สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

สร้างแบรนด์ เพิ่มคุณค่า ส่งเสริมเอสเอ็มอี (อีโคโฟกัส)
  04/01/2019


สร้างแบรนด์ เพิ่มคุณค่า ส่งเสริมเอสเอ็มอี(อีโคโฟกัส)

กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี เป็นกลุ่มธุรกิจเล็กๆ ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะหลายฝ่ายมองว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตขึ้นมาได้ ถึงจะไม่ได้รวดเร็วเท่ากับการลงทุนขนาดใหญ่ และก็เป็นการวางรากฐานให้กับประชาชนในประเทศได้อย่างดีที่สุด จึงเกิดไอเดียมากมายในการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศูนย์พัฒนาเอสเอ็มอี ตั้งศูนย์ให้ข้อมูล ออกมาตรการต่างๆ มาช่วยเหลือ มอบความรู้ ดูงาน เปิดตลาด ควบคู่ไปกับสนับสนุนทางด้านการเงินด้วย เอสเอ็มอีในประเทศไทยก็ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะมีบางกลุ่มที่มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าหาทุกเครื่องมือที่มีไว้ให้ และมีเงินทุนพอที่จะกล้าได้กล้าเสียกับการพัฒนา ก็สามารถเติบโตและต่อยอดธุรกิจตัวเองให้มาทัดเทียมกับธุรกิจระดับใหญ่ๆ ของประเทศได้บ้าง แต่ในขณะที่ธุรกิจรายย่อย ตัวจิ๋ว ตัวเล็ก ที่เดิมเป็นเพียงร้านค้าทั่วไปและอยากจะพัฒนาตัวเองขึ้นมา ถึงจะเข้าถึงเครื่องมือที่มีให้ทั้งหมดแล้วก็อาจจะไม่เติบโตอย่างที่หวังไว้ 

อย่างไรก็ตาม เอสเอ็มอีก็ยังเป็นความหวังหลักๆ ของประเทศที่หวังว่าจะเติบโตและเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการเดินหน้าประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่ลดความพยายามที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นผลดีกับกลุ่มผู้ที่ทำธุรกิจ เพราะจะเป็นช่องทางที่จะทำให้ตัวเองไปอยู่ในกลุ่มที่ได้รับความสนใจ และพัฒนาออกมาให้เติบโตจากจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้

ซึ่งการสนับสนุนที่ออกมาจากหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านนี้ ก็ออกมาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) ที่นำโดย นายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ประธานสภา ก็ได้มีการโชว์มาตรการใหม่ที่จะสนับสนุนเอสเอ็มอีอีกช่องทางหนึ่ง ทำให้เกิดความรับรู้ระดับประเทศ ขยายตลาดให้กับกลุ่มเป็นผู้ทำธุรกิจ และเป็นแนวทางที่หวังว่าถ้าเกิดขึ้นมาจริงๆ แล้วจะเป็นอนาคตที่สดใสจริงๆ 

โดยมีการผลักดันโครงการ SMEs Smart Province (เอสเอ็มอี สมาร์ท โพรวินส์) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการระดับจังหวัดและพัฒนาสินค้าเด่นสร้างเป็น Brand Province (แบรนด์โพรวินส์) โดยนำสินค้าที่มีจุดเด่นในจังหวัดมาสร้างเป็นแบรนด์ที่เข้มแข็งทำให้เอสเอ็มอีในแต่ละจังหวัดมีเป้าหมายมากขึ้น โดยการดำเนินโครงการจะใช้กลไกความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษา จากในระดับจังหวัดรวมกับกลไกในระดับประเทศ     

เริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งจากระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงแหล่งทุน และองค์ความรู้ต่างๆ โดยบูรณาการความร่วมมือและใช้กลไกทุกภาคส่วนของจังหวัดในการขับเคลื่อนทั้งระบบ ประกอบด้วย ภาครัฐ ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ภาคเอกชน ได้แก่ 

สภาเอสเอ็มอีจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด สมาคม มูลนิธิ วิสาหกิจ ชุมชน และบริษัทประชารัฐ ภาคการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ในจังหวัด และภาคสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐที่อยู่ในจังหวัด

ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขใน 3 ประเด็นปัญหาหลักของเอสเอ็มอี คือ 1.การตลาด โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยการรับรองระบบคุณภาพ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การได้ตรามาตรฐานฮาลาล และการสร้างแบรนด์โพรวินส์ โดยความร่วมมือกับบริษัทประชารัฐในการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ ได้แก่ ผ่านเครือข่ายโทรทัศน์และวิทยุ

2.การเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยร่วมมือกับธนาคารให้ความรู้กับเอสเอ็มอีในการเตรียมตัวขอสินเชื่อธนาคาร และการเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีเดียว โดยการจัดอบรมให้กับผู้ประกอบการทั้งที่เข้าระบบแล้ว และยังไม่เข้าระบบให้ทราบแนวทางและการเตรียมตัวเพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งทุนภาคสถาบันการเงินในอนาคตได้  

 3.การให้องค์ความรู้ โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้คนรุ่นใหม่สำเร็จออกมาเป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้อมและมีคุณภาพ รวมทั้งการสนับสนุนติดอาวุธทางปัญญาให้ผู้ประกอบการ ด้วยหลักสูตรการศึกษาไร้ปริญญาและบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ  

ที่สำคัญคือการแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยร่วมมือกับธนาคารให้ความรู้กับเอสเอ็มอีในการเตรียมตัวขอสินเชื่อธนาคารและการเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีเดียว โดยการจัดอบรมให้กับผู้ประกอบการทั้งที่เข้าระบบแล้วและยังไม่เข้าระบบให้ทราบแนวทางและการเตรียมตัวเพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งทุนภาคสถาบันการเงินในอนาคตได้และการให้องค์ความรู้ 

นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 3 ล้านราย มีส่วนแบ่งรายได้ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประมาณ 39% แต่มีเอสเอ็มอีที่เข้าสู่ระบบเพียง 1 ล้านราย แบ่งเป็นเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ ประมาณ 600,000 ราย และเป็นเอสเอ็มอีที่อยู่ในระบบของธนาคารซึ่งมีการจัดทำบัญชีเดียวอย่างถูกต้องประมาณ 4.68 ล้านราย 

ขณะที่เอสเอ็มอีที่เหลืออีก 2 ล้านรายไม่ได้อยู่ในระบบทำให้การขอสินเชื่อเพื่อดำเนินการธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากยังไม่สามารถที่จะทำได้ เห็นได้จากวงเงินสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอีที่ภาครัฐมีการจัดสรรให้กว่า 150,000 ล้านบาท มีเอสเอ็มอีที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนนี้ไม่กี่หมื่นรายเท่านั้น ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวนอกจากจะสนับสนุนอาชีพเดิมของเอสเอ็มอีอยู่แล้ว ยังสามารถให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นสามารถมาเข้าระบบและเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างดีอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม การสร้างแบรนด์โพรวินส์จะต้องผ่านองค์ความรู้และมีการเข้าถึงตลาดอย่างดีที่สุด รวมถึงติดตามอย่างใกล้ชิดในขั้นตอนการทำบรรจุภัณฑ์ที่มีความสอดคล้องกับสินค้า ดูตลาดว่าจะขายที่ไหนได้บ้าง ต้องมีการติดปีกทางการตลาด รวมถึงสัญลักษณ์ในการการันตรีแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น อย. ฮาลาล หรืออื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

"เราจะต้องทำสินค้าที่เป็นของดีของเด่นในจังหวัดนั้นๆ แต่ไม่ใช่การให้ผู้ประกอบการกระจายเป็นไปแย่งชิงตลาดกันเอง แต่ต้องเป็นการให้ทำภายใต้มาตรฐานเดียวกัน เป็นแบนด์เดียวกันภายใต้แบรนด์โพรวินส์ โดยจะสั่งจัดทำจากกลุ่มผู้ผลิตในชุมชนในแหล่งต่างๆ โดยกำหนดมาตรฐานกลางและทำการโฆษณาว่าเป็นของดีของเด็ดที่สุดในจังหวัดนั้นๆ ที่มีมาตรฐานเดียวกัน และมีเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทยเท่านั้น สร้างเรื่องราวให้กับสินค้ารวมถึงทำตลาดในด้านต่างๆ ด้วย"

ทั้งนี้ การร่วมมือกับเอกชนหรือหน่วยงานขนาดใหญ่ มุ่งหวังว่าจะใช้บริษัทต่างๆ ที่เข้าร่วมกับประชารัฐเป็นตัวกลางที่จะขายสินค้าให้กับผู้ประกอบการในจังหวัดนั้นๆ เนื่องจากบริษัทเหล่านั้นซื้อของไม่มีภาษีได้ แต่ขายของมีภาษีได้ ก็จะใช้ข้อได้เปรียบในส่วนนี้เป็นการดำเนินงาน ขณะที่การขายออกนอกจังหวัดก็จะส่งไปเพียงสินค้าตัวเดียว และเป็นบริษัทตัวแทนเดียวเข้าไปขาย เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันกันโดยผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมนอกเหนือจากจะได้การผลิตสินค้าเดิมที่เคยผลิตอยู่แล้วก็จะมีตัวช่วยในการขยายตลาดเข้ามาด้วย ซึ่งหากมีความสนใจเพิ่มมากขึ้นรายได้ก็จะมาจากคำสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

ที่มาของข่าว: ไทยโพสต์
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.