สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

เสวนาภายใต้หัวข้อ “ แนวโน้มการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีก่อสร้างในช่วง 10 ปีข้างหน้า”
  04/08/2014 00:00
 

เสวนาภายใต้หัวข้อ “ แนวโน้มการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีก่อสร้างในช่วง 10 ปีข้างหน้า”

วันพฤหัสบดี ที่ 31 กรกฎาคม 2557

ห้องบอลลูม 1 โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพฯ สุขุมวิท

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา (เรียงตามลำดับจากซ้าย)

นายสมโภชน์ รัตนอารียกรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสทีไอที จำกัด

นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน

นายจักรพันธ์ ลีลาพร ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานก่อสร้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

นายณยศ ปิสัญธนะกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินเท็ค คอนสตัคชั่น จำกัด (มหาชน)

ดร.จักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย (ผู้ดำเนินรายการ)

 ...............................................................................................

ดร.จักรพร : หากดูจากตัวเลขมูลค่าการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในช่วงฟองสบู่ ประมาณปี พ.ศ.2540 มูลค่าการลงทุนอยู่ประมาณ 910,000 ล้านบาท โดยในปี พ.ศ. 2556 มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 950,000 ล้านบาท ในขณะที่จำนวนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี พ.ศ.2540 มีจำนวนแรงงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง 4,000,000 คน แต่ในปี พ.ศ.2556 กลับมีจำนวนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างเพียง 240,000 คน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถามว่าธุรกิจในภาคของอุตสาหกรรมก่อสร้างดำเนินกิจการกันได้อย่างไร ในสถานการณ์ที่จำนวนแรงงานลดลงไปเกือบครึ่ง แต่มูลค่าการในการลงทุนกลับสูงมากขึ้น ซึ่งเหตุผลหลักอย่างนึงก็คือ การนำเทคโนโลยีและเครื่องมือ เครื่องจักร เข้ามาช่วยและใช้งานค่อนข้างเยอะ ซึ่งในตอนนี้ก็ขอให้แต่ละท่านพูดถึงประสบการณ์ในการนำเครื่องจักร รวมถึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างไรบ้าง

จักรพันธ์: ในอดีตการก่อสร้างในประเทศไทย GDP ไม่สูงมาก หากย้อนไปประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมา ลักษณะการทำงานจะอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก ซึ่งแรงงานที่ใช้ในภาคของอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมาจากภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยในช่วงนั้นถ้ายังจำกันได้คือ พอเริ่มเข้าฤดูฝนการก่อสร้างต้องหยุดชะงักเนื่องจากคนงานกลับไปทำอาชีพหลัก ระยะต่อมาก็เริ่มมีการนำเครื่องทุนแรงเข้ามาช่วยให้คนสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น แต่ก็ยังอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก ในปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างขยายตัวขึ้นมากแต่แรงงานน้อยลงมาก แม้แต่แรงงานต่างด้าว โดยในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่บอกว่าลดลงเพราะว่า แรงงานต่างด้าวช่วงแรกๆที่เข้ามาก็จะทำงานในภาคก่อสร้าง แต่พอเข้ามาอยู่สักพัก เริ่มมีการเรียนรู้ เริ่มปรับตัว ก็จะปรับเปลี่ยนงานเข้าไปหาโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า ฉนั้นแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคก่อสร้างส่วนมากจะเป็นแรงงานที่เข้ามาใหม่ ไม่มีฝีมือและความชำนาญ

ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวมีปัญหา แรงงานไทยเหลือน้อย ด้วยมูลค่าการก่อสร้างขยายตัวขึ้น ด้วยเงื่อนไขการประกอบธุรกิจในปัจจุบันก็ต้องพยายามเพิ่ม Productivity (ผลงานต่อกำลังคน) วิธีการที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวไม่มีวิธีไหนดีไปกว่าการนำเครื่องมือ เครื่องจักร เข้ามาช่วย

ณยศ: ปัญหาแรงงานเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกภาคเศรษฐกิจและหนีไม่พ้นงานในภาคก่อสร้าง จากตัวเลขจำนวนแรงงานในภาคก่อสร้างที่ลดลง เหตุผล คือ ค่าแรงขั้นต่ำในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาค่าแรงอยู่ที่ 160 บาท ในช่วง 5 ปีแรกค่าแรงเพิ่ม 15% และช่วง 5 ปีหลังเพิ่มขึ้น 65% รวมแล้วในช่วง 10 ปี ค่าแรงเพิ่มขึ้น 80%

จากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น การประกอบธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปจะต้องหลบปัญหาดังกล่าว คือ การนำเอาเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ

ธุรกิจก่อสร้างประกอบด้วยฐานปัจจัย 3 อย่าง คือ ต้นทุน คุณภาพ เวลา ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถที่จะก่ออิฐ ฉาบปูนเหมือนในอดีตได้ ในปัจจุบันได้มีการนำผนังสำเร็จรูปเข้ามาใช้ โดยสิ่งที่ตามมาคือการใช้ผนังสำเร็จรูปก็ต้องใช้ Tower Crane ขนาดใหญ่กว่าเดิม โดยผลที่ตามมาคือ ใช้เวลาในการก่อสร้างเร็วขึ้น ประหยัดต้นทุนและคุณภาพงานจะมีมากขึ้น (สวยกว่า) โดยในมุมมองของผมเอง มองว่าใน 10 ปีข้างหน้า เครื่องจักร หรือ เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นสิ่งที่จะเข้ามาแทนแรงงานมากขึ้น เพราะแนวโน้มการก่อสร้างในส่วนของธุรกิจอาคารสูงจะใช้ส่วนประกอบสำเร็จค่อนข้างสูง

สิทธิพร: ธุรกิจรับสร้างบ้านจะใช้แรงงานไม่มากนัก ความยุ่งยากส่วนใหญ่อยู่ที่การบริหารจัดการ มีการย้ายสถานที่บ่อย หากมองย้อนไปในช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ ในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้าน ปัญหาแรงงานก็ขาดแคลนอยู่แล้ว ขาดแคลนมาโดยตลอดตนปัจจุบัน

ในแง่ของธุรกิจรับสร้างบ้านถ้าไม่มองถึงการขยายธุรกิจ ไม่มองถึงการเจริญเติบโตของธุรกิจก็คงไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่ถ้ามองถึงความยั่งยืนของธุรกิจ มองว่าธุรกิจต้องมีการเติบโต ก็ต้องมองสิ่งที่จะเข้ามาช่วยให้สามารถทำงานง่ายขึ้น การมองหาหุ้นส่วนทางธุรกิจ เช่น พวกผู้ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับงานก่อสร้าง เช่น เสา คาน ผนัง ฯลฯ เพื่อเอามาใช้ในการสร้างบ้าน ให้สามารถสร้างบ้านได้มากขึ้น เร็วขึ้น

ซึ่งพอมีชิ้นส่วนสำเร็จเข้ามา แน่นอนว่า การใช้แรงงานคนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำได้ สิ่งที่ต้องตามเข้ามาคือ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยแรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง เครื่องจักรและเครื่องมือ

ดร.จักรพร : ฟังจากผู้ใช้ 3 ท่านแล้ว มาฟังทางด้านของผู้ที่ขายเครื่องจักรและเครื่องไม้เครื่องมือกันบ้างนะครับ

สมโภชน์: ในฐานะตัวแทนของฝ่ายผู้ขายเครื่องจักร (Supplier) ให้กับธุรกิจก่อสร้าง

จากปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้น รวมกับอัตราการเติมโตของธุรกิจค่อนข้างสูง การแก้ปัญหาดังกล่าว คือ การนำเครื่องจักรและเครื่องทุ่นแรงเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน โดยยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในระยะที่ผ่านมา จากที่เคยมีการใช้กระป๋องคอนกรีตก็เปลี่ยนมาเป็น ปั๊มคอนกรีต นั่งร้านก่อสร้างเปลี่ยนมาเป็น Tower Crane ในส่วนของ Super Structure ก็มีการนำแบบมาตรฐาน (Form Work) ทั้งที่เป็นแบบเลื่อนอัตโนมัติ (Hydraulic Dynamic) และ แบบอยู่กับที่ (Static) เข้ามาใช้แทนไม้อัดประกอบ มีการพัฒนาศักยภาพของเครนให้สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกฎหมายคอนกรีตปั๊มก็มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม

ดร.จักรพร : ต่อไปจะเป็นอย่างไร มองเทคโนโลยีอะไรไว้

จักรพันธ์: พูดถึงเทคโนโลยีในการก่อสร้างแล้ว แต่ละประเทศจะใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ก็ยังจำแนกออกไปแต่ละอย่าง รถไฟฟ้าก็ใช้เทคโนโลยีอย่างนึง ถนนก็ใช้เทคโนโลยีอีกอย่างนึง แต่สุดท้ายการพัฒนาเทคโนโลยีจะอยู่บนพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ใช้เครื่องจักรร่วมกับผู้ผลิตเครื่องจักร

โดยผมมองว่าต่อไปจะมีการนำระบบอิเล็กทรอนิคเข้ามาควบคุมเครื่องจักรกล ผู้ใช้ต้องมีพื้นฐานความรู้ในการใช้และการบำรุงรักษามากขึ้นกว่าเดิม

ณยศ: ในส่วนของเทคโนโลยีในระยะเวลาอันใกล้อาจไม่ต่าง วิวัฒนาการในการก่อสร้างในปัจจุบันจะใส่ใจในหลายๆ ด้าน เช่น ความปลอดภัยมีอยู่ไม่เยอะ ที่ผมพูดอย่างนั้น คือ ผมคิดว่าเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าจะต้องมาพร้อมกับความปลอดภัยและมีมาตรฐาน ผมเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้น่าจะมีหน่วยงานเป็นหน่วยตรวจสอบ เครื่องมือ ที่จะนำมาใช้ เพื่อยืนยันว่าอะไรใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ เพราะการที่จะนำเครื่องจักรสักอย่างเข้ามาใช้ ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ การที่จะรู้ว่าอะไรเหมาะ อะไรไม่เหมาะเราไม่รู้ว่าที่เห็นอยู่เหมาะกับเมืองไทยหรือไม่

ภายใน 10 ปีข้างหน้า ความสามารถในการใช้เครื่องจักรมากขึ้น เครื่องจักรจะต้องมีศักยภาพที่สูงขึ้น สิ่งที่ต้องการคือ เครื่องจักรจะต้องมีศักยภาพที่สูงขึ้น สิ่งที่ต้องการคือ เครื่องจักรที่สามารถทำให้ทำงานอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น เร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่มาก็จะมาในราคาที่เหมาะสม และปลอดภัย     

สิทธิพร:ธุรกิจรับสร้างบ้านเทียบกันแล้วขนาดเล็กมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าการนำเครื่องจักร เครื่องมือเข้ามาใช้ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วจากการศึกษาแบบจริงจังในการเปรียบเทียบต้นทุน การนำเครื่องจักร เครื่องมือ เข้ามาใช้ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าแรงงานคน ฉนั้นมุมมองตรงนี้ คือ ให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้ประกอบการ ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง

สมโภชน์: เทคโนโลยีต้องมาพร้อมกับคุณภาพและความปลอดภัย ผู้ผลิตพยายามพัฒนาเครื่องจักรเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอยู่แล้ว โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรป โดยในมุมมองผู้ผลิตเองจะแบ่งลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ยุโรป 2) อเมริกาและออสเตรเลีย 3) เอเซีย

โดยในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตให้ความสำคัญกับ AEC เพราะมองถึงการเจริญเติบโตของภูมิภาค รวมไปถึง จีนและอินเดีย ด้วย ฉนั้นการเข้ามาตั้งฐานการผลิตเครื่องจักรในภูมิภาคนี้ คือเป้าหมายของผู้ผลิต ที่ผ่านมาที่เข้ามาตั้งแล้วก็จะมีทั้ง Komatsu, Caterpillar, Lieb Herr ฯลฯ

ดร.จักรพร : มีข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะ ในอนาคตอย่างไรบ้าง

จักรพันธ์: เทคโนโลยีหรือเครื่องจักรในธุรกิจก่อสร้างจัดอยู่ในกลุ่ม Medium or Low Technology ด้วยซ้ำน่าจะมีการรวบรวมปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้พัฒนาเครื่องจักร เพื่อที่จะมาพัฒนาร่วมกัน

ภาครัฐต้องเป็นลมใต้ปีก ไม่ใช่ลมต้าน กฎหมายต่างๆ ต้องรองรับกับการพัฒนาด้วย พิกัดทางภาษีต้องมีการเปลี่ยนแปลงไม่ให้ผิดเพี้ยนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากปัญหาที่มีอยู่ ยกตัวอย่างการใช้เครน ซึ่งในส่วนของเครนเองก็จะมีอยู่หลายชนิด เครนแต่ละชนิดก็จะเหมาะกับงานแต่ละประเภท แต่ด้วยอัตราทางภาษีทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำเครนมาใช้อย่างต้องการ และอีกอย่าง คือ ตามกฎหมายของประเทศไทย ด้วยเงื่อนไขน้ำหนักลงเพลาของรถเครน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนย้าย แต่ในต่างประเทศด้วยขนาดของรถเครนที่เท่ากันสามารถวิ่งบนท้องถนนได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

ณยศ: คุณภาพของเทคโนโลยีต้องมาพร้อมกับความปลอดภัย ควรมีหน่วยงานมาตรวจสอบอย่างเข้มข้นขึ้น เพราะในงานก่อสร้างความปลอดภัยสำคัญมาก เพราะมีผลกับต้นทุน น่าจะมีการคัดกรองคุณภาพเครื่องจักร ทั้งด้านการใช้งาน และความปลอดภัย

สิทธิพร: ผมมองในมุมของคนที่จะเข้ามาเป็นผู้ใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ เนื่องจากเครื่องมือมีแนวโน้มว่าจะ Hi Technology มากขึ้น ผู้ที่ใช้งานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในระดับหนึ่ง ฉนั้นการนำเครื่องมือ เครื่องจักรไปให้เรียนรู้ในสถานศึกษาน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญ

สมโภชน์: ในฐานะตัวแทนผู้ผลิตและผู้ขาย ก็จะพยายามผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้โดยคำนึงถึงความปลอดภัย คุณภาพ และทนทาน


สัมมนา เรื่อง : อนาคตเครื่องจักรกลไทยก้าวไปด้วยนวัตกรรม
    โครงการพัฒนาศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลได้ดำเนินการจัดสัมมนา ...
  14/08/2023

สัมมนาและเสวนา เรื่อง : ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในการสนับสนุนอุตสาหกรรมในอนาคต
    โครงการพัฒนาศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลได้ดำเนินการจัดสัมมนา เมื่อวันพุธที่ ...
  24/08/2022

“2021 Virtual Seminar on Machinery Solution for Smart Agricultural”
    ...
  26/10/2021 09:00

“คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทยในยุค COVID-19” และ กิจกรรม Business Relation ภายในคลสัสเตอรฯ์
    กิจกรรม การเสวนาก้าวต่อไป “คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทยในยุค COVID-19” และ กิจกรรม Business ...
  23/06/2021


อบรม/สัมมนาอื่นๆ
“ความท้าทายในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทยและแนวโน้มการนำระบบ Automation และ Robotics เข้ามาใช้ในภาคอุตสาหกรรม” - 23/09/2019
“การพัฒนาเครื่องจักรกลไทยเพื่อสนับสนุนการผลิตด้าน การเกษตร” กรณีศึกษา : การผลิตกัญชาเพื่อการแพทย์ - 28/08/2019
Smart Farming กับ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในประเทศไทย - 28/06/2019
Internet of Things (IoT) ในยุคอุตสาหกรรม ๔.๐ - 25/04/2018
Industry 4.0 : digital factory and new generation of smart robots - 24/05/2017
AGRITECHNICA ASIA 2017 - 30/08/2016
AGRITECHNICA ASIA 2017
การประชุมวิชาการ OIE Forum ประจำปี 2559 "New Revolution of Thai Industry" - 21/07/2016
การประชุมวิชาการ OIE Forum ประจำปี 2559 "New Revolution of Thai Industry" ปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ : ประเทศไทย 4.0
สัมมนาเรื่อง แม่พิมพ์ที่ดีทำกันอย่างไง - 04/07/2016
สัมมนาเรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ - 22/02/2016
สัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 3 ปี 2558 เรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร - 02/07/2015
สัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 2 ปี 2558 เรื่องยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน - 25/06/2015
สัมมนาเรื่องยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2558 – 2564) - 25/05/2015
Promoting the Usage of Steel in Machinery Industry - 24/02/2015
ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล - 21/01/2015
การจัดประชุมกับผู้ประกอบการ - 16/10/2014
METALEX 2014 - 30/09/2014
งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ - 26/08/2014
การเลือกเทคโนโลยีการอบแห้งในอุตสาหกรรมและเพื่อลดต้นทุนการผลิต - 01/08/2014
วิศวกรรม'57 (Engineering'14) - 24/07/2014
มหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (SITEX 2014) - 21/07/2014
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 3 หน้า: จำนวนทั้งหมด 60 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
อบรม/สัมมนา
เยี่ยมชมโรงงาน

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.