สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ท่องเที่ยว-บริโภค-ลงทุนเอกชน หนุนศก.ไทยปี 65 ฟื้นตัวแต่ไม่ทั่วถึง
  21/12/2022
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 65 ฟื้นตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน นักท่องเที่ยวต่างชาติปี 65 ฟื้นตัวดีกว่าคาด หลังไทยเปิดประเทศผ่อนคลายนโยบายควบคุมโควิด-19 ตั้งแต่เดือน ก.ค. และมีโอกาสถึง 10.9 ล้านคนในปีนี้
ขณะเดียวกัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเป็นปกติมากขึ้น ทำให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตดีจากอุปสงค์ที่สะสมมา (Pent-up demand) รวมถึงมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะรายได้ภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นมากจากราคาสินค้าเกษตร การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องในปีนี้ โดยกิจกรรมการผลิตบางอุตสาหกรรมกลับมาสูงกว่าก่อนโควิด-19 แล้ว เช่น ยานยนต์ และเครื่องจักร ด้านการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวดี โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในปี 65 ฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง การส่งออกสินค้าที่เคยเป็นฟันเฟืองหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยก่อนหน้านี้ ส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากในช่วงท้ายปี ตามอุปสงค์โลกชะลอตัว แรงกระตุ้นภาครัฐแผ่วลงมากหลัง พ.ร.ก.เงินกู้โควิดหมดลงในปีนี้

นอกจากนี้ เงินเฟ้อไทยเร่งสูงจากราคาพลังงานและอาหาร ส่งผลกดดันครัวเรือนบางกลุ่มที่รายได้ฟื้นช้ากว่ารายจ่ายและมีหนี้สูง แม้เงินเฟ้อทั่วไปผ่านจุดสูงสุดแล้วในไตรมาส 3 จากราคาพลังงานที่ชะลอลง แต่เงินเฟ้อสูงได้ขยายวงกว้างไปยังราคาหมวดอื่น และเริ่มเห็นการส่งผ่านต้นทุนจากผู้ผลิตไปยังราคาผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับสูง

สำหรับภาพรวมของธุรกิจ ยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึง ธุรกิจที่ฟื้นตัวเร็วเป็นกลุ่มที่ตอบโจทย์การฟื้นตัวของการบริโภค และสอดรับเมกะเทรนด์โลก ธุรกิจที่ฟื้นตัวช้า เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาโภคภัณฑ์โลกสูง เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และกระแสเมกะเทรนด์ต่างๆ

ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ปรับขึ้นช้ากว่าต่างประเทศ โดยปรับขึ้น 3 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 65 จาก 0.5% เป็น 1.25% ณ สิ้นปีนี้ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นช้ากว่า และเงินเฟ้อสูงจากปัจจัยอุปทานเป็นหลัก คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย จะทยอยปรับขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 2% ในปี 66

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาว สูงขึ้นตามทิศทางนโยบายการเงิน และสภาพคล่องระบบการเงินโลกตึงตัวขึ้น เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากตั้งแต่ต้นปี สาเหตุหลักจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งขึ้นดอกเบี้ย กดดันให้ค่าเงินสกุลต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงเงินบาทอ่อนค่าเร็วในช่วงก่อนหน้า

ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าอยู่ในกรอบ 34.50-35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปีนี้ และ 33.00-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 66

SCB EIC มองว่า เศรษฐกิจโลกในปี 65 เผชิญความไม่แน่นอนต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ในไตรมาส 1 ทำให้หลายประเทศกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง ปัญหาอุปทานคอขวดจึงคลี่คลายได้ช้า ตามด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซ้ำเติมปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานโลก ราคาพลังงานและโภคภัณฑ์โลกสูงขึ้นมาก ทำให้ภาคธุรกิจต้องวางแผนโยกย้ายฐานการผลิต เพื่อสร้างความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน

รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกเร่งตัวสูง ทำให้นโยบายการเงินโลกปรับตึงตัวเร็วมาก ซึ่งจะทำให้อุปสงค์โลกชะลอลงอีกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มีแนวโน้มจะทำให้เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางต่อไปอีก 1-2 ปี กิจกรรมเศรษฐกิจชะลอลงเป็นวงกว้าง ภาคการผลิตปรับแย่ลง ความเชื่อมั่นภาคเอกชนปรับลดลงใกล้ระดับวิกฤตในอดีต ตัวเลขการจ้างงานเริ่มชะลอลง ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีโอกาสถดถอย (Recession) มากขึ้น โดยบางประเทศหลัก เช่น สหราชอาณาจักร และยุโรป เริ่มเผชิญ Recession ตั้งแต่ปลายปีนี้ ส่วนสหรัฐฯ คาดว่าจะเข้าสู่ Recession ในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า

ขณะที่ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลกยังมีอยู่ต่อเนื่อง ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนไม่จบลงเร็วอย่างที่หลายฝ่ายคาดไว้ ส่งผลให้ปัญหาอุปทานคอขวดยืดเยื้อ ความตึงเครียดระหว่างจีน สหรัฐฯ และไต้หวัน แม้ยังไม่ปะทุรุนแรง แต่จะมีนัยสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลกในระยะข้างหน้า ซึ่งไต้หวันเป็นผู้ผลิตหลักของโลก

นอกจากนี้ การแบ่งขั้วระหว่างสหรัฐฯ และจีน (Decoupling) จะเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ต้องการรักษาระเบียบโลก (International order) รูปแบบเดิมเอาไว้ ส่งผลให้กลุ่มประเทศทั้งสองขั้วจะพึ่งพาตนเองมากขึ้น ส่วนตลาดการเงินโลกในปี 65 ผันผวนสูงมาก เป็นผลจากความไม่แน่นอนของนโยบายและเศรษฐกิจโลก ภาวะการเงินโลกตึงตัวตามทิศทางนโยบายการเงินในโลก ราคาสินทรัพย์เสี่ยงลดลงมากตั้งแต่ต้นปีในภาวะเช่นนี้

ที่มาของข่าว: RYT9
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.