแรงขึ้นจะเป็นโอกาสของไทยได้ ถ้าไทยมีกลยุทธ์ในการปรับตัวเชิงรุก เพราะส่วนหนึ่งไทยต้องเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตที่เป็นปัญหาสะสมมานาน ในช่วงที่ผ่านมา ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยยังมีจำกัด และมีศักยภาพการส่งออกต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง เพราะสินค้าส่งออกไทยส่วนใหญ่ ยังผูกโยงกับห่วงโซ่การผลิตของโลกเก่า และปรับตัวได้ค่อนข้างช้าต่อความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป" บทวิเคราะห์ระบุ
* ไทยจะคว้าโอกาสได้ ต้องปรับตัวสู่ธุรกิจเชิงรุก
SCB EIC ระบุว่า บางอุตสาหกรรม อาจได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่การผลิตโลก แต่อาจเผชิญความเสี่ยงและการแข่งขันสูง ทั้งนี้ ไทยจะสามารถคว้าโอกาสจากโครงสร้างการค้าโลกที่เปลี่ยนไปได้ นโยบายส่งเสริมการส่งออก และการปรับตัวของภาคธุรกิจเชิงรุกจะต้องสอดคล้องกับบริบทเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภท ที่อาจได้หรือเสียประโยชน์แตกต่างกัน แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง แต่แข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรเน้นพัฒนาความสามารถในการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และความได้เปรียบในการแข่งขัน ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวชูจุดแข็งของสินค้า และเจาะตลาดเป้าหมาย รวมถึงวางกลยุทธ์เพิ่มส่วนแบ่งตลาด และปรับสินค้าให้ทันเทรนด์โลก

2) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง และการแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกเปิดตลาดใหม่กระจายความเสี่ยง และยกระดับกระบวนการผลิตตามมาตรฐานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคธุรกิจ ต้องปรับตัวลดความเสี่ยงจาก Climate change และลงทุนพลังงานหมุนเวียน

3) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง แต่การแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรให้สิทธิประโยชน์จูงใจให้ดำเนินธุรกิจเดิม แต่ลงทุนเพิ่มศักยภาพการผลิต มุ่งตลาดส่งออกที่มีอยู่ ขณะที่ภาคธุรกิจควรปรับตัวเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีการผลิต และสร้างความเข้าใจในตลาดขั้วสหรัฐฯ และขั้วจีนเพื่อเข้าถึงความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น

4) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง และแข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปยังภาคการผลิตที่มีศักยภาพในการเติบโตบนห่วงโซ่การผลิตใหม่ได้ ขณะที่ภาคธุรกิจควรเร่งปรับตัวสู่ห่วงโซ่การผลิตใหม่ และหาพันธมิตรด้านเทคโนโลยีสนับสนุน

SCB EIC มองว่า โลกที่แบ่งขั้วไปแล้วคง ยากจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่ไทยสามารถคว้าโอกาสจากความขัดแย้งนี้ และเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์กับประเทศได้ โดยอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ผ่านการออกแบบนโยบายเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสม พอดีตัว กับประเภทธุรกิจที่มีปัญหาแตกต่างกัน และผลักดันเชิงรุก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคการส่งออก

รวมถึงภาคธุรกิจเอง ที่ต้องตระหนักถึงโลกที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยต้องเร่งทำความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นจากภายนอกสู่ภายในธุรกิจของตนเอง เพื่อให้การส่งออกไทยอยู่รอดได้ทั้งในสถานการณ์ "โลกรวมกัน เราก็อยู่" หรือแม้ "โลกแยกหมู่ ไทยก็ยังรอด"


ที่มาของข่าว: RYT9
จีนประกาศแผนลดกำลังการผลิตเหล็ก หวังปรับโครงสร้าง-ลดความตึงเครียดการค้าโลก
    จีนเตรียมปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่ผ่านการลดกำลังการผลิต ...
  07/03/2025

‘พาณิชย์’ หารืออาร์เจนตินา มุ่งจัดทำ FTA ขยายโอกาสทางการค้า-การลงทุน ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
    ‘พาณิชย์’ หารืออาร์เจนตินา มุ่งจัดทำ FTA ขยายโอกาสทางการค้า-การลงทุน ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
  04/03/2025

นายกฯ หารือคลังติดตามคืบหน้ามาตรการกระตุ้นศก. เตรียมจัดทำแผนใน 2 สัปดาห์
    นายกฯ หารือคลังติดตามคืบหน้ามาตรการกระตุ้นศก. เตรียมจัดทำแผนใน 2 สัปดาห์
  04/03/2025

สศอ. แถลงข่าว ”ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2568“
    สศอ. แถลงข่าว ”ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2568“
  03/03/2025


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
คลัง จ่อทำ Master Plan มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เข็น GDP ปีนี้โตเกิน 3% - 28/02/2025
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวในการประชุมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.), ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่า เป็นการหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2568 ซึ่ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการว่าต้องการเห็นเป้าหมายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ของรัฐบาลในเชิงรุก ที่ 3-3.5% ดังนั้นจึงต้องมาพิจารณาว่าจะดำเนินการในเรื่องใดได้บ้างเพื่อสนับสนุนการเติบโตให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย
นายกฯ สั่งเร่งทุกกระทรวงทำแผนกระตุ้น GDP ไตรมาส 1/68 ต้องโตไม่น้อยกว่า 3.2% - 26/02/2025
นายกฯ สั่งเร่งทุกกระทรวงทำแผนกระตุ้น GDP ไตรมาส 1/68 ต้องโตไม่น้อยกว่า 3.2%
สศอ.ประเมิน 5 อุตสาหกรรมเด่นปี 68 โตตามปัจจัยหนุนรอบด้าน - 10/02/2025
สศอ.ประเมิน 5 อุตสาหกรรมเด่นปี 68 โตตามปัจจัยหนุนรอบด้าน
ปลุกพลัง SMEs! ก.อุตฯ อัดฉีด 20 ลบ. ผ่าน 4 โครงการเด็ด เสริมแกร่ง รับเศรษฐกิจยุคใหม่ - 07/02/2025
ปลุกพลัง SMEs! ก.อุตฯ อัดฉีด 20 ลบ. ผ่าน 4 โครงการเด็ด เสริมแกร่ง รับเศรษฐกิจยุคใหม่
"พิชัย“ เตรียมบินสหรัฐฯ ร่วมงาน NPB 2025 วันที่ 4-8 ก.พ.นี้ พบปะผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั่วโลก เจรจาเชิงรุก สร้างโอกาสการค้าไทย - 06/02/2025
"พิชัย“ เตรียมบินสหรัฐฯ ร่วมงาน NPB 2025 วันที่ 4-8 ก.พ.นี้ พบปะผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั่วโลก เจรจาเชิงรุก สร้างโอกาสการค้าไทย
กกร. มองศก.ไทยปี 68 โตจำกัด สงครามการค้ารอบใหม่-บาทแข็ง กดดันส่งออก - 06/02/2025
ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวจำกัด เนื่องจากการกีดกันทางการค้าที่รุนแรง และทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จะเป็นความท้าทายต่อการส่งออกของไทย ส่วนภาคอุตสาหกรรมบางสาขา เผชิญการแข่งขันจากสินค้าจากต่างประเทศ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ
ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย ธ.ค.67 ชะลอลงตามการส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้ท่องเที่ยวฟื้น - 03/02/2025
ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย ธ.ค.67 ชะลอลงตามการส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้ท่องเที่ยวฟื้น
ส.อ.ท. วางเป้ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้ 1.5 ล้านคัน หลังปี 67 พลาดเป้า - 29/01/2025
ส.อ.ท. วางเป้ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้ 1.5 ล้านคัน หลังปี 67 พลาดเป้า
ชาวไร่อ้อย-โรงน้ำตาล ช่วยลด PM2.5 ทุบสถิติอ้อยเผาต่ำสุดในประวัติศาสตร์ - 28/01/2025
ชาวไร่อ้อย-โรงน้ำตาล ช่วยลด PM2.5 ทุบสถิติอ้อยเผาต่ำสุดในประวัติศาสตร์
ส่อง 18 อุตสาหกรรมไทยปี 68 แนวโน้มโตต่อเนื่อง ห่วงนโยบาย "ทรัมป์" เขย่าเศรษฐกิจ - 27/01/2025
ส่อง 18 อุตสาหกรรมไทยปี 68 แนวโน้มโตต่อเนื่อง ห่วงนโยบาย "ทรัมป์" เขย่าเศรษฐกิจ
ศุลกากรจีนโต้ผลผลิตล้น ดันส่งออกทะลัก - 15/01/2025
หวัง หลิงจวิน รองหัวหน้าสำนักงานศุลกากรจีน กล่าวในการแถลงข่าววันนี้ (13 ม.ค.) ว่า คำกล่าวอ้างที่ว่า จีนมีกำลังการผลิตล้นเกินจนต้องระบายส่งออกสินค้านั้น เป็นการหลอกลวงให้เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง
KTB คาด GDP ปี 68 โต 2.7% จับตา 5 ประเด็นสำคัญ จุดพลิกผันเศรษฐกิจไทย - 15/01/2025
นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Cheif Economist ธนาคารกรุงไทย [KTB] กล่าวว่า Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 68 ว่าจะขยายตัวได้ 2.7% โดยที่ยังคงมีแรงกดดันจากประเด็นสงครามการค้าที่กลับมาเร่งตัวขึ้น และความไม่แน่นอนของทิศทางเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกปีนี้ อาจขยายตัวเพียง 2% ชะลอลงจากปีก่อน แม้ว่าในครึ่งปีแรก คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี แต่ความชัดเจนของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ จะกลับมากดดันการส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบกับปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการส่งออกสินค้า ที่ยังอยู่ท่ามกลางการตีตลาดที่รุนแรง และขยายวงมากขึ้นจากปัจจัย Oversupply ในจีน
FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนเข้าเกณฑ์ “ซบเซา” กังวลความขัดแย้งระหว่างประเทศ-นำเข้าส่งออก - 15/01/2025
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนธ.ค.67 (สำรวจระหว่างวันที่ 18-31 ธ.ค.67) พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับลงมาอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” ที่ระดับ 78.52
บาซูก้าไม่เห็นผล! เศรษฐกิจจีนจม 'เงินฝืด' ดัชนี CPI วูบหนักใกล้แตะ 0% - 14/01/2025
จีนเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นแค่ 0.1% ชะลอตัวลง 4 เดือนติดต่อกันแม้ได้มาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลแล้ว ทำเศรษฐกิจเสี่ยงติดหล่ม "ภาวะเงินฝืด"
‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% พร้อมรับมือโลกผันผวนในยุค 'ทรัมป์' - 14/01/2025
รมว.คลัง ‘มาเลเซีย’ มั่นใจเศรษฐกิจปี 68 โตเกิน 5% รับอานิสงส์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ พร้อมรับมือเศรษฐกิจโลกผันผวนท่ามกลางสงครามการค้าในยุค ‘ทรัมป์’
ยุทธศาสตร์สามเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย: เครื่องยนต์ตัวใหญ่ ตัวใหม่ และตัวเล็ก - 13/01/2025
เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตช้าลงจากราว 8% ต่อปี ในช่วงปี 2523-2532 มาอยู่ราว 4% หลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 จนถดถอยมาอยู่ที่ต่ำกว่า 3% ในช่วงสิบปีให้หลังนี้ การเติบโตที่ต่ำมากนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอัดฉีดเงินการคลังเพิ่มได้มากนัก เพราะไทยขาดดุลการคลังต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 18 ปีแล้ว ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะสูงขึ้นจนอยู่ที่มากกว่า 60% ของจีดีพี มากไปกว่านั้น หนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของจีดีพีสะท้อนถึงขีดจำกัดที่จะสร้างการเติบโตด้วยการกระตุ้นบริโภคเช่นกัน
ส่งออกไทยป่วน จ่อสูญ 1.3 แสนล้าน “ทรัมป์” ขึ้นภาษี ร่วม BRICS เสี่ยงถูกตอบโต้ - 13/01/2025
ส่งออกไทยปี 68 ส่อหืดจับ ลุ้นระทึกเป้าโต 3% เอกชน-นักวิชาการเป่าปากปัจจัยเสี่ยงอื้อ ทั้ง “ทรัมป์ 2.0” สินค้าไทย-สินค้าโลกจ่อถูกสหรัฐขึ้นภาษี ชี้เก็บเพิ่ม 10% สูญ 1.3 แสนล้าน ขณะสินค้าจีนถูกบีบ ทะลักขายแข่งแย่งตลาดทั่วโลก ไทยร่วมกลุ่ม BRICS เสี่ยงส่งออกไปสหรัฐได้ลดลง
จับตาศก.ไทยปี 68 โตชะลอ แรงหนุนส่งออก-ท่องเที่ยวแผ่ว สงครามการค้าเริ่มส่งผล - 13/01/2025
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 จะเติบโตช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อย ตามแรงหนุนท่องเที่ยว ส่งออกที่ลดลง ท่ามกลางความเสี่ยงสงครามการค้า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน และภาคการผลิตไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยแรงส่งจากภาคท่องเที่ยวต่อ GDP เริ่มลดลง หลังจำนวนเข้าใกล้ระดับก่อนโควิด
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต - 09/01/2025
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเวียดนามทะลุ 1.1 แสนล้านดอลล์ เหตุเงินดองอ่อนหนุนส่งออกโต
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย. - 09/01/2025
ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเยอรมนีร่วงผิดคาด 5.4% ในเดือนพ.ย.
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 131 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2620 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.