สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ผู้ประกอบการ

เป้าส่งออก 61-62 โต 8% ฝันไกล แต่ส่อไปไม่ถึง
  01/01/2019


กระทรวงพาณิชย์ได้แถลงตัวเลขการส่งออก 11 เดือนของปี 2561 (ม.ค.-พ.ย.) เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2561 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ทำได้แค่มูลค่า 21,237.2 ล้านเหรียญสหรัฐ กลับมาติดลบ 0.95% โดยเป็นการติดลบครั้งที่ 2 ในรอบปี 2561 ขณะที่ยอดรวมมีมูลค่า 232,725 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.29% ต่ำกว่าเป้าหมายทั้งปี 2561 ที่ประเมินไว้ว่าจะเติบโตที่ 8% 

การที่ยอดส่งออกทั้งปีจะเติบโตได้ 8% ตามเป้าหมาย เดือนธ.ค.2561 จะต้องส่งออกให้ได้มูลค่าไม่น้อยกว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าต่ำกว่านี้ ก็ไม่เข้าเป้า แต่เมื่อย้อนดูสถิติย้อนหลัง การส่งออกเดือนธ.ค.ของทุกปี ไม่ค่อยปรากฏว่ามูลค่าจะมากกว่าการส่งออกในช่วงเดือนก.ย.-พ.ย.เลย เพราะคำสั่งซื้อสินค้าส่วนใหญ่ ที่จะนำไปขายในช่วงเทศกาลคริสมาสต์หรือปีใหม่ ก็สั่งกันล่วงหน้า 2-3 เดือน ไม่มีใครมาสั่งซื้อเอาตอนเดือนธ.ค.กันหรอก 

ดังนั้น โอกาสที่การส่งออกทั้งปีจะเติบโต 8% ลืมไปได้เลยว่าจะทำได้ ยกเว้นมีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น 

“ตัวเลขการส่งออกรายเดือนเฉลี่ยของปี 2561 สามารถส่งออกได้เกิน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เกือบทุกเดือน ปริ่มๆ 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เดือนธ.ค. ก็มีโอกาสที่จะทำได้ถึง 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ”น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) บอกไว้เมื่อวันแถลงข่าวตัวเลขส่งออกว่ายังไงก็จะขอลุ้น 

อย่างไรก็ตาม เมื่อสำรวจภาวะการส่งออกตลอด 11 เดือนของปี 2561 พบว่า เป็นการขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ภาครัฐมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนน้อยมาก โดยสามารถดูได้จากสถิติการส่งออกในแต่ละกลุ่มสินค้า ซึ่งตัวเลขการส่งออกที่ทำรายได้เข้าประเทศหลักๆ มาจากไม่กี่กลุ่ม แล้วกลุ่มที่ภาครัฐ ตั้งเป้า ตั้งเป็นความหวังเอาไว้ว่าจะสร้างรายได้ให้ประเทศ ตัวเลขก็ขยับขึ้นน้อยมาก บางตัวลดลงด้วยซ้ำ 

ตามสถิติ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มที่มีการส่งออกได้มากสุดอยู่ที่ 184,806 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 79.4% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในช่วง 11 เดือน มีสัดส่วนเท่ากับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งออกได้ 37,670 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 16.2% ลดลงจาก 16.9% และสินค้าอื่นๆ มูลค่า 10,250 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.4% เพิ่มขึ้นจาก 3.7%

เมื่อแยกเป็นรายกลุ่ม กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน ส่งออก 34,828 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 15% เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ส่งออก 18,354 ล้านเหรียญสหรัฐ สนัดส่วน 15.3% เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่งออก 22,485 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 9.7% อัญมณีและเครื่องประดับ ส่งออก 11,149 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.8% เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่งออก 13,483 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 5.8% วัสดุก่อสร้าง ส่งออก 9,011 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 3.9% เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ส่งออก 7,405 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 3.2% สิ่งทอ ส่งออก 6,566 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 2.8% ผลิตภัณฑ์ยาง ส่งออก 10,063 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.3% เคมีภัณฑ์ ส่งออก 8,415 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 3.6% น้ำมันสำเร็จรูป ส่งออก 8,578 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 3.7% 

ส่วนสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร แยกเป็น ข้าวส่งออก 5,095 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 2.2% ยางพารา ส่งออก 4,269 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 1.8% อาหาร ส่งออก 19,629 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 8.4% และน้ำตาลทราย ส่งออก 2,478 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 1.1% 

จะเห็นได้ว่า ตัวเลขการส่งออกสัดส่วนเกือบ 40% อยู่แค่ 3 กลุ่ม คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสินค้าทั้ง 3 กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากต่างชาติ การส่งออกก็เป็นการดำเนินการโดยภาคเอกชน หน่วยงานที่ทำการส่งเสริมการส่งออกอย่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แทบไม่ได้ช่วยเหลืออะไร เพราะปัญหาอุปสรรคที่ภาคเอกชนแจ้งมา รายงานมา เพื่อขอให้ช่วย ก็แค่รับเรื่อง แล้วทำอะไรต่อไม่ได้ 

“ตลาดเวียดนาม ที่มีการกีดกันการนำเข้ารถยนต์จากไทย ทุกวันนี้ก็ยังมีปัญหา ไม่เห็นจะแก้อะไรได้ ภาคเอกชนพูดกับภาครัฐทุกครั้งที่เจอกัน ขอให้ไปช่วยเจรจาแก้ไขให้ บอกกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ก็ทำได้แค่รับเรื่อง แล้วบอกว่ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นคนดูแลเจรจาในเรื่องนี้ สุดท้ายเหมือนเดิม ไม่ทำอะไร”ผู้ประกอบการในภาคยานยนต์รายหนึ่งระบุ พร้อมย้ำว่า การส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนไปสหรัฐฯ ก็มีความเสี่ยง หากสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษี จุดนี้ได้บอกกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศไปแล้ว ให้เตรียมรับมือ เตรียมหาตลาดเพิ่ม เขาก็แค่บอกว่ารู้แล้ว เตรียมการแล้ว แต่ในทางปฏิบัติไม่เห็นมีอะไรเพิ่มมาเลย สงสัยต้องรอให้มีปัญหาก่อน ถึงจะทำกัน ซึ่งก็คงช้าไปแล้ว 

ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ปัจจุบันยังส่งออกได้ แต่ตลาดสหรัฐฯ ก็มีปัญหา หลังจากถูกขึ้นภาษี แล้วกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศบอกว่าจะช่วยหาตลาดใหม่ให้ ก็ไม่เห็นมีอะไร มีแต่ภาคเอกชนที่ต้องขวนขวายหาตลาดเอาเอง ขณะที่เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มมีสัญญาณชัดเจนว่ากำลังจะชะลอตัวลง 

เรื่องนี้ น.ส.พิมพ์ชนก ให้ข้อมูลตอนแถลงข่าวตัวเลข 11 เดือนว่า สาเหตุที่ทำให้การส่งออกเดือนพ.ย.2561 กลับมาติดลบ เพราะไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยสินค้าที่เป็นซัปพลายเชนในการผลิตของจีน มีการส่งออกได้ลดลง โดยเฉพาะชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ 

ขณะที่ น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ บอกว่า เห็นตัวเลขการส่งออกเดือน พ.ย.ที่ขยายตัวติดลบ ไม่น่าตกใจ เพราะบางปัจจัยที่เป็นผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าที่อยู่ในซัปพลายเชนของจีน คงจะทำอะไรมากไม่ได้ ต้องผลักดันหาตลาดอื่นเพิ่ม

พูดถึงการหาตลาดเพิ่ม ไปดูกันว่า ในช่วง 3 เดือนของปีงบประมาณ 2562 มีการหาตลาดเพิ่มได้มากน้อยแค่ไหน แล้วสินค้าอะไรที่หาตลาดเพิ่มได้ 

สรุปให้สั้นๆ ง่ายๆ การขยายตลาดต่างประเทศ มีการขยายความร่วมมือกับผู้นำเข้า จีน เกาหลี ฮ่องกง ปรากฏแค่ตัวเลขเป้าหมาย แต่ตัวเลขส่งออกจริงยังไม่มาก เปิด Thai Mart ในบาห์เรน แต่ตอนนี้ยังไม่เปิด ยังไม่มีรายได้จากการส่งออก ขยายตลาดอาเซียนผ่าน Top Thai Brands สร้างมูลค่าส่งออกได้ แต่ไม่มาก ส่วนการส่งเสริมธุรกิจบริการ ทั้งธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ ธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม และธุรกิจสมุนไพร มีรายได้ แต่ก็ยังไม่มาก มีแต่เป้าหมายภายใน 1 ปี ที่เป็นตัวเลขคาดการณ์ ขณะที่การค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ ทั้งเว็บไซต์ Thaitrade.com หรือร่วมมือกับอาลีบาบา ก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

หรือถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ การส่งออกในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เป็นการขับเคลื่อนโดยเอกชนเป็นหลัก แล้วเมื่อตัวเลขส่งออกดี ก็มาโหนกระแส ก่อนหน้าเคยมีการประเมินกันว่า การส่งออกปี 2561 อาจจะไปถึงตัวเลข 2 หลักเลยด้วยซ้ำ ดีที่ยังไม่ประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการออกมา ไม่งั้นมีหวังหน้าแหก หมอไม่รับเย็บ 

เห็นแบบนี้แล้ว นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ น่าจะต้องเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่รับผิดชอบมาขัดน็อตกันหน่อย ไม่ใช่ปล่อยทำงานตามอำเภอใจ เพราะตัวเลขปี 2561 ทำยังไงก็คงจะเข็นไม่ขึ้นแล้ว แต่ที่น่าห่วง คือ เป้าหมายปี 2562 ที่ตั้งไว้ที่ 8% อาจจะพังพาบตั้งแต่ต้นปีก็ได้ 

เพราะปี 2562 ยังมีระเบิดเวลาลูกใหญ่ๆ รออยู่ ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่แม้จะมีสัญญาณดี แต่ก็ใช่ว่าจะยุติ สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ยังคงผันผวน รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ก็หาใช่จะฟื้นตัวดี ขณะที่คู่แข่งของไทย ก็ตามหลังมาติดๆ ชนิดหายใจรดต้นคอ พลาดเมื่อไร เป็นแพ้ จึงต้องเร่งทำงานเชิงรุก ไม่ใช่ตั้งรับ ไม่ใช่จะมาโบ้ยเป็นเพราะสงครามการค้า เป็นเพราะเศรษฐกิจโลก ทั้งๆ ที่ตัวเอง ไม่ทำอะไร รอหวังแค่โชคช่วย หรือหวังพึ่งปาฏิหาริย์เพียงอย่างเดียว

ที่มาของข่าว: ผู้จัดการออนไลน์
เวิลด์แบงก์ชี้ “จุดอ่อน” ประเทศไทย ทำให้ล้าหลังกว่าใครในอาเซียน
    แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 นี้ จะมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวเพียง 1.9% ...
  18/04/2024

จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
    จีนเผยการผลิตอุตสาหกรรม-ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ต่ำกว่าคาด,อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.2%
  17/04/2024

เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
    เฟดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. 67 เทียบรายเดือน
  17/04/2024

"ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ
    "ส.อ.ท." จี้รัฐปรับโครงสร้างต้นทุนผลิต รักษาขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตฯ ...
  10/04/2024


ข่าวเศรษฐกิจอื่นๆ
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป - 09/04/2024
"เยลเลน" เริ่มประชุมกับจนท.จีน เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาการผลิตมากเกินไป
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม - 05/04/2024
"เยลเลน" แนะสหรัฐทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันจีนคุกคามภาคอุตสาหกรรม
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก - 04/04/2024
"เยลเลน" เตรียมเยือนจีนสัปดาห์นี้ เล็งถกปัญหาจีนผลิตมากเกินไปจนกระทบศก.โลก
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - 03/04/2024
นายกฯ เผย เตรียมหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เปิดปัจจัยกระทบส่งออกไทย ปี 2567 โตแค่ 1-2% - 02/04/2024
สรท. จัดงานครบรอบ 30 ปี พร้อมเปิดปัจจัยท้าทายการส่งออกไทยในปี 2567 พร้อม ชูนโยบายสู่ชาติการค้า (Trading Nation) ปรับฉากทัศน์ส่งออกเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เป้าหมายส่งออกยังมอง 1-2%
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง - 02/04/2024
เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 6 อานิสงส์การส่งออกชิปแข็งแกร่ง
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน - 01/04/2024
ญี่ปุ่นเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้นเดือนก.พ.ลดลง 0.1% เทียบรายเดือน
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67 - 01/04/2024
เวียดนามเผยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.18% ใน Q1/67
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป - 01/04/2024
สหรัฐเดินหน้าสกัดอุตฯชิปจีน อัปเดตมาตรการคุมส่งออกชิป AI-เครื่องมือผลิตชิป
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้ - 15/03/2024
“ภูมิธรรม” หารือทูตสวิส ย้ำความสัมพันธ์ใกล้ชิดทุกด้าน เร่งผลักดันเจรจา FTA ไทย-เอฟตา(EFTA) ให้สรุปผลปีนี้
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน - 15/03/2024
สนค.ชู 8 แนวทางหนุน EV ไทยขึ้นแถวหน้าในอาเซียน
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน - 15/03/2024
ส.อ.ท.เรียกร้อง กนง.ลดดอกเบี้ยด่วน-ตรึงดีเซล-LPG ลดต้นทุนภาคธุรกิจ-ครัวเรือน
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง - 15/03/2024
จีนเตือนสหรัฐคว่ำบาตรถ่านหินรัสเซียเสี่ยงทำราคาพุ่ง
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด - 15/03/2024
กระแส EV แผ่ว แบรนด์รถยนต์เริ่มลดการผลิต หั่นยอดขาย หันกลับมาเสนอรถดั้งเดิม-ไฮบริด
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์ - 14/03/2024
มาเลเซียเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.โต 4.3% เหนือคาดการณ์
เอชเอสบีซีเผยผลวิจัย "ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า" - 14/03/2024
Fast & Furious 2.0?: อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไทยมีโอกาสเติบโต "เร็วและแรง" เหมือนในอดีตหรือไม่?
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล - 14/03/2024
ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอถึงภาครัฐ หนุนไทยสู่ฮับผลิตเอทานอล
'พิมพ์ภัทรา' เร่งไทยผู้นำอีวี คงท็อป10 ยานยนต์ ปลุกเสือตื่นผงาดเวทีโลก - 08/03/2024
"พิมพ์ภัทรา" เร่งไทยสู่ผู้นำยานยนต์ไฟฟ้า คงท็อป10 ยานยนต์โลก กระตุ้นเสือตื่นกลับมาผงาด ชี้โอกาสทำอีวีเชิงพาณิชย์ เหตุผู้เล่นยังน้อย
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต" - 08/03/2024
เอกชน เชื่อรถสันดาปยังไม่ถึงทางตัน ชี้กระแส EV สร้าง "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"
'กกร.' ชี้เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอ หวังงบเบิกจ่ายปี 67 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน - 07/03/2024
"กกร." เผย เศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย ส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนพุ่ง หวังงบรายจ่ายภาครัฐปี 67 แล้วเสร็จกระตุ้นการใช้จ่าย เกิดการจ้างงานมีรายได้เพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มตัวเลือกการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ฝากรัฐบาลคุมเข้มผักผลไม้นำเข้าที่ไม่ได้รับมาตรฐาน
|<  <  >  >| หน้าที่     จากทั้งหมด 127 หน้า: จำนวนทั้งหมด 2524 ข้อมูล

ข่าวในหมวดอื่นๆ
ข่าวอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าว FTA ข่าว BOI

+ แผนผังเว็บไซต์ แผนผังเว็บไซต์

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย


อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ชั้น 1-2
ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (แผนที่)
โทรศัพท์ 02-7136290-2, 02-713-6547-50, 02-7124402-7 ต่อ 211-213


ภายใต้งบประมาณการสนับสนุน
จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
Copyright © 2015 Iron and Steel Institute of Thailand.