สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

ส่งออกวูบหนัก-สงครามการค้าไม่จบ “สรท.”รับส่งออกปีนี้ติดลบร้อยละ 1 บี้คลัง-ธปท.ลงมาดูแลเสถียรภาพเงินบาทจริงจัง
  02/07/2019
สรท.หั่นประมาณการส่งออกไทยปี62 เหลือ -1% จากเดิมที่เคยคาดโต 1% หลังมูลค่าการส่งออกในเดือนพ.ค.62 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง-ผลกระทบปัญหาสงครามการค้า วอนธปท.-คลังดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพระหว่างรอมีรัฐบาลชุดใหม่



น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ( สรท.)เปิดเผยว่า จากที่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคการส่งออกของไทยปีนี้ แม้ว่าช่วงนี้จะมีข่าวดีว่าปัญหาสงครามการค้าสหรัฐฯกับจีน โดยสหรัฐฯผ่อนปรนและอาจจะไม่ใช้มาตรการภาษีตอบโต้กับจีนอีก ทำให้หลายประเทศผ่อนคลายความกังวลลงไปได้บ้าง แต่โดยรวมยังมีอีกหลายปัจจัยที่กระทบต่อภาคการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันและความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้ สรท.มองว่าโอกาสที่ตัวเลขการส่งออกปีนี้ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเป็นบวกร้อยละ 1-3 แต่จากดูตัวเลขการส่งออกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มขยายตัวติดลบ ดังนั้น จึงคาดการณ์ว่าตัวเลขการส่งออกของไทยปีนี้น่าจะติดลบร้อยละ 1 ค่อนข้างสูงมาก จากหลายปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้สิ่งที่ สรท.ยังคงกังวลอย่างมากคือ แม้สงครามการค้าสหรัฐฯกับจีนจะไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ แต่ต้องติดตามว่าจะมีมาตรการตอบโต้อะไรออกมาอีกหรือไม่ รวมทั้งความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ สรท.ได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง แต่หน่วยงานเหล่านี้ยังไม่สามารถที่จะดูแลปัญหาค่าเงินบาทได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากต้องรอแนวทางของรัฐบาลชุดใหม่ก่อนว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าหลังเลือกตั้งจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งภาคเอกชนต่างรอความชัดเจนเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้รัฐบาลใหม่เข้ามากำหนดแนวทางการบริหารและจัดการให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้

โดย สรท.มีข้อเสนอภาครัฐต้องกำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้แข็งค่าสูงกว่าคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ โดยการใช้มาตรการปกป้องค่าเงินบาทของ ธปท.เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่ผิดปกติ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการส่งออก โดยเฉพาะเอสเอ็มอีต้องบริหารจัดการค่าเงินไม่ให้มีความผันผวนขึ้นลงมากเกินไปจนกระทบต้นทุนการส่งออก โดยพิจารณาใช้เครื่องมือทางการเงินที่ ธปท.ออกมาตรการประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจากการแข็งค่าของเงินบาท

นอกจากนี้ขอให้เร่งจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพทางการเมืองโดยเร็ว และขอให้รัฐบาลใหม่เร่งสนับสนุนภาคการค้าระหว่างประเทศด้านต่างๆโดยเร็ว สนับสนุนการเจรจาความตกลงการค้า FTA มากที่สุด เช่น FTA ไทย-อียู ไทย-ปากีสถาน RCEP และ CPTPP เป็นต้น และการเปิดตลาดใหม่หรือตลาดทดแทน ไม่แน่นอนของสงครามทางการค้า ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบทางการค้าที่ยังคงเป็นอุปสรรค เพื่อช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูงจากปัจจัยภายในและภายนอก ส่งเสริมการพัฒนาปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับการค้า และการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น

สำหรับตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ค.62 มีมูลค่า 21,017.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 663,647 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าเดือนพ.ค.61 มีมูลค่า 20,836.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 666810.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้เดือนพ.ค.62 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 182 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขาดดุล 3,163 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามตัวเลขส่งออกเดือนม.ค.-พ.ค.62 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 101,561 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 3,204,470 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 100,830 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 3,229,146 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ช่วงเดือนม.ค.-พ.ค.62 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 731 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขาดดุล 24,677 ล้านบาท

ที่มาของข่าว: สยามรัฐออนไลน์
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.