สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

“ไอเอ็มเอฟ”ชมเปาะเศรษฐกิจไทยเสถียรภาพแกร่ง
  06/11/2019


นางคริสตาลีนา กอร์เกียว่า กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในงาน "Joint BOT-IMF High level Conference" ว่า ขณะนี้ประเทศไทยเผชิญกับกับท้าทายจากปัจจัยด้านต่างประเทศและในประเทศ โดยปัจจัยด้านต่างประเทศนั้น ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศที่เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจ ถือเป็นปัจจัยที่ฉุดรั้งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน เป็นตัวเร่งให้เกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินสกุลต่างๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนก่อให้เกิดเป็นข้อจำกัดต่อขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน

ส่วนปัจจัยภายประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ทั้งจากภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน หนี้ภาคครัวเรือนในระดับสูง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความเหลื่อมล้ำในภูมิภาคต่างๆ และความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ทั้งนี้ มองว่าประเทศไทยโชคดีที่เสถียรภาพด้านต่างประเทศยังมีความเข้มแข็ง เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ถือเป็นกันชนที่ดี อีกทั้งยังมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะใช้นโยบายการเงินการคลังเพื่อรับมือกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกได้ แต่ต้องเก็บไว้ใช้ในภาวะสถานการณ์ข้างหน้าที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ด้วย โดยการเลือกใช้หรือการออกแบบนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะต้องมีการใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ใช่การให้เงินเพียงอย่างเดียว ต้องมีกลไกมารองรับ และควรคำนึงถึงการยกระดับภาคผลิตของประเทศ เป็นการใช้ความสามารถด้านการคลังเพื่อประโยชน์ในระยะยาวด้วย

“ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงอย่างพร้อมเพรียงกันนั้น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากความตึงเครียดทางการค้าที่สร้างแรงกดดันต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ และการลงทุน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ที่ต่างสร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้น จึงเห็นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนควรเตรียมความพร้อมสำหรับการทำนโยบายร่วมกัน ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว” นางคริสตาลีนา กล่าว
อย่างไรก็ตาม สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ความเสียหายจากสงครามการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยไอเอ็มเอฟได้ปรับลดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลง 0.8% มาเหลือที่ 3% ขณะที่ปีหน้าคาดว่าจะเติบโตได้ 3.4% ส่วนเศรษฐกิจในอาเซียนคาดว่าปีนี้จะเติบโตได้ 4.6% ลดลงจากที่เคยประเมินไว้ที่ 5% ขณะที่ปีหน้าคาดว่าจะเติบโตได้ 4.8%

ด้านนโยบายการเงินนั้น ประเทศไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 1 ครั้งในปีนี้ และยังมีช่องว่างที่ยังลดได้มากกว่านี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะประชุมกันในวันที่ 6 พ.ย. นี้ โดยต้องดูว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงินนั้น จำเป็นต้องทำในตอนนี้หรือไม่ หรือจะเป็นครั้งที่สามารถหยุด (หรือคงอัตราดอกเบี้ย) ได้

“หากมองในกรณีของธนาคารสหรัฐ (เฟด) ที่ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ในการประชุมครั้งล่าสุด (30 ต.ค.) และส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในอนาคตอันใกล้ โดยระบุว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันยังอยู่ที่ระดับที่เหมาะสม เพราะคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐไปในทิศทางที่ดี และยังมีสัญญาณบวกจากการตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แม้จะยังไม่เป็นทางการ การเลื่อน Brexit แม้จะยังไม่สำเร็จทั้งสองอย่าง แต่ก็มีสัญญาณการลดลงของความไม่แน่นอน เหล่านี้คือเรื่องที่ผู้วางนโยบายต้องให้ความสนใจ” นางคริสตาลีนา กล่าว

สำหรับประเทศไทยอยู่ในภาวะภาคอุตสาหกรรมชะลอลง การลงทุนก็ชะลอลง แม้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงสูงอยู่ แต่จะเป็นการดีหากประเทศไทยจะอัดฉีดมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ช่องว่างด้านนโยบายการคลัง แต่จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการลงทุนที่มีประสิทธิผลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศ

ที่มาของข่าว: ไทยโพสต์
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.