สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

พาณิชย์ประเมิน กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25% ดันส่งออกเพิ่ม 385 ล้านเหรียญฯ
  25/03/2020
Image result for พิมพ์ชนก วอนขอพร

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวถึงการลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพื่อรองรับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะรุนแรงกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยว่า สนค. คาดการณ์ว่าการลดลงของอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 จะส่งผลให้มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 385 ล้านดอลลาร์ สรอ.

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักในการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้น่าจะเน้นผลเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหากได้ความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ในการช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องของลูกหนี้ อาทิ การยืดระยะเวลาชำระหนี้ของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และประชาชน เป็นต้น ก็จะบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น

การลดดอกเบี้ยครั้งนี้จะส่งผลต่อการค้าในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ตามการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเกษตร โดยหากสินค้าเกษตรขายแล้วรับเป็นเงินบาทมากขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อรายได้ของเกษตรกร แต่สำหรับภาคการนำเข้า โดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพาชิ้นส่วนและวัตถุดิบนำเข้า (Import Content) สูง อาจได้รับผลกระทบจากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง จึงควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Hedge) ซึ่งหากเงินบาทอ่อนไปอีกระยะหนึ่งก็จะช่วยประคองการส่งออกไปได้บ้าง ท่ามกลางปัจจัยกดดันอื่น ๆ



นอกจากนี้แล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยรวมกับราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก จะส่งผลให้ต้นทุนในการบริโภคและการลงทุนลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อ คงจะได้รับผลจากการลดดอกเบี้ยไม่มากนัก แต่ปัจจัยราคาน้ำมันจะเป็นปัจจัยกดดันลง (downward factor) ที่มีน้ำหนักมากกว่า และอีกปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อเงินเฟ้อ จะเป็นราคาสินค้าอาหารที่มีอุปสงค์ในประเทศมากขึ้น แต่อุปทานอาจจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ดังนั้น เมื่อหักกลบลบกัน คิดว่าปัจจัยสำคัญต่อเงินเฟ้อน่าจะเป็นเรื่องอื่นมากกว่าการลดดอกเบี้ย

สำหรับมาตรการปิดสถานที่บางแห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีผลใช้บังคับในวันนี้ (22 มีค. 63) ว่า กระทรวงพาณิชย์น่าจะมีบทบาทสนับสนุนในด้านการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคา การรับรองให้ประชาชนมีช่องทางเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็น และการติดตามดูแลไม่ให้มีการกักตุนสินค้าอาหารและอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมา สนค.ได้ส่งพนักงานเก็บราคาไปสำรวจตลาดทุกจังหวัดเพิ่มเติมพร้อมกับหารือกับภาคเอกชนแล้ว

“จากรายงานที่ได้รับจนถึงวันศุกร์ที่ 20 มีค. 63 ด้านราคาในประเทศส่วนใหญ่ยังปกติ ในทุกภูมิภาค ยังไม่พบเจอการฉวยโอกาสขึ้นราคา สำหรับสถานการณ์การผลิตสินค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับปกติและเพียงพอต่อความต้องการ โดยเจลและแอลกอฮอล์น่าจะผลิตได้พอใช้ในไม่ช้า แต่หลังจากที่ประกาศมาตรการออกมาเมื่อวันที่ 21 มีค. อาจจะทำให้ประชาชนออกไปซื้อสินค้ามาเก็บมากขึ้น ตรงนี้ยังยืนยันว่า สินค้าอาหารและของใช้อุปโภคบริโภคยังมีปริมาณเพียงพอให้คนไทยกินใช้ในประเทศ ผู้ผลิตและร้านค้าพร้อมจะผลิตเพิ่มขึ้นหรือจัดชั้นวางให้เร็วขึ้นเพื่อให้ประชาชนซื้อหาได้ตลอดเวลา และร้านอาหารร้านค้าไม่ได้ปิดหมด ยังคงออกไปหาซื้อของได้

สำหรับการส่งออก สนค. ได้ประสานกับภาคเอกชนและสอบถามโดยตรงกับผู้ผลิตที่เป็นเครือข่ายในการทำดัชนีราคานำเข้าส่งออกของเรา ได้รับข้อมูลตรงกันว่า หลายสินค้ามี order ลดลงหรือทรงตัว แต่มีข้าว ไก่ กุ้ง ที่มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก แต่น่าจะยังไม่กระทบต่อความต้องการในประเทศ อย่างข้าว ขอยืนยันว่ายังมีขายในประเทศเพียงพอแน่นอนในชั้นนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์จะติดตามดูแลปริมาณการผลิตและการนำสินค้าจำเป็นเข้าสู่ตลาดอย่างใกล้ชิดต่อไป” นางสาวพิมพ์ชนก กล่าว

ทั้งนี้ มาตรการอื่น ๆ โดยเฉพาะการกระตุ้นเพื่อป้องกันไม่ให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลงมากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมนั้น สนค. มองว่า งบประมาณของรัฐบาลที่กำลังจะมีเม็ดเงินออกมาในระบบเร็ว ๆ นี้ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในการดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งหากหน่วยงานมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนการใช้จ่าย ให้สามารถเน้นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนเกษตรกร SME และประชาชนที่ต้องการงานและรายได้ในห้วงเวลานี้ได้ ก็จะช่วยประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ในระยะนี้ ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคบริการ เช่น ท่องเที่ยว ช่วยเหลือแรงงาน และ SME หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 มี.ค. 63)

ที่มาของข่าว: Infoquest
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.