สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

‘บีโอไอ’จ่อ ปรับสิทธิประโยชน์ใหม่ ส่งเสริมทุน SMEs ต้อนรับปี63
  11/09/2019
บีโอไอเตรียมปรับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมเอสเอ็มอี หลังมาตรการปัจจุบันหมดอายุลงในสิ้นปีนี้ ล่าสุดเดินสายหารือหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนและผู้ประกอบการ หลังโด๊ปยาแรงหนุน SMEs 7 เรื่องสำคัญ ชี้ที่ผ่านมาทุน SMEs กระจุกตัวภาคกลางมากสุด

      แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ล่าสุดบีโอไอกำลังจะปรับ ในเชิงของพื้นที่ให้การส่งเสริมเอสเอ็มอี ที่กำลังจะหมดอายุลงในปลายปี 2562 ที่บีโอไอให้การส่งเสริม ขณะนี้อยู่ระหว่างทบทวนมาตรการเหล่านี้  ช่วงนี้บีโอไอต้องหารือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและผู้ประกอบการเพื่อจะปรับ และดูว่าต้องการอะไรเพื่อมาออกแบบมาตรการใหม่รองรับ และดูให้เหมาะสมและให้เป็นประโยชน์กับเอสเอ็มอีมากขึ้น  
 
นอกจากนี้มิติในเชิงพื้นที่ ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายพิเศษเชิงพื้นที่  เช่น อีอีซี กับ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 จังหวัด  ก็จะไปดูว่าจะทำอย่างไรให้เอสเอ็มอี ในพื้นที่เหล่านี้ได้รับประโยชน์จากนโยบายพัฒนาพื้นที่ของรัฐบาล ซึ่งการพิจารณาจะคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ในการมาปรับปรุงการให้การส่งเสริมใหม่ในพื้นที่อีอีซีและในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 จังหวัด เหล่านี้จะต้องเร่งดู ควบคู่กับมาตรการอีอีซีเดิม ที่จะสิ้นสุดลงในปลายปีนี้ และมาตรการอีอีซีทั้งชุดจะสิ้นสุดลง บีโอไอจะต้องคุยกับทางอีอีซี และต้องคำนึงถึงเอสเอ็มอีในพื้นที่ให้มากขึ้นว่าสิทธิประโยชน์ในปี 2563 ควรจะเป็นอย่างไร 



นักข่าวได้สอบถามไปยัง นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนหารือร่วมกันทุกฝ่าย คาดว่าน่าจะประกาศได้ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้

รองเลขาธิการบีโอไอกล่าวว่านับตั้งแต่บีโอไอประกาศใช้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่เมื่อปี 2558 จนถึงเดือนมิถุนายน 2562 มีโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 51% และมีมูลค่าเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท มายื่นขอรับการส่งเสริมจำนวนมากถึง 2,118 โครงการ คิดเป็นสัดส่วน 33% ของจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด และมีเงินลงทุนรวมกันทั้งสิ้น 97,896 ล้านบาท  ส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านดิจิทัล เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ การให้บริการด้านดิจิทัล และอี-คอมเมิร์ซ รองลงมาเป็นกิจการแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตอาหารและเครื่องดื่มจากพืชผักผลไม้ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และกิจการกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น



ปัจจุบันบีโอไอให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีอยู่ 7 เรื่องสำคัญคือ 1.มาตรการด้านสิทธิประโยชน์ บีโอไอกำหนดเงินลงทุนขั้นตํ่าสำหรับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 1 ล้านบาท มาตั้งแต่ปี 2536 เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถขอรับการส่งเสริมได้ อีกทั้งยังได้ออกมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริม SMEs ไทยตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา โดยได้มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์เป็นระยะๆ มาตรการปัจจุบันได้ผ่อนปรนเงื่อนไขจากเกณฑ์ปกติสำหรับ SMEs ไทย เช่น ลดเงินลงทุนขั้นตํ่าจาก 1 ล้านบาท เหลือเพียง 5 แสนบาท และอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วในประเทศได้บางส่วน รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อเป็นแต้มต่อให้กับ SMEs ไทย โดยการเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าของเกณฑ์ทั่วไป (200% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
“มาตรการนี้จะสิ้นสุดในช่วงปลายปีนี้ ในช่วงเวลาที่เหลือ บีโอไอจะหารือกับทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบมาตรการส่งเสริม SMEs ในระยะต่อไปให้จูงใจและตรงกับความต้องการของ SMEs มากขึ้น”

2.กระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) เพื่อระดมทุนไปพัฒนาศักยภาพและขยายกิจการ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าของเกณฑ์ทั่วไป 

3. ยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ที่ดำเนินการอยู่เดิม ให้เป็น Smart SMEs ผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตใน 4 กลุ่ม คือ (1) การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (2) การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น นำหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ หรือระบบดิจิทัลมาปรับปรุงกระบวนการผลิต  (3) การวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และ (4) การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล โดยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมเป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินไม่เกิน 50% ของเงินลงทุนในการปรับปรุง 

4. ส่งเสริมให้พี่ช่วยน้อง ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ช่วยรายเล็ก โดยมีทั้งการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับกิจการที่ช่วยพัฒนา Local Suppliers ที่ส่วนใหญ่เป็น SMEs ไทย และการกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก โดยสนับสนุนให้นำผลผลิตทางการเกษตรหรือวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนหรือร่วมดำเนินการกับสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5. เชื่อมโยงผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนกับผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปต่างชาติ เพื่อช่วยลดการนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากต่างประเทศ และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย รวมถึงก่อให้เกิดการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี โดยบีโอไอได้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมตลาดกลางซื้อขายชิ้นส่วน กิจกรรมผู้ซื้อพบผู้ขาย งานแสดงสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตไทย Subcon Thailand รวมทั้งการพาผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดยในปี 2561 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2,300 ราย และก่อให้เกิดมูลค่าการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมถึงกว่า 70,000 ล้านบาท

6.  สร้างองค์ความรู้และเครือข่ายให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยในปี 2561 ได้จัดสัมมนาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ SMEs จำนวน 23 ครั้งทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วมกว่า 2,400 คน นอกจากนี้ยังมีการจัดคณะพา SMEs ไปศึกษาดูงานกิจการที่ประสบความสำเร็จ เปิดมุมมองใหม่ๆ ด้านการบริหารจัดการธุรกิจและเทคโนโลยีการผลิต สำรวจโอกาสการลงทุน และสร้างเครือข่ายกับนักธุรกิจท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ โดยในปี 2561 มีการจัดกิจกรรมในประเทศ 15 ครั้ง และต่างประเทศ 7 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกว่า 250 คน รวมทั้งมีการจัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักลงทุนไทยในต่างประเทศ
 
7. ทำให้ SMEs สามารถเข้าถึงบีโอไอได้ง่ายขึ้น และสามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้เริ่มจัดตั้งศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภูมิภาคแห่งแรกเมื่อปี 2531 ปัจจุบันบีโอไอมีศูนย์ภูมิภาคทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ 2 แห่ง (เชียงใหม่ และพิษณุโลก) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง (นครราชสีมา และขอนแก่น)  ภาคตะวันออก 1 แห่ง (ชลบุรี)  และภาคใต้ 2 แห่ง (สงขลา และสุราษฎร์ธานี) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุน และบริการอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ ในพื้นที่ที่ดูแล

ที่มาของข่าว: ฐานเศรษฐกิจ
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.