สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

มุมมองศก.ไทยปี 63 ต้องลุ้น ปัจจัยรุมเร้า "ตั้งสติ-รับมือ" ฝ่าวิกฤติ
  03/01/2020
ลาแล้วกับปี2562 ปีแห่งการต่อสู้ ดิ้นรน ภายใต้กระแสกดดันทั้งภายใน และภายนอกประเทศที่โหมกระหน่ำเศรษฐกิจของไทยชนิดที่ใครยืนหยัดอยู่ไม่ได้ก็โดนพัดตกขบวน หรือถ้ามีกำลังต้องใช้กำลังมากเพื่อเอาตัวรอด



ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้อยู่ในสภาวะแข็งบน อ่อนล่าง รวยกระจุก จนกระจาย ฝนตกไม่ทั่วฟ้า แม้จะตัวเลขของ GDP ที่ใช้วัดการเติบโตที่ดูไม่น่าขี้เหร่มากนักที่อยู่ในระดับประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ต้นๆ จากปีที่แล้ว 4 เปอร์เซ็นต์ต้นๆก็ตาม ซึ่งก็ได้มีมุมมองที่น่าสนใจของนักวิชาการที่ได้ออกมาแสดงความเห็นในทิศทางเศรษฐกิจในปี 2563 ไว้อย่างน่าสนใจ

ปริญญ์ พานิชภักดิ์ หัวหน้าทีมอเวนเจอร์ เศรษฐกิจทันสมัย (New Economy) และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า เรื่องการส่งออกของไทยเรายังอ่อนแอมาก ซึ่งจะไปโทษเรื่องเงินบาทแข็งตัว จะไปโทษการค้าโลกที่สหรัฐกับจีนยังไม่ลงรอยกัน แม้ในระยะหลังจะดูดีขึ้นก็ตาม เพราะที่จริงแล้วมันเป็นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจากปัจจัยพื้นฐานบางส่วนเช่น ทุนสำรอง เงินบัญชีเดินสะพัด นักท่องเที่ยวยังเดินทางมาเที่ยวอยู่ เงินลงทุนยังไหลเข้ามาบ้านเราเช่น ตราสารหนี้ แม้จะน้อยกว่าอินโดนีเซีย หรือเวียดนาม แต่เงินบาทแข็งไปกระทบคนที่ต้องส่งออก แต่เงินบาทแข็งเป็นผลดีกับผู้นำเข้า และคนที่ต้องการเข้ามาลงทุนในระยะยาวในประเทศไทย เพราะแปลว่ามูลค่าสินทรัพย์ในประเทศไทยสูงขึ้น

ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจปี 2563 ยังมีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่จะเติบโตได้จากภาคการท่องเที่ยว ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ การลงทุนของภาครัฐ การลงทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก หรือ อีอีซี และธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (ดอกเบี้ยต่ำ)ต่อไป ซึ่งหากสัญญาณเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ก็ได้ประมาณการเศรษฐกิจปีหน้าว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 3.0 และ 3.4 ในปี 2562 และ 2563 ตามลำดับ และน่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาส 2/2563 เป็นต้นไป

รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง(วบส.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า นิด้าได้ประเมินปัจจัยการเติบโตของเศรษฐกิจไทย(GDP) ในปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.5-2.7% โดยมีปัจจัยจากการขับเคลื่อนนโยบายการคลังที่กระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐเป็นหลัก โดยภาครัฐต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินในปี 2563 ที่มีวงเงินกว่า 3.2 ล้านล้านบาท เพื่อดำเนินตามแผนการลงทุน เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ปัจจุบันมีความคืบหน้าแผนงานที่ชัดเจน อีกทั้งยังมีส่วนงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอีกกว่า 4 แสนล้านบาท ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านการจ้างงานและการลงทุนมากขึ้น

สำหรับภาคส่งออกของไทยในปี 2563 คาดว่ายังขยายตัวได้ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ภูมิภาคอาเซียนที่มีมูลค่าส่งออกไปอาเซียนกว่า 27.14% ซึ่งเป็นผลพวงการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนพร้อมกันนี้ยังมุ่งขยายเศรษฐกิจใน 33 จังหวัดชายแดนของประเทศไทยที่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมาร์ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ผ่านการทำกิจกรรมทางการค้า เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและเกิดการกระจายรายได้ให้กับคนท้องถิ่น


อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ 1. สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ทำให้ภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัว กระทบต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้น ผลจากอิทธิพลของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากต่างประเทศ และภาคการส่งออกมีแนวโน้มหดตัว -1.0% ถึง -2.0% ในปีหน้า ,2. ปัญหาหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะหนี้เสียจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหนี้บัตรเครดิต 3. ผลกระทบจากนโยบายภาครัฐเรื่องการจัดระเบียบทางเท้ากระทบต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะกลุ่มสตรีทฟู้ดและหาบเร่ 4. ภาคการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ซบเซา ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไม่ชะลอลงทุนเพิ่มกำลังการผลิต และ5. นโยบายที่เอื้อต่อกลุ่มทุนใหญ่ ส่งผลให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ

อุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2562 เผชิญความท้าทายรอบด้าน โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกประเทศที่ทำให้ภาคการส่งออกยังคงได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าที่ยืดเยื้อและสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำหดตัวลง อีกทั้งการผลิต ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีบทบาทสูงในเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และการส่งออกที่ชะลอลงเช่นเดียวกัน

โดยจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ทางกระทรวงการคลังได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจประกอบด้วย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 อาทิ มาตรการชิมช้อปใช้เฟส 1 มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง มาตรการพักชำระหนี้เงิน ต้นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองผ่านธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.ซึ่งมีกองทุนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 2,000 กองทุน มาตรการสินเชื่อผ่อนปรนผ่านสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งมีการอนุมัติ สินเชื่อไปแล้ว มากกว่า 600 ล้านบาท เป็นต้น

ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 อาทิ มาตรการชิมช้อปใช้เฟส 2 โดยตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย.-17 พ.ย.62 พบว่า มีจำนวนผู้ใช้สิทธิ์รวมเฟส 1 และเฟส 2 แล้ว 11,738,468 ราย ใช้จ่ายรวม 13,117 ล้านบาท และล่าสุด มาตรการชิมช้อปใช้ เฟส 3 เมื่อวันที่ 12 พ.ย.62 มีผู้ลงทะเบียนเพิ่มเติมครบ 1.5 ล้านคนแล้ว ขณะที่การเปิดลงทะเบียน รอบพิเศษสำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีผู้มาลงทะเบียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีเป้าหมายอยู่ที่ 500,000 คน รวมทั้งภาครัฐได้กระตุ้นกำลังซื้อในประเทศอีกจำนวนมากอาทิ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ผ่านการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมการจำนองเหลือเพียงร้อยละ 0.01 ควบคู่ไปกับโครงการสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และผ่อนปรนเพียงร้อยละ 2.5 ใน 3 ปีแรก ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นอุปสงค์ในภาค อสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2562 และยังเป็นการสนับสนุนให้ ผู้มีรายได้น้อยได้สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองด้วย

นายอุตตม กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป เชื่อว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ โลกต่อเนื่องในไตรมาส 4 ปี 2562 และปี 2563 โดยกระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนในการลงทุน และสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนในการบริโภคอุปโภคมากขึ้นหากจะให้ประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) ได้พูดถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)ในไตรมาสที่สามของปี 2562 และแนวโน้มปี 2562-2563 โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 นับเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งขยายตัวเพียง 1% โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะลดลงร้อยละ 2.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.3 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.8 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ6.2 ของ GDP ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส หลังยังเผชิญปัญหาสงครามการค้า และบรรยากาศทางการเมืองไม่นิ่ง
หันมาดูมุมมองของนักธุรกิจที่มีความเห็นในทิศทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2563 สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า ปี 2563 นักธุรกิจทุกภาคส่วนทั้งรายเล็กรายใหญ่ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว, สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่มีผลต่อประเทศไทย, ค่าเงินบาทแข็งค่า เพราะฉะนั้นการทำธุรกิจจึงต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งแก้ไข เพราะเวลานี้เงินต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาเพื่อลงทุน แต่เข้ามาพักเพื่อเอาดอกเบี้ย
ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563มีปัจจัยบวกที่เกิดขึ้นโดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะอยู่ในกรอบ 2.5-3 เปอร์เซ็นต์ จึงมีค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ 2.7 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจคาดมาจาก พ.ร.บ.งบประมาณการลงทุนภาครัฐ ที่จะผ่านการพิจารณาภายในไตรมาสแรกของปีหน้า ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนทำได้ภายหลังจากนี้ และจะผลักดันให้ทุกโครงการพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้ดำเนินการตามแผน ซึ่งจะสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจได้จริง เช่น โครงการก่อสร้างท่าอากาศยาน 4 โครงการ ทางหลวงพิเศษ 3 โครงการ รถไฟทางคู่ 4 โครงการ รถไฟฟ้าในเมือง 4 โครงการ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีโครงการที่เพิ่งเซ็นสัญญา รอเซ็นสัญญา หรือรอการประมูลอีกไม่น้อยกว่า 7 โครงการ

อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ฉายภาพว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2563 มีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่คงไม่ถึงขั้นถดถอย ปัจจัยหลักมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะเติบโตเพียง 3% หรือเติบโตต่ำสุดตั้งแต่หลังวิกฤติการเงินโลก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงภาคเศรษฐกิจไทยวันนี้คือ หยุดลงทุนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการค้าโลก ซึ่งอาจจะลามถึงเศรษฐกิจในประเทศผ่านการบริโภคและการลงทุนที่จะอ่อนแอลง เริ่มเห็นสัญญาณการลงทุนยังคงอ่อนแอ ส่วนการบริโภคภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากรายได้นอกภาคเกษตรจากการตัดโอทีทำให้กำลังซื้ออ่อนแอลง

"สงครามการค้าโลกคงไม่จบง่ายๆอย่างที่หลายคนคาดหวังให้ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ถูกถอดถอน สงครามการค้าจะได้จบลง เนื่องจากเดิมสหรัฐฯต้องการลดขาดดุลการค้าสหรัฐฯกับจีนเท่านั้น แต่ครั้งนี้สหรัฐกดดันไม่ให้เศรษฐกิจจีนโตเร็ว เพื่อไม่ให้จีนขึ้นเป็นมหาอำนาจ และเทรดวอร์ครั้งนี้ยังเป็นเรื่องของ tech war ด้วย จะส่งผลให้สงครามดำเนินไปอีกยาว แต่เชื่อว่าสุดท้ายการค้าโลกจะไม่ทรุดหนักกว่านี้ ถึงจุดหนึ่งคนจะปรับตัวได้บนข้อแม้ว่าข้อตกลงภาษีระหว่างทั้ง 2 ประเทศต้องชัดเจน ซึ่งน่าจะเห็นความชัดเจนช่วงไตรมาส 1/2563 หรือเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้งขั้นต้นของสหรัฐฯ"

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ภัทร กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมาการลงทุนของไทยชะลอตัวลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยเกิดดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างสูง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บาทแข็งค่า โดย 3 ปีที่ผ่านมา ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เทียบกับสกุลเงินทั่วโลกพบว่า เงินบาทแข็งค่าถึง 20% เรียกว่า แข็งที่สุดในปฐพี ส่งผลให้สินค้าไทยที่ไปซื้อขายกับประเทศต่างๆแพงขึ้น20% ทำให้กระทบกับความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่การบริโภค หรือกำลังซื้อในประเทศปีนี้อ่อนแอลง โดยเฉพาะสินค้าคงทนเช่น รถยนต์ที่ปีนี้ยอดขายโตติดลบ ทำให้การบริโภคโตหนืดลง ส่งผลไปยังยอดขายตามร้านค้า ร้านอาหารด้วย สิ่งที่ห่วงคือเมื่อบริษัทเหล่านี้ลดกำลังผลิต จะกระทบแรงงาน ตั้งแต่ลดโอที ระยะหลังจะเป็นการปรับลดกำลังคน ให้หยุดงานมากขึ้น ข่าวปลดคนงานเริ่มเยอะขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อโมเมนตัมเศรษฐกิจจากปลายปีนี้เข้าไปสู่ต้นปีหน้า

"ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563 มีความเสี่ยงเติบโตช้า มีปัจจัยความไม่แน่นอนสูง สงครามการค้าที่มีโอกาสที่จะจบหรือไม่จบก็ได้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงกับเมกะเทรนด์เรื่องของการดิสรัปชั่น ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของสังคมและการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฏจักรภาคธุรกิจเช่น โครงสร้างประชากรที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของตลาด และการบริโภคเริ่มเปลี่ยนไป ธุรกิจแบบเดิมๆไม่สามารถทำตัวแบบเดิมๆได้ อย่างเอสเอ็มอีที่กำลังเผชิญปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งผลกระทบอาจไม่ได้มาจากเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างก็เป็นส่วนหนึ่งที่กระทบการทำธุรกิจเช่นกันเช่น สื่อ ร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งสถาบันการเงินก็ได้รับผลกระทบ"

ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน ภัทร(KPP) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกตามที่ IMF ประเมินล่าสุดชี้ว่า ภาคอุตสาหกรรมของโลกอยู่ในภาวะเสื่อมถอย แต่คาดหวังว่าในปีหน้าสงครามการค้าจะคลี่คลาย รวมถึงคาดว่าภาคบริการและบริโภคของอเมริกาจะยังสามารถยันเศรษฐกิจได้อยู่ จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกปีหน้าจะฟื้นได้บ้าง แต่เป็นการฟื้นตัวแบบ precarious หรือหมิ่นเหม่ คือยังไม่ค่อยมั่นใจ โดยหากเศรษฐกิจโลกไม่เริ่มฟื้นตัวช่วงกลางปีหน้า แนวโน้มก็จะไหลลงต่อ เพราะส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 1 หรือไตรมาส 2 และเริ่มมีทิศทางฟื้นตัว แต่หากกลางปีหน้าไปแล้วไม่ฟื้น เชื่อว่ามีโอกาสที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย

สุดท้าย.....ทุกคนต้องอยู่ให้ได้ และรับมือพร้อมตั้งสติ ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา...

ที่มาของข่าว: สยามรัฐออนไลน์
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.