สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรม : ต้นตอฝุ่นพิษที่ถูกลืม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
  19/01/2024
โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรม : ต้นตอฝุ่นพิษที่ถูกลืม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคประชาสังคมเสนอรัฐบาลจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ และผ่านกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและ เคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)
ภาคประชาสังคมนำโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) Thai Climate Justice for All (TCJA) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) เปิดเวทีสาธารณะที่ SEA Junction หอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอข้อมูลและบทเรียนจากเมืองใหญ่ในไทยและต่างประเทศ ผลสำรวจแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่จากอุตสาหกรรมที่ถูกละเลย และข้อเสนอทางออกจากวิกฤต

วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) กล่าวว่า "เมื่อเกิดวิกฤตฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เรามักจะพุ่งเป้าไปที่รถยนต์เป็นหลัก แต่แหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษ PM2.5 ไม่ใช่แค่นั้น พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดฝุ่นและคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ คือโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังผลิตสูงมาก ซึ่งปล่อยฝุ่นมากกว่ารถยนต์หลายเท่า การต่อกรกับวิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 ได้จริงจะต้องจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ดังกล่าว"

วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ยกกรณีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่คือ โรงกลั่นน้ำมันบางจากซึ่งเป็นโรงกลั่นแบบ Complex Refinery กำลังการผลิตสูงสุด 120,000 บาร์เรลต่อวันและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 900,000 ตัน และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ซึ่งปัจจุบันมีกำลังผลิตรวม 1,930 เมกะวัตต์ และมีแผนจะขยายเพิ่มรวมทั้งสิ้นเป็น 4,519.4 เมกะวัตต์ในปี 2569-2570 ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศวันละกว่า 4.6 ตัน และปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) มากกว่า 6.4 ตันต่อวัน

การปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ในบรรยากาศนำไปสู่การก่อตัวของ PM2.5 และโอโซน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนทั่วโลก โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจและความเสียหายต่อปอดหากรับเข้าไปแบบเฉียบพลัน และเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเรื้อรังหากรับเข้าไปในระยะยาว (Long-term exposure) ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เกิดขึ้นทั่วโลกในสหภาพยุโรป การรับเอา NO2 เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 75,000 คนต่อปีในจีน มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นโดยระบุว่า ผลจากการสัมผัส NO2 นำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจ

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า "ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ที่ปล่อยจากแหล่งกำเนิดอย่างโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลนั้นมีศักยภาพสูงในการก่อตัวของมลพิษขั้นทุติยภูมิ(secondary pollutants) รวมถึงฝุ่นพิษ PM2.5 ในบรรยากาศของกรุงเทพฯ และปริมณฑล การติดตามตรวจสอบและลดการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์จึงมีความสำคัญ นอกเหนือจากการที่สาธารณชนต้องเข้าถึงรายงานการวัดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่ปลายปล่องแล้ว มีความจำเป็นเร่งด่วนในการทำให้มาตรฐานการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์เข้มงวดมากขึ้น"


เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการ มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า "การศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศในจังหวัดสมุทรสาครเมื่อปี 2564 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นพิษ PM2.5 เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดจากภาคการจราจรและขนส่ง การเผาขยะมูลฝอย และการเผาในที่โล่ง โดยพื้นที่วิกฤตที่มีการปลดปล่อยสูงสุดคือ อ.เมืองสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนาแน่นและเป็นหนึ่งในปริมณฑลสำคัญของกรุงเทพฯ มูลนิธิฯ ยังได้มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนโรงงานในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล โดยอ้างอิงข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อปี 2560 พบว่า มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 13,272 แห่งที่เป็นแหล่งก่อมลพิษทางอากาศ"

การศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศยังได้เจาะลึกถึงสารโลหะหนัก (Heavy metal) และสารมลพิษตกค้างยาวนาน (สาร POPs) ในองค์ประกอบของฝุ่น PM2.5 พบว่า การปนเปื้อนของสารมลพิษอันตรายทั้งโลหะหนักและสารมลพิษตกค้างยาวนานนั้นเกินค่าที่ปลอดภัยที่ต่างประเทศกำหนดไว้ถึงกว่า 20 เท่า อีกทั้งยังสูงกว่าผลการวิเคราะห์ปริมาณสารไดออกซินในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2555มากกว่า 4-5 เท่า ซึ่งสารทั้งสองกลุ่มนี้มีอันตรายต่อสุขภาพสูง


มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) Thai Climate Justice for All(TCJA) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม(EnLaw) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) มีข้อเสนอต่อหน่วยงานรัฐดังต่อไปนี้

มาตรการเฉพาะสำหรับโรงกลั่นน้ำมันและโรงไฟฟ้าในเขต กทม.

วางแผนการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงประจำปี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพอากาศ เช่น การหยุดซ่อมบำรุงประจำปี 45 วัน เป็นช่วงเดียวกับฤดูที่มีวิกฤติฝุ่น
ติดตั้งเทคโนโลยี WGS (wet gas scrubber) ที่ FCCU กรณีโรงกลั่นบางจาก
ติดตั้งเทคโนโลยีระบบควบแน่นและระบบกรองที่ระบบไอเสียก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ กรณีโรงไฟฟ้า
มาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษให้สำเร็จ

รัฐสภาและรัฐบาลสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ?. (PRTR) ซึ่งเป็นกฎหมายโดยตรงสำหรับการตรวจสอบและลดการปล่อยมลพิษจากทุกประเภทแหล่งกำเนิดที่ประเทศพัฒนาทุกแห่งมีการบังคับใช้
ตรวจสอบระบบการบำบัดอากาศเสียและปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงงานในเขต กทม. และปริมณฑลที่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 และโรงงานที่มีกฎหมายควบคุมการปล่อยอากาศเสียเป็นการเฉพาะ ได้แก่ กิจการโรงโม่ บดหรือย่อยหิน โรงผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็ก/เหล็กกล้า โรงไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงคัดแยก/ฝังกลบ และโรงงานรีไซเคิล
สำหรับโรงกลั่นน้ำมัน / โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยฝุ่นมากควรมีมาตรการกำกับให้ลดหรืองดการเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศปิด และมี PM2.5 อยู่ในระดับวิกฤต
ระบบการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของภาครัฐต้องพร้อมสุ่มตรวจตลอดเวลา ที่ควรมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจวัดปกติสำหรับโรงงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการในรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากข้อกำหนดของ EIA กำหนดการตรวจวัดไว้เพียงปีละสองครั้งที่ปลายปล่องระบายอากาศเสีย ซึ่งไม่ตรงกับช่วงเกิดวิกฤตการณ์ (การสุ่มตรวจวัดนี้เป็นคนละส่วนกับจุดตรวจวัดและการแสดงคุณภาพอากาศ ณ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า)
ชะลอและทบทวนโครงการการก่อสร้างส่วนต่อขยาย การเพิ่มกำลังผลิต หรือการทดแทนกำลังผลิตเดิมที่หมดอายุในบริเวณเดิม (หรือในเขต กทม.และปริมณฑล) อนึ่ง การทำรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA และ EHIA) ในปัจจุบันของโครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ไม่ได้คำนึงถึงช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 แต่อย่างใด
มาตรการระยะยาว

ย้ายแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการนำหลักการผังเมืองมาบังคับใช้ให้เข้มข้น
ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ในภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตคุณภาพอากาศ (โดยใช้ค่ามาตรฐาน PM และ AQI ที่เป็นสากล) เพื่อเป็นแม่บทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต
ปรับปรุงและออกกฎหมายโดยใช้มาตรการและมาตรฐานที่เป็นสากลและได้ผล โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมภายใต้กติกาและวัฒนธรรมประชาธิปไตย

ที่มาของข่าว: RYT9
Massey Ferguson เปิดตัวซีรีส์ MF 8S Xtra ใหม่
    Massey Ferguson เปิดตัวซีรีส์ MF 8S Xtra ใหม่
  06/07/2025

Liebherr ส่งมอบรถปรับดินขนาด 70 ตันให้กับเหมืองในบริติชโคลัมเบีย
    นอกจากนี้ Taseko Mines ยังได้รับรถปรับดิน PR 776 จำนวน 3 คัน เพื่อช่วยขนหินได้ 308,000 ตันต่อวัน
  05/07/2025

DEMCO เปิดตัว Harvest Vision – เครื่องมือเพื่อการเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้น
    DEMCO Harvest Vision เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรถเข็นเก็บธัญพืช
  03/07/2025

บินอย่างชาญฉลาด: โดรนที่มีกล้องสามตัวตรวจจับความเครียดของพืชผลเพื่อการทำฟาร์มงาที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น
    บินอย่างชาญฉลาด: โดรนที่มีกล้องสามตัวตรวจจับความเครียดของพืชผลเพื่อการทำฟาร์มงาที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น
  03/07/2025


ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอื่นๆ
(มีจำหน่ายเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น)MHI-AC&R ได้รับรางวัล Recommendation Award จาก JARAC's 42nd Excellent Energy Saving Equipment Awards - รางวัลที่มอบให้สำหรับการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอนที่ได้รับจากการปรับปรุงอุปกรณ์ทำความเย็น - 02/07/2025
(มีจำหน่ายเฉพาะในตลาดญี่ปุ่น)MHI-AC&R ได้รับรางวัล Recommendation Award จาก JARAC's 42nd Excellent Energy Saving Equipment Awards - รางวัลที่มอบให้สำหรับการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอนที่ได้รับจากการปรับปรุงอุปกรณ์ทำความเย็น
Eaton เปิดตัวซีรีส์ตัวกรอง 3 ตัว ได้แก่ DUA, LWF และ DNR - 01/07/2025
แผนกการกรองของบริษัท Eaton ซึ่งเป็นบริษัทจัดการพลังงานอัจฉริยะ ได้ขยายสายผลิตภัณฑ์ด้วยการเปิดตัวตัวกรองประสิทธิภาพสูง 3 รุ่น ได้แก่ DUA, LWF และ DNR ตัวกรองรุ่นใหม่ได้รับการออกแบบมาให้มีความทนทาน ประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือที่โดดเด่น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานหนัก เช่น การผลิตไฟฟ้า การผลิต การดำเนินงานทางทะเล และอื่นๆ
คัดกรองเศษวัสดุจากการก่อสร้างและวัสดุรีไซเคิลด้วยโซลูชันการคัดกรองล่าสุดของ EDGE Innovate - 30/06/2025
SCREENPRO S16 มีประสิทธิภาพเท่ากับรุ่นก่อนหน้าในกรอบที่กะทัดรัดยิ่งขึ้น
ทำลาย บด ตัด: FAE เปิดตัวอุปกรณ์เสริมมัลติทาสก์สำหรับสายพานลำเลียงติดตาม PT300 - 29/06/2025
ไม่ว่าคุณจะกำลังสับไม้ บดหิน หรือตัดตอไม้ FAE บอกว่ามีอุปกรณ์เสริมใหม่สำหรับยานพาหนะติดตาม PT300 ที่สามารถทำได้ทุกอย่าง
Deere เปิดตัวรถแบ็คโฮรุ่นใหม่พร้อมห้องโดยสารและระบบกล้องที่ออกแบบใหม่ - 27/06/2025
Deere เปิดตัวรถแบ็คโฮรุ่นใหม่พร้อมห้องโดยสารและระบบกล้องที่ออกแบบใหม่
รถตักล้อยาง P-Tier ขนาดกลางรุ่นใหม่ของ Deere ได้รับเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพ - 26/06/2025
รถตักล้อยางรุ่น 524 P-Tier, 544 P-Tier และ 624 P-Tier รุ่นใหม่ของ Deere มาพร้อมเทคโนโลยีขั้นสูงและคุณสมบัติการทำงานที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้รับเหมาเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
มาตรฐานสากลใหม่สำหรับการควบคุม MEWP เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน - 25/06/2025
Genie ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน การฝึกอบรม และบริษัทให้เช่าได้รับข้อมูลอัปเดตขณะที่ OEM ปรับปรุงการออกแบบลิฟต์เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากล
MHI ได้รับคำสั่งซื้อเพื่อจัดหาปั๊ม 5 รุ่น รวม 34 ยูนิต สำหรับ Sizewell C ยูนิต 1 และ 2 ในสหราชอาณาจักร จาก Trillium Flow Technologies - 25/06/2025
MHI ได้รับคำสั่งซื้อเพื่อจัดหาปั๊ม 5 รุ่น รวม 34 ยูนิต สำหรับ Sizewell C ยูนิต 1 และ 2 ในสหราชอาณาจักร จาก Trillium Flow Technologies
รถปรับดินรุ่นใหม่ 850 X-Tier อันทรงพลังของ John Deere พร้อมระบบ E-Drive ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานควบคุมได้สูงสุด - 13/06/2025
รถปรับดิน P-Tier ได้รับการปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีเจเนอเรชันใหม่
รถตักล้อยางรุ่นใหม่ล่าสุดของ Komatsu ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมวลรวม - 11/06/2025
เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังใหม่ช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันพร้อมเพิ่มกำลัง
ย้อนรอยวิธีการบด: เครื่องบดแบบกระแทก Keestrack I4e ที่พลิกกลับได้ - 09/06/2025
ย้อนรอยวิธีการบด: เครื่องบดแบบกระแทก Keestrack I4e ที่พลิกกลับได้
รถขุดขนาดใหญ่รุ่นใหม่ล่าสุดของ CASE ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้ 18 เปอร์เซ็นต์ - 05/06/2025
CX380E 268 แรงม้า ให้ผู้ปฏิบัติงานมีโหมดการทำงานประหยัดเชื้อเพลิง 4 โหมดที่ปรับกำลังให้เหมาะสมกับงาน
Hyundai CE และ Leica เปิดตัวระบบนำทางเครื่องจักรแบบ 3 มิติสำหรับรถขุดตีนตะขาบ - 04/06/2025
Leica Geosystems ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Hexagon และ Hyundai CE ได้เปิดตัวระบบนำทางเครื่องจักรแบบ 3 มิติ Leica MC1 ซึ่งเป็นตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับรถขุดตีนตะขาบรุ่นถัดไป โดยออกแบบมาโดยเฉพาะให้ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ 2 มิติและระบบสอบเทียบที่มีอยู่ของ Hyundai ได้อย่างราบรื่น
Motion ยกระดับโซลูชันสายพานด้วยร้านขนส่งแห่งแรกในแคนาดา - 02/06/2025
โรงงานขนาด 9,600 ตารางฟุตมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการติดตั้งสายพานขั้นสูง
รถขุดไฮดรอลิกของ Caterpillar ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดพร้อมโปรแกรมอัปเดตผลิตภัณฑ์ประจำปี - 02/06/2025
รถขุดไฮดรอลิกของ Caterpillar ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดพร้อมโปรแกรมอัปเดตผลิตภัณฑ์ประจำปี
LiuGong และ Leica ร่วมกันเปิดตัวชุดควบคุมเครื่องจักร 3 มิติสำหรับรถขุด - 28/05/2025
Leica Geosystems ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Hexagon และ LiuGong ได้ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่เพื่อเปิดตัวชุดอุปกรณ์ใหม่ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้งระบบควบคุมเครื่องจักร 3D MC1 ของ Leica Geosystems บนรถขุด LiuGong หลากหลายรุ่น โดยชุดอุปกรณ์ดังกล่าวมีจำหน่ายทั่วทั้งยุโรปและสหราชอาณาจักรแล้ว
JCB ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรปให้จำหน่ายเครื่องยนต์สันดาปภายในไฮโดรเจนได้ - 28/05/2025
เครื่องยนต์สันดาปไฮโดรเจนได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายและใช้งานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ OEM ของบริษัทอื่นแล้ว
รถขุด P-Tier ใหม่ล่าสุดจาก John Deere ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงโดยไม่ต้องเสียสละกำลัง - 26/05/2025
รถขุด 510 P-Tier มอบแรงม้าและประสิทธิภาพเท่ากับรุ่นก่อนหน้า แต่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กกว่า
John Deere เข้าซื้อกิจการ Sentera เพื่อบูรณาการการสำรวจภาคสนามทางอากาศ - 26/05/2025
John Deere เข้าซื้อกิจการ Sentera เพื่อบูรณาการการสำรวจภาคสนามทางอากาศ
KIOTI เปิดตัว HX1302 และ HX1402 มาตรฐานใหม่สำหรับพลังและประสิทธิภาพในรถแทรกเตอร์อเนกประสงค์ - 25/05/2025
KIOTI เปิดตัว HX1302 และ HX1402 มาตรฐานใหม่สำหรับพลังและประสิทธิภาพในรถแทรกเตอร์อเนกประสงค์
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 108 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2152 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.