สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

พาณิชย์ คาดกลุ่มเทคโนโลยี-พลังงาน-อาหาร รับผลกระทบหากจีนใช้ยุทธศาสตร์วงจรคู่ขนาน
  12/01/2021


น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตามที่จีนประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบวงจรคู่ขนาน (Dual Circulation Strategy) ซึ่งจะเป็นนโยบายหลักในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 ปี (2564-2568) คาดว่าจะเผยแพร่เดือนมีนาคม 2564 มีเป้าหมายระยะยาวเพื่อสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจของประเทศ

เนื่องจากจีนเล็งเห็นว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยพึ่งพาภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความเสี่ยง สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้หลายประเทศพยายามลดการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานจีน ส่งผลให้จีนมีข้อจำกัดมากขึ้นในการเข้าตลาดประเทศต่างๆ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบวงจรคู่ขนานดังกล่าวเพื่อลดการพึ่งพาภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยจะมุ่งขยายตลาดในประเทศจากเดิมที่เน้นผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งลดการพึ่งพาการนำเข้าและหันมาผลิตเองมากขึ้น ซึ่งจากจำนวนประชากรกว่า 1,400 ล้านคน การบริโภคภายในประเทศสามารถเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับจีนได้

“การพัฒนาแบบวงจรคู่ขนานเป็นการใช้วงจรภายในประเทศ (Domestic Circulation) และวงจรระหว่างประเทศ (International Circulation) เสริมกำลังกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในระยะข้างหน้า เพื่อเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งต้องติดตามใกล้ชิดเนื่องจากมีนัยยะต่อการค้ากับไทย เช่น สินค้าไอซีเป็นสินค้าที่จีนนำเข้าจากไทยสูง (ปี 2562 จีนนำเข้าไอซีจากไทย เป็นมูลค่า 3,874 ล้านเหรียญสหรัฐ) หากจีนหันมาผลิตเองมากขึ้น ย่อมมีความเสี่ยงต่อการส่งออกของไทยในอนาคต”

น.ส.พิมพ์ชนก กล่าว

ผู้อำนวยการ สนค.กล่าวว่า จากการศึกษาวิเคราะห์ของ Economist Intelligence Unit (EIU) เห็นว่ามี 3 อุตสาหกรรมที่จีนมีความเสี่ยงสูงจากการพึ่งพาการนำเข้า และมีแนวโน้มที่จีนจะลดการพึ่งพาการนำเข้าในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่

อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมพลังงาน และ
อุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่มีสินค้าสำคัญที่จีนต้องการพึ่งพาตนเอง ได้แก่ สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) และวงจรรวม (Integrated Circuit/IC) โดยเฉพาะวงจรรวมหรือไอซี เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นสินค้าที่จีนนำเข้ามากที่สุด (ปี 2562 จีนนำเข้าสินค้าไอซีเป็นมูลค่ากว่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15% ของการนำเข้าทั้งหมดของจีน) รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้าไอซี แต่ก็ยังยากในการก้าวทันคู่แข่ง (เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ สหรัฐฯ) ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและการผลิตที่ซับซ้อนกว่ารวมถึงที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ 5G และ 6G ซึ่งหากจีนจะพัฒนาการผลิตให้ก้าวหน้าโดยเร็วก็อาจทำได้โดยการควบรวมกิจการ (M&A) แต่การลงทุนของจีนโดยเฉพาะในธุรกิจเทคโนโลยีมักถูกเพ่งเล็งโดยประเทศเจ้าบ้านที่จีนเข้าไปลงทุน นอกจากไอซีแล้ว คาดว่าจีนจะใช้ซอฟท์แวร์และบริการสารสนเทศของตนเองมากขึ้น เนื่องจากมีประเด็นความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)

อุตสาหกรรมพลังงาน เนื่องจากเป็นผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ของโลก ในปี 2562 จีนนำเข้าน้ำมันดิบเป็นมูลค่า 2.4 แสนเหรียญสหรัฐ และนำเข้าก๊าซเป็นมูลค่ามากกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ น้ำมันและก๊าซที่จีนบริโภคมาจากการนำเข้า 85% และ 40% ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าน้ำมันจากซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย และนำเข้าก๊าซจากเติร์กเมนิสถาน แต่ก็มีความเสี่ยงที่การขนส่งเกิดหยุดชะงัก รวมถึงการขนส่งผ่านทะเลจีนใต้ที่มีความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ดังนั้นจีนมุ่งผลิตพลังงานเองในประเทศ โดยใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนประมาณ 20% ของการบริโภคพลังงานของจีน สำหรับในบรรดาพลังงานหมุนเวียน คาดว่าจีนให้ความสำคัญกับพลังงานลมและพลังงานนิวเคลียร์เป็นลำดับแรก และอนาคตคาดว่าจะลงทุนเพิ่มเพื่อผลิตพลังงานลมในทะเล และจะใช้เทคโนโลยีในประเทศด้านพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

อุตสาหกรรมอาหาร ที่ได้ผลกระทบรุนแรง (Shocks) หลายครั้ง เช่น การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทำให้ขาดแคลนสุกรสำหรับบริโภค นอกจากนี้การที่จีนเข้าสู่สังคมเมืองและสังคมสูงวัย จึงขาดแคลนแรงงานในชนบท ปัจจุบันในส่วนของสินค้าเกษตร จีนพึ่งพาเพียงการนำเข้าถั่วเหลือง โดยมีบราซิล และสหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญ ทั้งนี้ สถาบันสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The Chinese Academy of Social Sciences: CASS) คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2025 จีนจะขาดแคลนผลผลิตข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว รวม 25 ล้านตัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและความมั่นคงทางสังคม ซึ่งจีนได้พยายามนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาการปฏิรูปที่ดินในชนบททำให้จีนยังจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้า

สำหรับการที่จีนมุ่งสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน พบว่าจีนนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบของเครื่องกังหันไอพ่นมากกว่ากังหันชนิดอื่นๆ และนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ปี 2562 จีนนำเข้ากังหันไอพ่น และส่วนประกอบเครื่องกังหันไอพ่นจากโลก เป็นมูลค่า 3,466 และ 3,634 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ) ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตาม สนค.มองว่าไทยสามารถพัฒนาศักยภาพการผลิต โดยเฉพาะส่วนประกอบเครื่องกังหันไอพ่น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนและวิจัยพัฒนานวัตกรรม ซึ่งสินค้าดังกล่าวนี้เป็นที่ต้องการของทั้งตลาดโลกและตลาดจีน

ในส่วนของสินค้าอาหาร สนค.มองว่าแม้จีนจะพยายามลดการพึ่งพาการนำเข้า แต่น่าจะเน้นลดการนำเข้าในสินค้าอาหารหลัก (Staple Food) เช่น ข้าว อย่างไรก็ตามหน่วยงาน CASS คาดการณ์ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจีนจะขาดแคลนผลผลิตข้าว จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทย สำหรับอาหารอื่นๆ ที่ไทยส่งออกไปจีน เช่น ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง อาหารปรุงแต่ง ก็ยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่มาก ประกอบกับการที่จีนเข้าสู่สังคมเมืองทำให้คนมีรายได้มากขึ้น รวมทั้งการเป็นสังคมสูงวัย ส่งผลต่อไลฟ์สไตล์การบริโภคอาหารที่ต้องการอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12 ม.ค. 64)

ที่มาของข่าว: InfoQuest
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.