สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

อนาคตแรงงานไทย...เมื่อจักรกล AI รุกคืบ!
  15/01/2019
?????™?????„??????????‡??‡?????™??„??????...???????????ˆ?????ˆ????????????? AI ??????????„?????š!

ปฏิเสธไม่ได้ว่าภายใต้โลกธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามกระแสดิจิทัล Internet of Things : IoT และการรุกเข้ามาของ “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial Intelligence : AI) และจักรกลอัจฉริยะเพื่อทำงานแทนมนุษย์

ไม่เพียงกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกที่ต้องปรับเปลี่ยนไปจากอดีต แรงงานวิชาชีพในทุกประเทศทั่วโลกต่างจับตาพัฒนาการรุกคืบของเหล่าจักรกลอัจฉริยะเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อรับมือกับผลกระทบจะเกิดขึ้น!

สถาบันระหว่างประเทศแมคเคนซี ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา ได้ทำการศึกษาผลกระทบจากหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์ ที่กำลังเข้ามามีบทบาททำงานหลายอย่างแทนคน โดยได้เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างหลากหลายอาชีพมากถึง 800 อาชีพ ใน 46 ประเทศ

ผลสำรวจบ่งชี้ว่าภายในปี ค.ศ.2030 หรืออีก 12 ปีจากนี้ (พ.ศ.2573) จะมีคนตกงานทั่วโลก 800 ล้านตำแหน่งจากการถูกหุ่นยนต์เข้ามาทดแทนคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 1 ใน 5 ของตลาดแรงงานโลก!

โดยตำแหน่งงานที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด คือผู้ที่ทำงานควบคุมเครื่องจักร และแรงงานในอุตสาหกรรมอาหาร โดยประเทศที่มั่งคั่งร่ำรวยจะได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะนายจ้างมีศักยภาพที่จะนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทดแทนการใช้แรงงานคนได้ทันที ขณะที่ประเทศยากจนยังต้องใช้เวลา

สำหรับประเทศไทยกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์และประกันภัยที่ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดูจะเป็นธุรกิจที่เริ่มเห็นผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา

ธนาคารพาณิชย์ ได้ปิดสาขาไปแล้วกว่า 121 สาขา และยังประเมินต่อไปด้วยว่าในที่สุดสาขารูปแบบเดิมจะถูกปิดลงไปไม่ต่ำกว่า 50% หรือรวมกันทั้งระบบจะมีไม่เกิน 3,500 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ถึง 6,734 แห่ง

สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) ที่ระบุว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้าง ของโลกดิจิทัล หรือ “ดิจิทัลดิสรัปต์” จะเป็นตำแหน่งงานที่มีลักษณะซ้ำๆ ซึ่งมีประมาณ 30% หรือ 170,000 ตำแหน่ง เป็นผู้ให้บริการลูกค้า หรือเคาน์เตอร์สาขา 94,000 คน รองลงมาคือนักบัญชีและการเงิน 51,000 คน จากปริมาณการจ้างงานในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินและประกันภัยทั้งระบบที่มี 548,000 คน

ทั้งหมดนี้ทำให้ “ทีมเศรษฐกิจ” ต้องเปิดพื้นที่สำรวจและสอบถามกูรูทั้งหลาย ที่สุดแล้วโฉมหน้าของกระแสไหลบ่าที่ว่านี้จะส่งผลกระทบไปมากน้อยแค่ไหน และเราต้องเตรียมรับมือกันอย่างไรในอนาคต


เทคโนโลยีเป็นเสมือนดาบ 2 คม

นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉายภาพรวมกับ “ทีมเศรษฐกิจ” ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยี นอกจากส่งผลดีต่อการทำธุรกิจ และการเกษตรแล้ว ยังเป็นความท้าทาย หรือความเสี่ยงไปพร้อมๆกัน โดยเฉพาะแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี ที่ปัจจุบันมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาทดแทนคนมากขึ้น



สำหรับภาคเกษตรนั้นในระยะสั้น และกลาง ยังไม่น่าห่วงเรื่องการตกงานมากนัก เพราะยังใช้หุ่นยนต์ หรือเครื่องจักรกลทางการเกษตรน้อย ส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักรเฉพาะการเก็บเกี่ยว ไถดินเท่านั้น แต่ในระยะยาวเมื่อมีการใช้เครื่องจักรมากขึ้น อาจทำให้การใช้แรงงานคนลดลงเช่นกัน

“ในบางอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักร หรือหุ่นยนต์มากขึ้นนั้นอาจมีการจ้างงานลดลง แต่บางอุตสาหกรรมยังต้องการแรงงานคนอยู่ โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมาก จึงไม่ต้องกลัวจะตกงาน แต่กลุ่มแรงงานที่อาจเผชิญปัญหาตกงานส่วนใหญ่เพราะเรียนมาในสายที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน หรือบางคนเลือกงาน”

ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหา โดยนำแรงงานที่เรียนมาไม่ตรงกับสายงานไปฝึกอบรมใหม่ให้ตรงกับความต้องการ หรือสนับสนุนให้เด็กเรียนสายช่างมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ขณะที่ภาคเกษตรเองก็ต้องปรับตัวให้เป็น “สมาร์ท ฟาร์เมอร์” มากขึ้น ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้น สามารถสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการสื่อสาร ระหว่างนายจ้างและลูกไร่ หรือมีแอปพลิเคชันที่ช่วยให้การทำงานในไร่ง่ายขึ้น

ห่วงโซ่แรงงานที่จ่อ “สูญพันธุ์”

“สำหรับประเทศไทย เราจะเริ่มเห็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่แรงงานตั้งแต่ต้นปี 2562 โดยจะเห็นภาพที่ชัดเจนและรวดเร็วในธุรกรรมการเงิน ซึ่งคนไทยสามารถเปิดบัญชีผ่านช่องทางดิจิทัล ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ผ่านร้านสะดวกซื้อ และสามารถทำธุรกรรมการเงิน จ่ายบิลต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ ผลที่ตามมาก็คือ จำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์จะทยอย

ปิดตัวลงไปเรื่อยๆในทุกธนาคาร” นายธนิต รองประธานสภาที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ให้ภาพรวมกับ “ทีมเศรษฐกิจ” เพิ่มเติม



เขาระบุด้วยว่าคาดว่า ภายใน 2-3 ปีจากนี้ ธนาคารพาณิชย์อาจทยอยลดจำนวนสาขาลงอีก 2 ใน 3 ของสาขาที่เปิดบริการอยู่ในขณะนี้ แม้แต่เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) ก็มาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เพราะเทคโนโลยีเริ่มล้าสมัยไปแล้ว การเลิกจ้าง พนักงานประจำสาขาของธนาคารต้องทยอยเกิดขึ้นแน่

ขณะที่การซื้อขายสินค้าผ่านธุรกรรมออนไลน์ (อี-คอมเมิร์ซ) จะทำให้รูปแบบการค้าปลีกในระยะ 1-2 ปีข้างหน้านี้เปลี่ยนไป เพราะล่าสุดสัดส่วนการซื้อขายสินค้าผ่าน อี-คอมเมิร์ซคิดเป็น 50% ของระบบค้าปลีกแล้ว จากที่เคยต้องอาศัยหน้าร้านและพนักงานขาย

แต่เมื่อ “กลุ่มอาลีบาบา” ธุรกิจออนไลน์รายใหญ่ของจีนรุกเข้ามาใช้ไทยเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าอี-คอมเมิร์ซที่ใหญ่สุดในภูมิภาค ส่งผลให้ธุรกิจค้าออนไลน์ขยายตัวรวดเร็วยิ่งกว่าคลื่นสึนามิ ผลที่เห็นในขณะนี้คือ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่งต้องปิดกิจการหรือลดขนาดพื้นที่ของห้างลง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ

“จึงมีคำถามว่าสมาร์ทเทคโนโลยี ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยงานมนุษย์หรือเป็นมหันตภัยคุกคามมนุษย์ “DISRUPTIVE TECHNOLOGY” กันแน่ วันนี้คำตอบอาจยังคลุมเครือ เพราะรายงานการศึกษาทั้งในและต่างประเทศยังไม่สามารถชี้วัดได้ว่าการรุกคืบของเทคโนโลยีเหล่านี้ จะทำให้ความต้องการแรงงานมนุษย์ถดถอยลงไปถึงระดับใด”

อนาคตบัณฑิตเตะฝุ่นทะลัก!

ล่าสุดองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ออกแถลงการณ์เตือนแรงงานในกลุ่มอาเซียนว่า เป็นกลุ่มที่มีโอกาสถูกกระทบจากการเข้ามาของเทคโนโลยี โดยเฉพาะแรงงานภาคการผลิต และบริการทั้งยังคาดการณ์ว่าในระยะเวลา 10 ปีจากนี้ไป แรงงานกลุ่มเสี่ยงอื่นๆก็มีโอกาสจะถูกทดแทนด้วยเช่นกัน

“ในส่วนของแรงงานไทยที่อาจได้รับผลกระทบเสี่ยงถูกเลิกจ้างจะสูงถึง 4.9 ล้านคน ทำให้หลายๆอาชีพจะทยอยหายไปจากวงจร อาทิ ภาคธุรกิจบริการ, สถาบันการเงิน, ค้าส่ง-ค้าปลีก, พนักงานขายของ, แคชเชียร์, งานที่เกี่ยวกับการกระจายสินค้า, พนักงานรักษาความปลอดภัย, งานประเภทเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือธุรกรรมที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ฯลฯ”



ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับผลศึกษาของกระทรวงแรงงาน โดยสภาที่ปรึกษาแรงงานแห่งชาติ ซึ่งได้ศึกษาผลกระทบด้านการผลิตและบริการร่วมกับผู้ประกอบการและตัวแทนสหภาพแรงงาน พบว่า คลัสเตอร์ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มนำร่องใช้หุ่นยนต์ทดแทนแรงงานนั้นสามารถทดแทนแรงงานได้เฉลี่ย 20-30% ของการจ้างงาน ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่านายจ้างกลุ่มนี้มีการลดการรับพนักงานเพิ่มชัดเจน

“ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันหามาตรการแก้ไข รัฐบาลหลังการเลือกตั้งต้องจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบอย่างจริงจัง ต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอาชีวศึกษาขึ้นไปจนถึงปริญญาตรี ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมใหม่ เพราะสาขาที่เรียนกันในมหาวิทยาลัยในปัจจุบันกว่าครึ่งนั้นบอกเลยว่าอาจไม่มีการจ้างงานอีกต่อไป”

“AI : ใช่-ไม่ใช่จักรกลสังหาร”

ขณะที่นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหารธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ชี้ว่า“การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ ฐานข้อมูลบิ๊ก ดาต้า (Big Data) ตลอดจนการเก็บข้อมูลต่างๆไว้ในระบบคลาวด์ (Cloud) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานในโลกยุคดิจิทัลนั้นไม่ได้มุ่งหวังจะเข้ามาทดแทนคนอย่างที่เข้าใจ”

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เห็นได้ชัด คือความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ขณะเดียวกัน เทคโนโลยียังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยเพิ่มคุณภาพงาน ทั้งยังช่วยลดต้นทุน ทดแทนการขาดแคลนแรงงานในงานที่มีความอันตราย

ในธุรกิจอาหาร หุ่นยนต์อัตโนมัติสามารถยกระดับความปลอดภัยในกระบวนการผลิตอาหาร (Food Safety) ด้วยการลดการปนเปื้อนจากคนสู่สินค้าได้ รวมทั้งยังช่วยให้การจัดการวิเคราะห์และทำนายข้อมูลในอนาคตมีความแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในเนื้องานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วางแผนทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ รวมไปถึงการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนั้น หุ่นยนต์อัตโนมัติยังไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ เพียงแต่ช่วยให้งานเหล่านี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้เท่านั้น

สำหรับเทคโนโลยีที่ซีพีเอฟนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้ทำให้การจ้างแรงงานในอนาคตลดลงอย่างที่กังวลกัน เนื่องจากส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการทำงานที่ทำซ้ำๆ และงานที่อันตรายเท่านั้น และแรงงานที่ถูกเครื่องจักรแทนที่นั้น ซีพีเอฟได้นำแรงงานเหล่านี้ไปพัฒนาเพิ่มทักษะ (Reskill) เพื่อให้ทำงานในส่วนที่เครื่องจักรทำไม่ได้ หรือพัฒนาเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรแทน

“สำหรับทิศทางการจ้างงานในอนาคต แรงงานที่มีทักษะ (Skill Labour) ยังจะเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่แรงงานเองก็ต้องได้รับการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน”


ทั้งหมดคือภาพรวมในอนาคตอันใกล้ของกระแสไหลบ่าแห่งปัญญาประดิษฐ์ (AI) แห่งโลก Digital Disrupt ที่กำลังสั่นคลอนตลาดโรงงานทั่วโลกรวมทั้งตลาดแรงงานไทย.

ที่มาของข่าว: ไทยรัฐออนไลน์
BWG ยกระดับธุรกิจขยะอุตสาหกรรม ลุยปั้นรายได้ "SRF" ขานรับนโยบายลดการปล่อย CO2
    BWG ยกระดับธุรกิจขยะอุตสาหกรรม ลุยปั้นรายได้ "SRF" ขานรับนโยบายลดการปล่อย CO2
  24/04/2024

ส.อ.ท. แนะมาตรการจัดการของเสียอันตรายจากโรงงาน ป้องกันซ้ำรอยกรณีกากแคดเมียม
    ส.อ.ท. แนะมาตรการจัดการของเสียอันตรายจากโรงงาน ป้องกันซ้ำรอยกรณีกากแคดเมียม
  18/04/2024

รมว.อุตฯคุมเข้มมาตรการขนย้ายกากแคดเมียม-ความแข็งแรงบ่อฝังกลบ เร่งทำความเข้าใจชุมชนรอบรง.ตาก
    รมว.อุตฯคุมเข้มมาตรการขนย้ายกากแคดเมียม-ความแข็งแรงบ่อฝังกลบ เร่งทำความเข้าใจชุมชนรอบรง.ตาก
  17/04/2024

"พิมพ์ภัทรา"สั่งปูพรมตรวจสอบกากแคดเมียมทั้งสมุทรสาคร-จว.ใกล้เคียงหลังพบเพิ่มกว่า 1 พันตัน
    "พิมพ์ภัทรา"สั่งปูพรมตรวจสอบกากแคดเมียมทั้งสมุทรสาคร-จว.ใกล้เคียงหลังพบเพิ่มกว่า 1 พันตัน
  09/04/2024


ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอื่นๆ
นับถอยหลังยานยนต์ไทย หลังจีนรุกตลาด-เสี่ยงปิดโรงงาน แนะทบทวนมาตรการ EV - 03/04/2024
นับถอยหลังยานยนต์ไทย หลังจีนรุกตลาด-เสี่ยงปิดโรงงาน แนะทบทวนมาตรการ EV
เอปสัน ประเทศไทยเปิดโซลูชั่น เซ็นเตอร์ รวมครบทุกนวัตกรรมผสานความยั่งยืน ตอบโจทย์การปรับตัวของลูกค้า B2B - 02/04/2024
เอปสัน ประเทศไทยเปิดโซลูชั่น เซ็นเตอร์ รวมครบทุกนวัตกรรมผสานความยั่งยืน ตอบโจทย์การปรับตัวของลูกค้า B2B
จีนตั้งเป้าพึ่งพาตนเองได้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - 06/03/2024
จีนตั้งเป้าพึ่งพาตนเองได้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กรมโรงงานฯ รับลูกปลดล็อก Solar Rooftop เร่งแปลงเครื่องจักรเป็นทุน ช่วย SME กว่า 2 แสนลบ. - 04/03/2024
กรมโรงงานฯ รับลูกปลดล็อก Solar Rooftop เร่งแปลงเครื่องจักรเป็นทุน ช่วย SME กว่า 2 แสนลบ.
ทาบ “TATA-Mahindra” 2 บิ๊กค่ายรถอินเดีย ใช้ไทยเป็นฐานผลิตเจาะตลาดอาเซียน - 07/02/2024
"นลินี ทวีสิน" ผู้แทนการค้าไทย ลุยเจรจาบิ๊กเอกชนอินเดียชวนเข้ามาลงทุนใน EEC ทาบทามผู้บริหาร TATA เข้ามาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ในไทย เพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ส่วน Mahindra เจ้าตลาดแทรกเตอร์สนใจทำตลาดก่อน ค่อยพิจารณาตั้งโรงงานผลิต
'รัดเกล้า' เผย กระทรวงอุตฯ วาง 3 อุตสาหกรรมแชมป์เปี้ยนในไทย - 07/02/2024
‘รัดเกล้า’ เผย กระทรวงอุตฯ วาง 3 อุตสาหกรรมแชมป์เปี้ยนในไทย อีวี, ป้องกันประเทศ และฮาลาล รองรับเทรนด์ใหม่ผู้บริโภค
งานมหกรรม SITE2024 สุดยิ่งใหญ่ครั้งแรกแห่งภาคใต้ ดึง 4 แบรนด์ชั้นนำร่วมงาน โชว์นวัตกรรม เทคโนโลยีสุดล้ำ - 29/01/2024
งานมหกรรม SITE2024 สุดยิ่งใหญ่ครั้งแรกแห่งภาคใต้ ดึง 4 แบรนด์ชั้นนำร่วมงาน โชว์นวัตกรรม เทคโนโลยีสุดล้ำ
ไขข้อสงสัยแหล่ง"แร่ลิเทียม"ต่อการเติบโตอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย - 25/01/2024
ไขข้อสงสัยแหล่ง"แร่ลิเทียม"ต่อการเติบโตอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไทย สวทช.เผยการค้นพบเป็นองค์ประกอบเป็นเรื่องที่ดี ชี้แบตเตอรี่มีห่วงโซ่คุณค่าที่ยาว ทำให้ไทยมีโอกาสที่จะเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่ได้หลายจุด
"พิมพ์ภัทรา" เร่งปลุกภาคอุตสาหกรรมไทย ชี้ EV ออร่าจับ รับเทรนด์ใหม่โลก - 25/01/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งปลุกภาคอุตสาหกรรมไทย ชี้ EV ออร่าจับ รับเทรนด์ใหม่โลก
จีนนำเข้าเครื่องจักรผลิตชิปเกือบ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ปี 66 - 23/01/2024
จีนนำเข้าเครื่องจักรผลิตชิปเกือบ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ปี 66
รัฐบาลดึงดูดลงทุนอุตฯอิเล็กทรอนิกส์ ดันไทยเป็นฐานการผลิตอันดับ 1 ในภูมิภาค - 22/01/2024
รัฐบาลดึงดูดลงทุนอุตฯอิเล็กทรอนิกส์ ดันไทยเป็นฐานการผลิตอันดับ 1 ในภูมิภาค
"รัดเกล้า"แจงไทยพบแร่ลิเธียมมีเท่าไหร่ก็ถือเป็นข่าวดี ย้ำรัฐบาลหนุนนโยบาย EV 3.5 - 22/01/2024
"รัดเกล้า"แจงไทยพบแร่ลิเธียมมีเท่าไหร่ก็ถือเป็นข่าวดี ย้ำรัฐบาลหนุนนโยบาย EV 3.5
เปิดเวทีระดมสมอง พัฒนาเด็กอาชีวะสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเข้มข้น ปั้นวิทยาลัยต้นแบบ พร้อมสู่ Industrial IoT และ AI ตอบโจทย์อุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC - 19/01/2024
เปิดเวทีระดมสมอง พัฒนาเด็กอาชีวะสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเข้มข้น ปั้นวิทยาลัยต้นแบบ พร้อมสู่ Industrial IoT และ AI ตอบโจทย์อุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
วว. ต้อนรับคณะผู้ประกอบการศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม - 19/01/2024
วว. ต้อนรับคณะผู้ประกอบการศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรม : ต้นตอฝุ่นพิษที่ถูกลืม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล - 19/01/2024
โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรม : ต้นตอฝุ่นพิษที่ถูกลืม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ข่าวดี! ไทยพบแร่ลิเธียม-โซเดียม หนุนก้าวเป็น Hub ผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค - 19/01/2024
ข่าวดี! ไทยพบแร่ลิเธียม-โซเดียม หนุนก้าวเป็น Hub ผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค
นายกฯ เผย รัฐบาลมุ่งพัฒนาแหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยคาร์บอน หวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เน้นขยายตลาดต่างประเทศ - 16/01/2024
นายกฯ เผย รัฐบาลมุ่งพัฒนาแหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยคาร์บอน หวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เน้นขยายตลาดต่างประเทศ
เอบีม คอนซัลติ้ง ชี้แนวทางปรับตัวสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า สำหรับซัพพลายเออร์ญี่ปุ่น - 16/01/2024
เอบีม คอนซัลติ้ง ชี้แนวทางปรับตัวสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า สำหรับซัพพลายเออร์ญี่ปุ่น
เอกชนเฮ! รัฐบาลหนุน โซลาร์รูฟท๊อป ปลดล็อคไม่ต้องขอใบอนุญาตโรงงาน คาดมีผลภายในปีนี้ - 15/01/2024
เอกชนเฮ! รัฐบาลหนุน โซลาร์รูฟท๊อป ปลดล็อคไม่ต้องขอใบอนุญาตโรงงาน คาดมีผลภายในปีนี้
จีนส่งออกเครื่องจักรขั้นสูงไปรัสเซียเพิ่มขึ้น 10 เท่า นับตั้งแต่เกิดสงครามยูเครน - 04/01/2024
จีนส่งออกเครื่องจักรขั้นสูงไปรัสเซียเพิ่มขึ้น 10 เท่า นับตั้งแต่เกิดสงครามยูเครน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 102 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2024 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.