สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

กกร. ชี้โอมิครอนกระทบเศรษฐกิจไทยแต่ไม่รุนแรง คงจีดีพีปี 65 ที่ 3.0-4.5 % ส่งออก 3.0-5.0% อัตราเงินเฟ้อ 1.2-2.0% ชงรัฐผุดมาตรการระยะสั้นแก้ปัญหาราคาสินค้าและอาหารราคาแพง
  12/01/2022 09:00

วันพุธที่ 12 มกราคม 2565 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนมกราคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธาน กกร. และมีนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพ โดยมีการแถลงข่าวในประเด็นต่อไปนี้

การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจช่วงต้นปีมีแนวโน้มชะลอตัวบ้าง แต่ผลกระทบโดยรวมคาดว่าไม่รุนแรง หลายประเทศมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป แต่การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดน้อยกว่าในช่วงของการระบาดของสายพันธุ์เดลตามากเนื่องจากความรุนแรงของโรคลดลงตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงชะลอลงบ้างแต่ส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ ดังนั้น ภาคการส่งออกของไทยยังมีโอกาสที่จะยังเติบโตหากสามารถป้องกันไม่ให้การแพร่ระบาดมีผลกระทบรุนแรงต่อ supply chain ของภาคการผลิตได้

ทั้งนี้ การประเมินเศรษฐกิจไทยในแง่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนภาคเอกชมองว่าอาจไม่รุนแรงมากนัก โดยในกรณีฐาน การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนเป็นไปอย่างรวดเร็วแต่มีความรุนแรงลดลงตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ภาครัฐสามารถบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีการ Lockdown ควบคู่กับการเร่งระดมฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่ประชาชนเพื่อรับมือกับการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ๆ ตลอดจนการปรับตัวของผู้คนตามวิถีปกติใหม่ และการระมัดระวังป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention) ทำให้คาดว่าจะกระทบกับ Sentiment ทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวจะจำกัดเพียงระยะสั้นหรือราวไตรมาสแรกของปี 2565

การท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในระยะสั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นต่อการเดินทางระหว่างประเทศ ส่วนในประเทศ มีการยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 เป็นระดับ 4 และขอความร่วมมือชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดและการเคลื่อนย้ายของคน อย่างไรก็ดี คาดว่า ผลจากโอมิครอนจะกระทบการท่องเที่ยวในประเทศไม่มากเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากความรุนแรงของโรคที่ลดลงและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยเริ่มปรับตัวได้กับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และยังให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวในประเทศในระดับสูง ส่วนนักเดินทางต่างชาติคาดการณ์ว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นในปลายไตรมาส 1 โดยตลอดทั้งปี ประเมินจำนวนนักเดินทางเข้าประเทศ ประมาณ 5-6 ล้านคน

การประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ หากสามารถบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องมีการ Lockdown และเร่งแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อและการปรับตัวของราคาสินค้าภายในประเทศอย่างรวดเร็ว

ที่ประชุม กกร. จึงคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 3.0% ถึง 4.5% ขณะที่ประมาณการการส่งออกในปี 2565 ว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะยังอยู่ในกรอบ 1.2% ถึง 2.0% แต่จำเป็นต้องมีมาตรการระยะสั้นเพื่อบรรเทาปัญหาสินค้าอาหารราคาแพงเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคมากเกินไป

ทั้งนี้ กกร. ได้มีประเด็นข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ดังนี้
• Regulatory Guillotine กกร.เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องปฏิรูปกฎหมายทั้งระบบ โดยในปี 2560 กกร. ได้ร่วกับรัฐบาลได้เริ่มดำเนินโครงการ Regulatory Guillotine และได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศ มาถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษาแก่ TDRI ต่อมาภาครัฐได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน (คณะอนุกิโยติน) ซึ่งมี นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นประธาน และมีผู้แทนจาก กกร. ร่วมเป็นกรรมการ เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินการ โดยคณะอนุกิโยตินได้รายงานความคืบหน้าว่าในปีงบประมาณ 2564 หน่วยงานราชการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายเสร็จได้ 38.76% มีผลงานปลดล็อคกฎหมายที่สำคัญ เช่น หลักเกณฑ์การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การกำกับดูแลบริการรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านระบบแอปพลิเคชัน การกำกับดูแลบริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) ข้อเสนอสำคัญที่ควรเร่งผลักดันเพื่อให้การปฏิรูปกฎหมายโดยใช้เครื่องมือ Regulatory Guillotine ในระยะต่อไปเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเห็นว่าควรเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ ดังนี้

(1) ให้ภาครัฐเร่งนำผลการศึกษาและข้อเสนอของ TDRI ไปดำเนินการแก้ไขและยกเลิกกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายลำดับรองที่ไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา

(2) ให้จัดตั้งหน่วยงานหรือมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ Regulatory Guillotine โดยเฉพาะ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา และมีจำนวนที่เพียงพอ เหมือนช่วงทำ Pilot Project

(3) ให้นำแนวคิดเรื่อง Omnibus Law ซึ่งแก้ไขกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและอุปสรรค(Issue- based) ในคราวเดียว เช่น ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว โดยออกเป็น Omnibus Law ฉบับเดียวแทนการแก้ไขกฎหมายแบบเดิมที่แก้ไขเป็นรายฉบับทำให้ขาดความสอดคล้องกัน ซึ่งแนวคิด Omnibus Law นี้ ประเทศอินโดนีเซียได้เริ่มใช้และประสบผลสำเร็จมาแล้วตั้งแต่ปี 2021

คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีผลงานในการนำเสนอปรับปรุงกฏหมายต่างๆ จำนวนมาก กกร. จึงทำข้อเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจและการประกอบอาชีพของประชาชน เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวนกว่า 40 ข้อเสนอ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ได้นำเสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวต่อท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป โดย กกร. เห็นว่ามีข้อเสนอที่ กกร. ควรเร่งผลักดันเสนอให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในช่วงการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด 19

1) ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลองค์กรทางธุรกิจ SMEs และ Startup
2) ปรับปรุงมาตรการเกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว
3) ปรับปรุงมาตรการเกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4) ปรับปรุงหลักการเกี่ยวกับการกำกับดูแลการค้าของเก่าและการนำผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ (reuse and recycle)

กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2564 วันที่ 13 ธันวาคม 2564 ซึ่งใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 มีความไม่ชัดเจนทำให้อัตราการจัดเก็บไม่ได้ลดลง ร้อยละ 90 ตามข้อเสนอของกกร. แต่อย่างใด และอัตราการจัดเก็บยังเป็นไปตามอัตราเดิมเช่นเดียวกับที่เคยกำหนดไว้ใน พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มาตรา 94 โดยมาตรการดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์ Covid-19 ในประเทศจะคลี่คลายลง แต่เนื่องจากปัจจัยปัญหาด้านสาธารณสุขและปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2563 และปี 2564 ยังคงมีผลกระทบต่อไปในปี 2565-2566 ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

ที่ประชุม กกร. จะมีการนำเสนอไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลงร้อยละ 90 ออกไปอีก 2 ปี โดยขอพิจารณาออก พรก.ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บางประเภทเพิ่มเติม อีกหนึ่งฉบับ เพื่อลดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินลงอีกร้อยละ 90 ตามมาตรา 55 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับประชาชนและผู้ประกอบการทั่วประเทศในทุกภาคส่วน

นอกจากนี้ การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ควรมีกลไกหรือนโยบายสนับสนุนการสร้างรายได้ควบคู่กับมาตรการช่วยเหลือด้านอื่นๆ เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรอบด้าน และสร้างความเข้มแข็งทางการเงินให้กับครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ข้อมูลโดย
สำนักงาน กกร.
เผยแพร่โดย
ฝ่ายสื่อสารองค์กร ส.อ.ท.
โทร 0-2345-1013

 


ที่มาของข่าว: สภาอุตสาหกรรมแห่่งประเทศไทย
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.